หัวข้อ “ประเมินผลงาน 3 เดือนรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์”
   

        ด้วยในวันที่ 8 มกราคมนี้จะครบรอบ 3 เดือนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ  แต่งตั้งคณะรัฐมนตรี
ชุดปัจจุบัน   ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์  สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ   ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “
ประเมินผลงาน 3 เดือน
รัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
”   โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล   จำนวน 1,082 คน  
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2549  -  4 มกราคม 2550   สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธิ์ จุลานนท์ในภาพรวมได้คะแนน 5.27
                        (จากคะแนนเต็ม 10)  โดยมีรายละเอียดดังนี้

 
คะแนนเต็ม 10
ด้านการเมือง การปกครอง และการบริหาร
5.57
ด้านการรักษาความมั่นคงของรัฐ
5.31
ด้านการต่างประเทศ
5.24
ด้านสังคม
5.23
ด้านเศรษฐกิจ
5.02
     
   

                    2. ความคิดเห็นต่อทิศทางการเปลี่ยนแปลงของประเทศไทย เมื่อรัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามาบริหาร
                        ประเทศครบ 3 เดือน

 
ร้อยละ
เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ ดีขึ้น
32.0
เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ แย่ลง
24.9
เห็นว่าเหมือนเดิม/ยังมองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง
43.1
     
   

                    3. เรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรได้รับการชื่นชมยกย่องมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
เรื่องความซื่อสัตย์ โปร่งใส
24.2
เรื่องปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน
12.6
เรื่องความตั้งใจและทุ่มเทในการทำงาน
11.2
เรื่องการแก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ด้วยแนวทางสันติ
11.1
เรื่องการพัฒนาประเทศตามแนวคิดเศรษฐกิจแบบพอเพียง
6.0
เรื่อง อื่น ๆ อาทิ การสร้างความสัมพันธ์กับต่างประเทศ การเข้าถึงประชาชน และ
การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
4.2
ไม่มีเรื่องใดสมควรได้รับการชื่นชมยกย่อง
25.3
ไม่ตอบ
5.4
   
   

                    4. เรื่องที่รัฐบาลชุดปัจจุบันสมควรปรับปรุงแก้ไขมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
เรื่องความรวดเร็วฉับไวในการทำงาน
27.3

เรื่องความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ

22.4
เรื่องการสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชน
16.9
เรื่องการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ /โครงการใหม่ ๆ
11.8
เรื่องการบริหารงานแบบราชการ
8.2
เรื่องอื่น ๆ อาทิ การแก้ปัญหาสังคม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ การแก้ปัญหาความไม่สงบ
ในภาคใต้ การให้ความสำคัญกับเรื่องเล็กน้อยจนละเลยเรื่องใหญ่ และการรู้เท่าทันเล่ห์
เหลี่ยมของนักการเมือง
2.3
ไม่มีเรื่องใดต้องปรับปรุงแก้ไข
8.5
ไม่ตอบ
3.6
   
   

                    5. บุคคลในคณะรัฐบาลที่ประชาชนระบุว่าไม่รู้จัก/ไม่ได้รับรู้ถึงการทำงาน (เรียงลำดับจากมากไปน้อย )

 
ร้อยละ

นายสิทธิชัย โภไคยอุดม รมว. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

36.2
นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รมว. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
35.2
ศ.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รมว. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลี
34.3
นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รมว. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
29.0
นายธีระภัทร เสรีรังสรรค์ รมต. ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
28.9
นายอภัย จันทนะจุลกะ รมว. กระทรวงแรงงาน
28.7
นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ รมว. กระทรวงยุติธรรม
27.7
พล.ร.อ.ธีระ ห้าวเจริญ รมว. กระทรวงคมนาคม
25.5
นายนิตย์ พิบูลสงคราม รมว. กระทรวงการต่างประเทศ
25.1
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต . ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
23.9
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รมว. กระทรวงพลังงาน
23.9
นายธีระ สูตะบุตร รมว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
22.6
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ รมว. กระทรวงวัฒนธรรม
21.6

นายเกริกไกร จีระแพทย์ รมว. กระทรวงพาณิชย์

21.5
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว . กระทรวงกลาโหม
21.1
น.พ.มงคล ณ สงขลา รมว. กระทรวงสาธารณสุข
20.7
นายสุวิทย์ ยอดมณี รมว. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
18.3
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกฯ และรมว.อุตสาหกรรม
17.1
นายวิจิตร ศรีสอ้าน รมว. กระทรวงศึกษาธิการ
15.7
นายอารีย์ วงศ์อารยะ รมว .กระทรวงมหาดไทย
14.6
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯ และ รมว.การคลัง
7.2
พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
2.2
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

        เพื่อสอบถามความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อผลการดำเนินงานของรัฐบาลและการปฎิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีในโอกาสครบรอบ
3 เดือน

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:  
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 27 เขตจาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่  เขตคลองเตย  ดอนเมือง   ดินแดง  ทวีวัฒนา   ทุ่งครุ  บางกอกน้อย
บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางซื่อ บางนา บางบอน บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ ยานนาวา
ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ วัฒนา สวนหลวง สายไหม หนองแขม และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ   จากนั้น
สุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,082 คน   เป็นเพศชายร้อยละ 43.2 และเพศหญิงร้อยละ 56.8

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 30 ธันวาคม 2549 - 4 มกราคม 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 7  มกราคม 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
467
43.2
             หญิง
615
56.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
207
19.1
             26 - 35 ปี
428
39.6
             36 - 45 ปี
294
27.2
             46 ปีขึ้นไป
153
14.1
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
393
36.3
             ปริญญาตรี
593
54.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
96
8.9
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
279
25.8
             ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
172
15.9
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
320
29.6
             รับจ้างทั่วไป
143
13.2
             นิสิต นักศึกษา
131
12.1
             อื่น ๆ อาทิ อาชีพอิสระ เกษตรกร พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ  ฯลฯ
37
3.4
   
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776