หัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับการย้าย ผบ.ตร.”
   

       จากการที่ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี  มีคำสั่งย้าย พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติไปช่วยราชการที่สำนัก
นายกรัฐมนตรี พร้อมแต่งตั้ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ให้รักษาการในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแทน   เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์
ที่ผ่านมา   ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง   “ประชาชนคิดอย่างไรกับ
การย้าย ผบ.ตร.
”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,352 คน  เมื่อวันที่ 6-7 กุมภาพันธ์ 2550
สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นต่อการสั่งย้าย พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ จากตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
                        ไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
           เพราะ ไม่มีผลงาน ทำงานไม่ทันต่อเหตุการณ์ คดีสำคัญไม่คืบหน้า และควรเปิด
โอกาสให้คนอื่นได้แสดงความสามารถ ฯลฯ
71.6
ไม่เห็นด้วย
           เพราะ ควรให้เวลาทำงานมากกว่านี้ และการสั่งย้าย ผบ.ตร. เป็นการแก้ปัญหาที่
ไม่ตรงจุด ฯลฯ
28.4
     
   

                    2. ความคิดเห็นต่อการแต่งตั้ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ให้รักษาการในตำแหน่งผู้บัญชาการ
                        ตำรวจแห่งชาติ

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
           เพราะ เชื่อมั่นในฝีมือ เป็นคนตรงไปตรงมา มีความเด็ดขาด ทำงานจริงจัง
ซื่อสัตย์สุจริต และยังมองไม่เห็นใครที่เหมาะสมกว่า ฯลฯ
71.0
ไม่เห็นด้วย
           เพราะ เด็ดขาดมากเกินไปไม่ยืดหยุ่น และขาดความสามารถในการทำงาน
เป็นทีม ฯลฯ
29.0
     
   

                    3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของช่วงเวลาในการแต่งตั้งโยกย้าย

 
ร้อยละ
เห็นว่าเหมาะสมแล้ว
47.3
เห็นว่าโยกย้ายช้าเกินไป
27.9
เห็นว่าโยกย้ายเร็วเกินไป
24.8
   
   

                    4. เรื่องที่ต้องการให้ พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ดำเนินการให้สำเร็จเห็นผลเป็นเรื่องแรก ได้แก่

 
ร้อยละ
การวางระเบิด 9 จุดใน กทม. ในวันส่งท้ายปีเก่า
46.6
การดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
16.8
การปราบปรามผู้มีอิทธิพลและอบายมุข
13.8
การเผาโรงเรียน
12.1
ตำรวจใส่เกียร์ว่าง ไม่ทำงาน
7.5

อื่นๆ อาทิ การแก้ปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ และเรื่องตำรวจรีดไถประชาชน ฯลฯ

3.2
   
   

                    5. การแต่งตั้งโยกย้ายดังกล่าวส่งผลต่อคะแนนนิยมที่ท่านมีต่อ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
                        นายกรัฐมนตรีหรือไม่อย่างไร

 
ร้อยละ
ส่งผลให้คะแนนนิยมเพิ่มขึ้น
38.0
ไม่ส่งผลต่อคะแนนนิยม
38.2
ส่งผลให้คะแนนความนิยมลดลง
23.8
   
   

                    6. การสำรวจครั้งนี้พบว่าประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของพล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์
                        นายกรัฐมนตรี  6.30  คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 โดยลดลงจากเดือนมกราคม 0.14 คะแนน)

   
   

                    7. ความต้องการให้ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก

 
ร้อยละ
ต้องการ
20.3
ไม่ต้องการ
79.7
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

        เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อคำสั่งย้าย พล.ต.อ. โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ   ไปช่วยราชการที่สำนักนายก
รัฐมนตรี   พร้อมแต่งตั้ง พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ให้รักษาการในตำแหน่งผู้บัญชาการ
ตำรวจแห่งชาติแทน

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)   โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 30 เขต  จาก 50 เขต
ของกรุงเทพมหานคร  ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก  ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา จตุจักร ดินแดง ดุสิต  ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา
ทุ่งครุ  ธนบุรี  บางกะปิ   บางกอกใหญ่  บางเขน  บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน พญาไท พระโขนง พระนคร ภาษีเจริญ
ราชเทวี  ลาดพร้าว   วังทองหลาง วัฒนา สะพานสูง สวนหลวง หนองจอก ห้วยขวาง    และปริมณฑล 3 จังหวัด  ได้แก่นนทบุรี  ปทุมธานี
และสมุทรปราการ    จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป   ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,352 คน   เป็นเพศชายร้อยละ 48.2
และเพศหญิงร้อยละ 51.8

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 6 - 7 กุมภาพันธ์ 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 8  กุมภาพันธ์ 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
651
48.2
             หญิง
701
51.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
390
28.9
             26 - 35 ปี
425
31.4
             36 - 45 ปี
339
25.1
             46 ปีขึ้นไป
198
14.7
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
539
39.8
            ปริญญาตรี
715
52.9
            สูงกว่าปริญญาตรี
98
7.2
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
306
22.6
            พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
405
30.0
            ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
239
17.6
            รับจ้างทั่วไป
101
7.4
            พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
60
4.4
            นิสิต นักศึกษา
155
11.6
            อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
86
6.4
   
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776