หัวข้อ “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อหนังสือพิมพ์ท่ามกลางวิกฤตประเทศ ”
   

       ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์บ้านเมืองของไทยตกอยู่ในสภาพสับสนวุ่นวาย อันเนื่องมาจากความขัดแย้ง
ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มจะนำไปสู่ความแตกแยกรุนแรง ส่งผลให้สังคมไทยเกิดความ
วิตกกังวลมากยิ่งขึ้นทุกขณะ สถานการณ์เช่นนี้สื่อหนังสือพิมพ์ในฐานะช่องทางหลักที่ทรงอิทธิพลต่อความคิดและท่าที
ของผู้คนในวงกว้าง ย่อมถูกจับตามองทั้งในเรื่องของความมีเสรีภาพ และการทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตบนพื้นฐาน
ของจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพและการยึดมั่นในผลประโยชน์ของประเทศชาติ
       ในโอกาสที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ครบรอบการก่อตั้ง 10 ปี จึงได้ร่วมกับ  ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง   “เสรีภาพและความรับผิดชอบของ
สื่อหนังสือพิมพ์ท่ามกลางวิกฤตประเทศ
” ขึ้น   โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย  ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ
       การสำรวจดังกล่าวเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ระบุว่า อ่านหนังสือพิมพ์รายวันระดับชาติ อย่างน้อย
สัปดาห์ละ 1 วัน จำนวน 2,060 คน จาก 30 จังหวัด ทั่วทุกภาคของประเทศ เมื่อวันที่ 5 - 13 มิถุนายน 2550
สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. วัตถุประสงค์หลักในการอ่านหนังสือพิมพ์รายวัน

 
ร้อยละ
เพื่อทราบเรื่องราวความเป็นไปในสังคม
33.7
เพื่อให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปและเบื้องหลังของเรื่องราวสำคัญที่เกิดขึ้น

24.5

เพื่อให้มีข้อมูลไว้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับคนอื่น
15.7
เพื่อความบันเทิง

14.1

เพื่อให้มีข้อมูลไว้ใช้ประกอบการตัดสินใจเรื่องต่างๆ
12.0
     
   

                    2. วัตถุประสงค์ในการอ่านหนังสือพิมพ์ เปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังประเทศประสบ
ปัญหาวิกฤต

 
ร้อยละ
วัตถุประสงค์ในการอ่านหนังสือพิมพ์ยังเหมือนเดิม
89.2
วัตถุประสงค์ในการอ่านหนังสือพิมพ์เปลี่ยนไป
10.8
     
   

                    3.ความพึงพอใจต่อเนื้อหาสาระที่นำเสนอในสื่อหนังสือพิมพ์รายวันระดับชาติในช่วงที่
ประเทศชาติเผชิญวิกฤตด้านการเมืองการปกครอง มีคะแนนเฉลี่ย 6.10 จากคะแนนเต็ม 10.00
โดยมีคะแนน ความพึงพอใจในแต่ละด้าน ดังนี้

 
ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ได้ (เต็ม 10.00)
ด้านความรวดเร็วทันเหตุการณ์
6.60
ด้านความต่อเนื่องของการนำเสนอความคืบหน้า
6.38
ด้านความชัดเจนเข้าใจง่าย
6.16
ด้านความครบถ้วนสมบูรณ์ของเรื่องราว
5.88
ด้านความเป็นกลางไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใด
5.51
ด้านความถูกต้องเที่ยงตรงเชื่อถือได้
5.41
ความพึงพอใจต่อเนื้อหาสาระเฉลี่ยรวม
6.10
   
   

                    4.ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์รายวันระดับชาติในช่วงที่
ประเทศชาติเผชิญวิกฤต มีคะแนนเฉลี่ย 5.99 จากคะแนนเต็ม 10.00 โดยมีคะแนนความพึงพอใจ
ในแต่ละด้าน ดังนี้

 
ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่ได้ (เต็ม 10.00)
การติดตามข่าวสาร เหตุการณ์มานำเสนอให้ประชาชน
ได้รับทราบ
6.74
การให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาของประเทศ
6.12
การแสดงความเห็น ตีความ และเชื่อมโยงให้ประชาชนเข้าใจถึง
ที่มาที่ไปของเรื่องราวที่เกิดขึ้น
6.02
การปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติโดยส่วนรวม
5.54
การกระตุ้น ชี้นำให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง
อย่างถูกต้องเหมาะสม
5.53
การตรวจสอบรัฐบาลและผู้มีอำนาจในบ้านเมือง
5.16
ความพึงพอใจต่อการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์เฉลี่ยรวม
5.99
   
   

                    5. ความคิดเห็นต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อหนังสือพิมพ์ไทยในยุคปัจจุบัน

 
ร้อยละ
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในยุคปัจจุบันมีเสรีภาพน้อยเกินไป
40.4
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในยุคปัจจุบันมีเสรีภาพมากเกินไป
34.4
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในยุคปัจจุบันมีเสรีภาพในระดับที่เหมาะสมแล้ว
25.2
   
   

                    6. ความคิดเห็นต่อสิทธิเสรีภาพของสื่อหนังสือพิมพ์ในยุครัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
เปรียบเทียบกับยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ยุครัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ มีเสรีภาพน้อยกว่ายุครัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ
30.1
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในยุครัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ มีเสรีภาพมากกว่า
ยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ
42.5
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในยุครัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ มีเสรีภาพเท่าๆ กับยุครัฐบาล
พ.ต.ท.ทักษิณ
27.4
   
   

                    7.ความคิดเห็นต่อแนวคิดเรื่องเสรีภาพของสื่อหนังสือพิมพ์กับความเที่ยงตรงในการ
นำเสนอข่าวสาร  และประโยชน์ที่สังคมโดยส่วนรวมจะได้รับ

7.1 ถ้าสื่อหนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมากขึ้น การนำเสนอข่าวสารจะเที่ยงตรงตามความเป็นจริงมากขึ้น
 
ร้อยละ
เห็นด้วยกับคำกล่าวดังกล่าว
83.6
ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวดังกล่าว
16.4


7.2 ถ้าสื่อหนังสือพิมพ์มีเสรีภาพมากขึ้น จะทำให้ประชาชนและสังคมส่วนรวมได้รับประโยชน์มากขึ้น
 
ร้อยละ
เห็นด้วยกับคำกล่าวดังกล่าว
86.3
ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวดังกล่าว
13.7
   
   

                    8. ความคิดเห็นต่อจรรยาบรรณและความรับผิดชอบของสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน

 
ร้อยละ
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันมีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบดีพอแล้ว
50.3
เห็นว่าสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันยังมีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบไม่ดีพอ
49.7


                     โดยเห็นว่าสิ่งที่สื่อหนังสือพิมพ์ควรปรับปรุง คือ เรื่องการนำเสนอข่าวเกินจริง ขาดการ
ตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำเสนอ การใส่ความคิดเห็นส่วนตัวลงไปในข่าว การเสนอข่าวไม่เป็นกลาง
และการนำเสนอภาพข่าวที่โหดร้ายรุนแรง เป็นต้น
   
   

                    9. ความเห็นต่อกลไกที่เหมาะสมในการควบคุมดูแลเรื่องจรรยาบรรณของสื่อหนังสือพิมพ์

 
ร้อยละ
ให้สื่อควบคุมกันเอง
68.0
ให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมสื่อ
32.0
   
   

                    10. การรู้จักและรับรู้ต่อบทบาทการดำเนินงานของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

 
ร้อยละ
ไม่รู้จักเลย
51.0
เคยได้ยินชื่อแต่ไม่รู้ว่าทำอะไร
45.2
รู้จัก
3.8

                     โดยในกลุ่มผู้ที่ตอบว่ารู้จัก จำแนกเป็น
 
ร้อยละ
สามารถระบุบทบาทหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
2.4
ไม่สามารถระบุบทบาทหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
1.4
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18ปีขึ้นไปตามสัดส่วนของประชากรในแต่ละภาค โดยเลือกเก็บข้อมูล
เฉพาะผู้ที่ระบุว่าอ่านหนังสือพิมพ์รายวันระดับชาติอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน ใน 30 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศ
ได้แก่   กรุงเทพมหานคร  นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ กาญจนบุรี ราชบุรี สระบุรี ลพบุรี ชลบุรี พะเยา เชียงใหม่
น่าน เชียงราย พิษณุโลก สุโขทัย ขอนแก่น ชัยภูมิ สุรินทร์ อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ สกลนคร อุดรธานี
หนองคาย ร้อยเอ็ด สุราษฎร์ธานี ภูเก็ต และนราธิวาส  จำนวน 2,060  คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.8  เพศหญิง
ร้อยละ 50.2 เก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 5-13 มิถุนายน 2550 โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ในขั้นต้น จากนั้นสุ่มเลือกบางส่วน
มาสัมภาษณ์เชิงลึกเพิ่มเติมในบางประเด็น

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายจำนวน 2,060 คน

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 5 - 13 มิถุนายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 28  มิถุนายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
1025
49.8
             หญิง
1035
50.2
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
618
30.0
             26 - 35 ปี
647
31.4
             36 - 45 ปี
504
24.5
             46 ปีขึ้นไป
291
14.1
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1163
56.5
             ปริญญาตรี
780
37.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
117
5.6
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
422
20.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
378
18.3
             รับจ้างทั่วไป
248
12.0
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
337
16.4
             พ่อบ้าน/ แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
123
6.0
             เกษตรกร ประมง
77
3.7
             นิสิต นักศึกษา
396
19.2
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
79
3.9
ที่อยู่อาศัย:
 
 
             กรุงเทพฯ และปริมณฑล
451
21.9
             ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง
926
45.0
             ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง
683
33.1
ความถี่ในการอ่านหนังสือพิมพ์รายวันระดับชาติ:
 
 
             อ่านทุกวัน
619
30.0
             อ่านสัปดาห์ละ 4-6 วัน
450
21.8
             อ่านสัปดาห์ละ 1-3 วัน
991
48.1
ประเภทของเนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวันที่สนใจอ่านมากที่สุด:
 
 
             การเมือง
544
26.4
             บันเทิง
456
22.1
             อาชญากรรม
306
14.9
             กีฬา
239
11.6
             ความรู้ วิทยาการ
198
9.6
             สังคม
186
9.0
             เศรษฐกิจ การลงทุน
83
4.0
             อื่นๆ อาทิ ข่าวการรับสมัครงาน โฆษณา
48
2.4
รวม
2,060
100
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776