หัวข้อ “เทศกาลสงกรานต์ในมุมมองของวัยรุ่น”
   

       ด้วยในวันที่ 13-15 เมษายน เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นประเพณีขึ้นปีใหม่แบบไทยที่สืบทอดมายาวนาน
แต่จากพฤติกรรมการเล่นสงกรานต์ในช่วงหลังๆ ของคนบางกลุ่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มวัยรุ่นที่มุ่งความสนุกสนาน
สะใจจนมักก่อให้เกิดอันตรายตามมา การใช้อุปกรณ์เล่นสงกรานต์ที่เข้าข่ายรุนแรง การดื่มสุรา หรือการฉวยโอกาส
ลวนลามทางเพศ ทำให้หลายฝ่ายเรียกร้องให้มีการรณรงค์เล่นสงกรานต์อย่างมีสติเพื่อธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณี
อันดีงามของไทยเอาไว้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
เรื่อง “เทศกาลสงกรานต์ในมุมมองของวัยรุ่น”  โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 12-20 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล จำนวน 1,144 คน เมื่อวันที่ 2 - 9 เมษายน 2550 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. สิ่งที่วัยรุ่นนึกถึงมากที่สุดเมื่อพูดถึงเทศกาลสงกรานต์

 
ร้อยละ
การเล่นสาดน้ำ
59.1
การรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่

14.2

การทำบุญตักบาตร/สรงน้ำพระ
14.1
การพบปะสังสรรค์ในหมู่ญาติ
8.2
การประกวดเทพีสงกรานต์
3.4
อื่นๆ ได้แก่ การได้หยุดเรียน และการเดินทางท่องเที่ยว
1.0
     
   

                    2. ความตั้งใจที่จะออกไปเล่นสงกรานต์ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้

 
ร้อยละ
ไป
70.3
ไม่ไป
29.7

                     โดยสถานที่ที่ตั้งใจจะออกไปเล่นสงกรานต์ ได้แก่

 
ร้อยละ
บ้านตัวเอง/บ้านเพื่อน/บ้านญาติ
27.6
ตามจุดที่มีการจัดงาน เช่น ถนนข้าวสาร

18.1

ขับรถตระเวนไปตามท้องถนน
15.5
วัด
3.4
สถานบันเทิง
2.7
ที่อื่นๆ อาทิ ชายทะเล โรงเรียน
3.0
     
   

                    3. สำหรับอุปกรณ์ที่จะใช้การเล่นสงกรานต์นั้น จากการสอบถามพบว่ามีวัยรุ่นถึง
                        ร้อยละ 67.4 ระบุว่าจะใช้อุปกรณ์ที่เข้าข่ายรุนแรงและอาจก่อให้เกิดอันตรายได้
                        โดยอุปกรณ์ที่วัยรุ่นระบุว่าจะใช้ในการเล่นสงกรานต์ปีนี้ ได้แก่ 
                     (ตอบได้มากกว่า 
1ข้อ)

 
ร้อยละ
ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง/กระบอกสูบน้ำ
37.6
แป้งสี
32.8
น้ำแข็ง
21.6
ถุงใส่น้ำ/ลูกโป่งใส่น้ำ
11.8
   
   

                    4. ความเห็นของวัยรุ่นต่อการเล่นสงกรานต์แบบถูกเนื้อต้องตัวกัน  เช่น การทาแป้ง
                        บนใบหน้าหรือลำตัว

 
ร้อยละ

เห็นว่าทำได้ ไม่ใช่เรื่องเสียหาย และเป็นเรื่องธรรมดาของ
เทศกาลสงกรานต์

           เมื่อพิจารณาจากเพศพบว่า   - วัยรุ่นเพศชายเห็นว่าทำได้   ร้อยละ 71.3
                                                    - วัยรุ่นเพศหญิงเห็นว่าทำได้  ร้อยละ 55.8

62.9
เห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ไม่ควรทำ เพราะเป็นการไม่ให้เกียรติผู้หญิง ขัดต่อ
วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และอาจก่อให้เกิดปัญหาทะเลาะวิวาทตามมา
37.1
   
   

                    5. เมื่อสอบถามถึงประสบการณ์ที่เคยถูกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นสงกรานต์ พบว่า

 
ร้อยละ
มีวัยรุ่นที่เคยถูกฉวยโอกาสลวนลามจากการเล่นสงกรานต์
(ในจำนวนนี้เป็นเพศชาย ร้อยละ 5.6   และเพศหญิง ร้อยละ 11.7)
17.3
มีวัยรุ่นที่ไม่เคยถูกฉวยโอกาศลวนลามจากการเล่นสงกรานต์
77.7
   
   

                    6. ปัญหาที่วัยรุ่นเห็นว่าน่าเป็นห่วงและต้องการให้มีการแก้ไขมากที่สุดในช่วงเทศกาล
                        สงกรานต์ปีนี้ คือ

 
ร้อยละ
ปัญหาอุบัติเหตุทางรถยนต์
38.6
ปัญหาเมาสุรา/ทะเลาะวิวาท
16.2
ปัญหาการก่อความไม่สงบ/ลอบวางระเบิด
15.4
ปัญหาการลวนลามและล่วงเกินทางเพศ
14.1
ปัญหาการเล่นสงกรานต์แบบรุนแรงเกินขอบเขต
12.2
ปัญหาโจรกรรม
3.4
   
   

                    7. บุคคลในแวดวงการเมืองที่วัยรุ่นต้องการรดน้ำขอพรมากที่สุด
                         (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุชื่อเอง)

 
ร้อยละ
พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี
39.4
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
17.1
พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
8.1
นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี
6.2
พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
5.8
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
3.6
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3.2
อื่นๆ อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน , นายบรรหาร ศิลปอาชา , นางปวีณา หงสกุล ,
พล.ต. จำลอง ศรีเมือง , ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และนายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ฯลฯ
17.1
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความคิดเห็นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลถึงพฤติกรรมและทัศนคติที่มีต่อ
เทศกาลสงกรานต์

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน
30 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน
คลองสามวา จตุจักร จอมทอง ดอนเมือง บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน
บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบ พระนคร มีนบุรี ราชเทวี ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง
สะพานสูง สัมพันธวงศ์ หนองแขม ห้วยขวาง และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 12 – 20 ปี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,144 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.2
และเพศหญิงร้อยละ 53.8

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 2 - 9 เมษายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 12  เมษายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
529
46.2
             หญิง
615
53.8
อายุ:
 
 
             12 - 14 ปี
259
22.6
             15 - 17 ปี
375
32.8
             18 - 20 ปี
510
44.6
การศึกษา:
 
 
             กำลังศึกษาอยู่
1,107
88.0
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว
137
12.0
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776