หัวข้อ “อนาคตการเมืองไทยหลังคดียุบพรรคการเมือง”
   

       จากการที่ตุลาการรัฐธรรมนูญ มีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทยและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร
พรรคทั้ง 111 คนเป็นเวลา 5 ปี จากคดีการจ้างพรรคเล็กให้ลงเลือกตั้ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์รอดพ้นจาก
คดีดังกล่าวโดยไม่ถูกยุบและกรรมการบริหารพรรคไม่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ส่งผล
โดยตรงต่ออนาคตทางการเมืองของประเทศไทยและเป็นที่สนใจของประชาชนทั่วทุกวงการ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “อนาคตการเมืองไทยหลังการตัดสิน
คดียุบพรรคการเมือง
”  โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลเฉพาะผู้ที่
ติดตามข่าวเรื่องการยุบพรรคการเมือง จำนวน 1,032 คน เมื่อวันที่ 2-4 มิถุนายน 2550 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นต่อผลการวินิจฉัยคดียุบพรรคการเมืองของตุลาการรัฐธรรมนูญ
ในภาพรวม

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
52.3
ไม่เห็นด้วย

28.4

ไม่แสดงความเห็น
19.3

                    เมื่อพิจารณาความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยแต่ละประเด็น ได้แก่ การไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์
การไม่เพิกถอนสิทธิกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ การยุบพรรคไทยรักไทย และการเพิกถอน
สิทธิกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย พบว่า

                        1.1 ความคิดเห็นต่อการวินิจฉัยไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
59.4
ไม่เห็นด้วย

32.4

ไม่แสดงความเห็น
8.2

                        1.2 ความคิดเห็นต่อการวินิจฉัยไม่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร
                              พรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลา 5 ปี

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
46.9
ไม่เห็นด้วย

28.3

ไม่แสดงความเห็น
24.8


                        1.3 ความคิดเห็นต่อการวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
61.1
ไม่เห็นด้วย

31.8

ไม่แสดงความเห็น
7.1


                        1.4 ความคิดเห็นต่อการวินิจฉัยให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหาร
                              พรรคไทยรักไทยเป็นเวลา 5 ปี

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
45.1
ไม่เห็นด้วย

31.2

ไม่แสดงความเห็น
23.7
     
   

                    2. ความเชื่อมั่นต่ออนาคตการเมืองไทยหลังตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยใน
คดียุบพรรคการเมือง

 
ร้อยละ
เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น
22.7
เชื่อว่าสถานการณ์จะแย่ลง
28.1
เชื่อว่าสถานการณ์จะเหมือนเดิม
29.5
ไม่แน่ใจ
19.7
     
   

                    3. ความคิดเห็นต่อการยกเลิกประกาศคณะปฏิรูปการปกครองฯ ฉบับที่ 15 และ 27
ที่ห้ามดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและตั้งพรรคการเมืองใหม่พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วยกับการยกเลิกประกาศดังกล่าว
58.8
ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกประกาศดังกล่าว
29.4
ไม่แน่ใจ
11.8
   
   

                    4. ความคิดเห็นต่อการอนุญาตให้มีการจดทะเบียนพรรคใหม่โดยใช้ชื่อ “ไทยรักไทย”
อย่างเดิม

 
ร้อยละ

ควรอนุญาต

23.8

ไม่ควรอนุญาต

41.5

ไม่แสดงความเห็น

34.7
   
   

                    5. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าเลือกพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งที่ผ่านมา ซึ่งมีอยู่
ร้อยละ 45.5 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดว่าหากมีการจัดตั้งพรรคใหม่โดยมีอดีตแกนนำพรรคไทยรักไทย
ให้การสนับสนุนอยู่เบื้องหลังจะลงคะแนนเลือกพรรคใหม่ดังกล่าวหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เลือก
21.5
ไม่เลือก
7.5
ไม่แน่ใจ
16.5
   
   

                    6. ความคิดเห็นต่อการเลื่อนการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ในเดือน
ธันวาคม 2550

 
ร้อยละ
เห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม
44.0
เห็นว่าไม่ควรเลื่อนการเลือกตั้งให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม
27.5
ไม่แน่ใจ
28.5
   
   

                    7. ในการเลือกตั้งครั้งต่อไปอยากได้รัฐบาลพรรคเดียวหรือรัฐบาลผสมหลายพรรค

 
ร้อยละ
อยากได้รัฐบาลพรรคเดียว
48.0
อยากได้รัฐบาลผสมหลายพรรค
52.0
   
   

                    8. บุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป (เป็นคำถามปลายเปิด ผู้ตอบ
ระบุชื่อเอง)

 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
39.0
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
21.5
นายชวน หลีกภัย
4.8
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
2.8
นายบรรหาร ศิลปอาชา
2.7
นายจาตุรนต์ ฉายแสง
2.3
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
2.0
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
2.0
บุคคลอื่น อาทิ นายศุภชัย พานิชภักดิ์, พล.อ.สนธิ บุญยะรัตกลิน, นายเสนาะ เทียนทอง,
นายอานันท์ ปันยารชุน, พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ฯลฯ
13.6
ไม่มีผู้เหมาะสม
9.3
   
   

                    9. ความคิดเห็นต่อสิ่งที่คิดว่า คมช. ควรทำมากที่สุดในช่วงนี้

 
ร้อยละ
ดูแลสถานการณ์บ้านเมืองให้เกิดความเรียบร้อย ไม่มีเหตุวุ่นวาย
28.2
ดำเนินการแก้ปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้เกิดความสงบสุข
20.7
คืนอำนาจแก่ประชาชนโดยเร็ว
17.9
รีบแก้ไขภาพลักษณ์ของประเทศให้กลับมามีความน่าเชื่อถือ
13.5
จัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุดและวางตัวเป็นกลาง
12.8
ปราบทุจริตคอรัปชั่นให้เห็นผลชัดเจนเป็นรูปธรรม
5.0
ดำเนินการยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
1.3
อื่นๆ อาทิ อนุญาตให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางกลับประเทศไทย
0.6
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับอนาคตการเมืองไทยหลังการตัดสินคดียุบพรรคการเมืองให้
สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน
23 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน
จตุจักร ดอนเมือง ดุสิต ตลิ่งชัน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ประเวศ พญาไท พระนคร มีนบุรี
ราชเทวี ลาดกระบัง ลาดพร้าว สายไหม หนองแขม หนองจอก หลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี
และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ระบุว่าติดตามข่าวเรื่องคดียุบพรรคการเมือง
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,032 คน เป็นเพศชายร้อยละ 55.1 และเพศหญิงร้อยละ 44.9

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 2 - 4 มิถุนายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 5  มิถุนายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
569
55.1
             หญิง
463
44.9
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
275
26.6
             26 - 35 ปี
316
30.6
             36 - 45 ปี
266
25.8
             46 ปีขึ้นไป
175
17.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
468
45.3
             ปริญญาตรี
526
51.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
38
3.7
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
92
8.9
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
350
33.9
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
221
21.4
             รับจ้างทั่วไป
166
16.1
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
58
5.6
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ เกษตรกร นิสิตนักศึกษา ฯลฯ
145
14.1
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776