หัวข้อ “ความคาดหวังของแรงงานไทยต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”
   

       ด้วยในวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันแรงงาน  ประกอบกับขณะนี้ประเทศไทยกำลังจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
แทนฉบับปี พ.ศ.2540 ที่ถูกยกเลิกไปหลังการปฏิรูปการปกครองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549    โดยมีหลายประเด็น
ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของสังคม ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความคาดหวังของแรงงานไทยต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ทำงานในสถานประกอบการประเภทธุรกิจเอกชน โรงงาน และรัฐวิสาหกิจ
ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,103 คน เมื่อวันที่ 24-27 เมษายน 2550 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. การรับทราบว่าประเทศไทยกำลังจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนฉบับปี 2540 ที่ถูก
ยกเลิกไป

 
ร้อยละ
ทราบ
77.5
ไม่ทราบ

22.5

     
   

                    2. ความสนใจเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 
ร้อยละ
สนใจ  เพราะ
                     เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ เกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง อยากให้
ประเทศไทยก้าวหน้า อยากมีส่วนร่วม และอยากปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ฯลฯ
63.3
ไม่สนใจ  เพราะ
                     วุ่นวายน่าเบื่อ ไม่ชอบเรื่องการเมือง ของเดิมดีอยู่แล้ว ไม่มีความรู้เรื่อง
กฏหมาย เปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อยเกินไป และเชื่อว่าอีกไม่นานก็ต้องร่างฉบับใหม่ ฯลฯ
36.7
     
   

                    3. การมีโอกาสได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 
ร้อยละ
ได้อ่าน / ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
        โดยประเด็นที่สนใจมากที่สุด คือ เรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
เรื่องการกำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี
ฯลฯ
23.5
ไม่ได้อ่าน / ไม่ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
76.5
   
   

                    4. ความคาดหวังต่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 
ร้อยละ

คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่แก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน
ทำให้บ้านเมืองมีความโปร่งใส มีคุณธรรม

79.7

คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่คุ้มครอง ส่งเสริม และขยายสิทธิเสรีภาพ
ของประชาชน  โดยทำให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง
ได้อย่างเต็มที่

77.3
คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ลดการผูกขาดอำนาจรัฐและขจัด การใช้
อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม
76.3
คาดหวังให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำให้ระบบตรวจสอบมีความเข้มแข็ง
และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยปิดช่องทางไม่ให้ฝ่ายการเมือง
เข้าไปแทรกแซงการทำงานขององค์กรอิสระ
74.8
   
   

                    5. ความเชื่อมั่นว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองโดยรวมของไทย
ดีขึ้น

 
ร้อยละ
เชื่อ ว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น
       เพราะ มีการขยายสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารบ้านเมือง
มากขึ้น และเชื่อว่าปัญหาทุจริตคอร์รัปชันจะลดลง ฯลฯ
59.9
ไม่เชื่อ ว่าการมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น
       เพราะ ขึ้นอยู่กับผู้ปฏิบัติมากกว่ารัฐธรรมนูญ ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่มาหลายครั้งแล้วแต่บ้านเมืองก็ยังเหมือนเดิม
และนักการเมืองยังคง
เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม ฯลฯ
40.1
   
   

                    6. ความตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียงเพื่อลงประชามติเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

 
ร้อยละ
จะไปใช้สิทธิ
63.2
จะไม่ไปใช้สิทธิ
6.3
ไม่แน่ใจ
30.4


                    จำนวนผู้ที่ตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียง

 
ร้อยละ
จะออกเสียงยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่

22.0

จะออกเสียงไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
2.0
ยังไม่ได้ตัดสินใจ
39.3
   
   

                    7. การเปรียบเทียบความตั้งใจจะไปใช้สิทธิออกเสียงเพื่อลงประชามติเกี่ยวกับร่าง
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ระหว่างผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญกับผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือ
รับทราบเนื้อหา

 
ไปใช้สิทธิ
ร้อยละ
ไม่ไปใช้สิทธิ
ร้อยละ
ไม่แน่ใจ
ร้อยละ
ผู้ที่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
76.1
4.6
19.3
ผู้ที่ไม่ได้อ่าน/ไม่ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
59.2
6.9
33.9
   
   

                    8. การเปรียบเทียบความตั้งใจที่จะออกเสียงยอมรับหรือไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
ระหว่างผู้ที่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กับผู้ที่ไม่ได้อ่านหรือรับทราบเนื้อหา

 
ออกเสียง
ยอมรับ
ร่างรัฐธรรมนูญ
ออกเสียง
ไม่ยอมรับ
ร่างรัฐธรรมนูญ
ยังไม่ได้
ตัดสินใจ

ผู้ที่ได้อ่าน/รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
                                                      (คิดเป็นสัดส่วน)
ร้อยละ 42.2
(9)
ร้อยละ 4.6
(1)
ร้อยละ 53.0
(12)
ผู้ที่ไม่ได้อ่าน/ไม่ได้รับทราบเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับใหม่
                                                      (คิดเป็นสัดส่วน)
ร้อยละ 31.8

(13)
ร้อยละ 2.5

(1)
ร้อยละ 65.7

(26)
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามข้อมูลความความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้แรงงาน เกี่ยวกับการรับรู้และความคาดหวังต่อ
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)    โดยการสุ่มสถานประกอบการ
ประเภทต่างๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 35 แห่ง  แบ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ 6 แห่ง บริษัทเอกชน 15 แห่ง
และโรงงาน 14 แห่ง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,103 คน  เป็นเพศชาย
ร้อยละ 44.4   และเพศหญิงร้อยละ 55.6

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 24 - 27 เมษายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 30  เมษายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
490
44.4
             หญิง
613
55.6
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
318
28.8
             26 - 35 ปี
473
42.9
             36 - 45 ปี
221
20.0
             46 ปีขึ้นไป
91
8.3
ประเภทของสถานประกอบการ:
 
 
             บริษัทธุรกิจเอกชน
515
46.7
             โรงงาน
386
35.0
             รัฐวิสาหกิจ
202
18.3
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน:
 
 
             น้อยกว่า 5,000 บาท
64
5.8
             5,001 - 10,000 บาท
443
40.2
             10,001 - 15,000 บาท
291
26.4
             15,001 - 20,000 บาท
119
10.8
             20,001 - 25,000 บาท
78
7.1
             มากกว่า 25,000 บาท
108
9.8
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776