หัวข้อ “รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในความเห็นของประชาชน”
   

        เนื่องในโอกาสที่วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ ประกอบกับประเทศไทยกำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับการร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไปหลังเหตุการณ์ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549  ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์  สถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในความเห็นของประชาชน”   โดยเก็บ
ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 - 5 ธันวาคมที่ผ่านมา จากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ ในทุกภาค
ของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 1,390 คน สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. การรับรู้ข่าวสารการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิก อันเนื่องมาจากเหตุการณ์
                        ยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549

 
ร้อยละ
ทราบข่าว
81.5
ไม่ทราบข่าว
18.5

กลุ่มที่ระบุว่าทราบ ได้ให้คะแนนความพึงพอใจต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังดำเนินอยู่
จากคะแนนเต็ม 10 ผลปรากฏ ดังนี้

 
ได้คะแนน
ความรวดเร็วในการดำเนินการเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4.15
การเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับรู้และมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับการร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4.32
ความชัดเจนโปร่งใสของกระบวนการสรรหาสมัชชาแห่งชาติที่เป็นต้นทาง
ของสภาร่างรัฐธรรมนูญและคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
4.41
     
   

                    2. ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชนเพื่อประชาชน

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น (โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 6.6 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 41.3)
47.9
ไม่เชื่อมั่น (โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 7.3 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 44.8)
52.1
     
   

                    3. ความคิดเห็นหากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
21.3
ไม่เห็นด้วย
59.8
ไม่แสดงความเห็น
18.9
   
   

                    4. ความคิดเห็นต่อแนวทางการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 
ร้อยละ
เห็นว่าควรมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
26.9

เห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้บางจุด
               
โดยจุดที่เห็นว่าควรปรับแก้มากที่สุดคือ ต้องเปิดช่องให้สามารถ
ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีได้มากขึ้น   ไม่ให้
ฝ่ายการเมืองมาครอบงำองค์กรอิสระได้เหมือนที่ผ่านมา และการลงโทษ
เอาผิดกับนักการเมืองที่ทุจริตคอร์รัปชัน

39.6
ไม่แสดงความเห็น
33.5
   
   

                    5. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ

 
ร้อยละ
เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
32.5
ไม่เชื่อว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
          เพราะ นักการเมืองยังเป็นคนหน้าเดิมๆ/ ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า
          รัฐธรรมนูญ / และประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจ เป็นต้น
12.5
ไม่แน่ใจ
55.0
   
   

                    6. สำหรับปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจของประชาชนเป็นสำคัญ
66.6
ขึ้นอยู่กับนักการเมือง/ผู้มีอำนาจที่จะนำรัฐธรรมนูญมาใช้เป็นสำคัญ
54.5
ขึ้นอยู่กับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเป็นสำคัญ
46.8
ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่น อาทิ จิตสำนึกของคนในชาติ และระดับการศึกษาของประชาชน
เป็นต้น
5.7
   
   

                    7. ความคิดเห็นต่อการนัดชุมนุมต่อต้านคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และรัฐบาลชุดปัจจุบัน
                        ในวันที่ 10 ธันวาคมนี้ ที่ท้องสนามหลวง

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วยกับการนัดชุมนุมดังกล่าว
78.6
เห็นด้วย
21.4
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

        เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ในประเด็นต่อไปนี้
              1.
การรับรู้ต่อเรื่องราวการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
              2.
ความพึงพอใจต่อกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังดำเนินอยู่
              3.
ความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน
              4. ความคิดเห็นต่อการที่หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะกำหนดให้นายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องมาจากการเลือกตั้ง
              5. ความคิดเห็นต่อการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่าควรร่างใหม่ทั้งหมดหรือควรนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 มาปรับแก้ไข
                  และควรปรับแก้ในจุดใด
              6. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้สำเร็จ
              7. ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยปฏิรูปการเมืองได้เป็นผลสำเร็จ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:  
   

        การสำรวจใช้วิธีเลือกจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาคของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ ขอนแก่น ชลบุรี
และสงขลา จากนั้นจึงสุ่มเขตการปกครอง/อำเภอ และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป   ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,390 คน   
เป็นเพศชายร้อยละ 47.1 และ เพศหญิง 52.9

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 1 - 5 ธันวาคม 2549

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 7 ธันวาคม 2549
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
655
47.1
             หญิง
735
52.9
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
480
34.5
             26- 35 ปี
467
33.6
             36 - 45 ปี
322
23.2
             46 ปีขึ้นไป
121
8.7
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
546
39.3
             ปริญญาตรี
729
52.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
115
8.3
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
213
15.3
             ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
236
17.0
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
490
35.3
             รับจ้างทั่วไป
140
10.0
             นิสิต / นักศึกษา
269
19.4
             อื่น ๆ อาทิ เกษตรกร พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
42
3.0
   
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776