หัวข้อ “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน”
   

       นับตั้งแต่มีการยึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 มาจนถึงปัจจุบัน   ได้มีเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวด้านการเมืองหลายอย่าง
เกิดขึ้นในประเทศไทยซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลสำคัญต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศไทยทั้งสิ้น     นับตั้งแต่การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แทนฉบับปี 2540 ที่ถูกยกเลิกไป    การดำเนินการเกี่ยวกับคดียุบพรรคการเมือง   การดำเนินการเอาผิดเรื่องทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลชุดที่แล้ว
และการเคลื่อนไหวของ   พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร  อดีตนายกรัฐมนตรี        ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์   สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนิน
โครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน”    โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร
ปริมณฑล และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ   ได้แก่  ขอนแก่น  เชียงใหม่  สงขลา  พระนครศรีอยุธยา  นครปฐม  และชลบุรี  
จำนวน 1,321 คน เมื่อวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2550 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความรู้สึกที่ประชาชนมีต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
รู้สึกว่าน่าเป็นห่วง
          โดยเห็นว่าน่าเป็นห่วงมากร้อยละ 39.0 และค่อนข้างน่าเป็นห่วงร้อยละ 49.2
88.2
รู้สึกว่าไม่น่าเป็นห่วง
           โดยเห็นว่าไม่น่าเป็นห่วงเลยร้อยละ 3.3 และไม่ค่อยน่าเป็นห่วงร้อยละ 8.5
11.8
     
   

                    2. ประเด็นทางการเมืองที่ประชาชนมองว่าน่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้ ได้แก่

 
ร้อยละ
การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
17.5
ความขัดแย้งระหว่างผู้มีอำนาจและการปฏิวัติซ้อน
16..6
การเคลื่อนไหวของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
16.5
การทำงานของรัฐบาล
15.9
การดำเนินการเอาผิดในคดีทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ
15.7
การสืบทอดอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
11.9
คดียุบพรรคการเมือง
3.5
อื่นๆ อาทิ เรื่องปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
2.4
     
   

                    3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมือง
                        ของไทยคลี่คลายลงได้

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นว่าจะทำได้
          โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 5.7 และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 40.6
46.3
ไม่เชื่อมั่นว่าจะทำได้
           โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 10.1 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 43.6
53.7
   
   

                    4. การคาดการณ์เกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้าเมื่อครบกำหนดที่ร่างรัฐธรรมนูญ
                        ฉบับใหม่แล้วเสร็จ

 
ร้อยละ
เชื่อว่าจะดีขึ้นกว่าในปัจจุบัน
24.6
เชื่อว่าจะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน
31.9
เชื่อว่าจะแย่ลงกว่าในปัจจุบัน
8.2
ไม่แน่ใจ
35.3
   
   

                    5. ความต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีก

 
ร้อยละ
ต้องการ
29.1
ไม่ต้องการ
69.8
ไม่แน่ใจ
1.1
   
   

                    6. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาล และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
เร่งทำงานให้เต็มที่เพื่อบ้านเมือง
24.5
ให้เข้มแข็ง เด็ดขาด และกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง
17.8
ทำดีแล้วขอเป็นกำลังใจให้
14.0
แก้ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ให้ได้เสียที
9.3
เร่งดำเนินการเอาผิดกับผู้เกี่ยวข้องในคดีทุจริตคอร์รัปชันของรัฐบาลทักษิณ
8.2
เร่งแก้ปัญหาความยากจน และค่าครองชีพ
8.0
เร่งคลี่คลายสถานการณ์ทางการเมืองเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ
7.4
ดูแลเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้ดีเพื่อจะได้คืนอำนาจให้ประชาชน
5.1
ให้ลาออกเพราะไม่เห็นผลงานที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม
2.4
ให้ความเป็นธรรมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และอนุญาตให้เดินทางกลับประเทศไทย
1.2
อื่นๆ อาทิ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก แก้ปัญหาเรื่องสนามบินสุวรรณภูมิและชี้แจง
ทำความเข้าใจกับต่างประเทศให้ชัดเจน
2.1
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

        เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่ออนาคตทางการเมืองของไทย ในประเด็นเกี่ยวกับ
                 1. ความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองของไทยในปัจจุบัน
                 2. ประเด็นทางการเมืองที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้
                 3. ความเชื่อมั่นว่ารัฐบาลและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะสามารถทำให้สถานการณ์ทางการเมืองของไทยคลี่คลายลงได้
                 4. การคาดการณ์อนาคตทางการเมืองของประเทศไทยในอีก 6 เดือนข้างหน้า เมื่อครบกำหนดที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะแล้วเสร็จ
                 5. สิ่งที่อยากฝากไปถึงรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ และคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        โครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “อนาคตการเมืองไทยในทัศนะของประชาชน” นี้ใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในเขต
กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา พระนคร-
ศรีอยุธยา นครปฐม และชลบุรี   โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)     และกำหนดลักษณะของตัวอย่างให้
สอดคล้องกับประชากรเป้าหมาย   ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,321 คน   เป็นเพศชายร้อยละ 47.0    และเพศหญิงร้อยละ 53.0

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 13 - 19 กุมภาพันธ์ 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 22  กุมภาพันธ์ 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
621
47.0
             หญิง
700
53.0
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
328
24.8
             26 - 35 ปี
519
39.3
             36 - 45 ปี
294
22.3
             46 ปีขึ้นไป
180
13.6
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
547
41.4
            ปริญญาตรี
646
48.9
            สูงกว่าปริญญาตรี
128
9.7
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
304
23.0
            ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
226
17.1
            พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
467
35.4
            รับจ้างทั่วไป
161
12.2
            เกษตรกร ชาวประมง
41
3.1
            อื่นๆ อาทิ นิสิต นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
122
9.2
   
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776