หัวข้อ “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมทางการเมือง และการนิรโทษกรรม ”
   

       สืบเนื่องจากการที่ตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคไทยรักไทย และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการ
บริหารพรรคเป็นเวลา 5 ปี เป็นผลให้กลุ่มผู้สนับสนุนและแกนนำพรรคไทยรักไทยเดิมรวมถึงกลุ่มอื่นๆ ได้รวมตัวเป็น
แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) เพื่อชุมนุมเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ลาออก
โดยมีการชุมนุมและเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดกระแสความวิตกกังวลขึ้นในสังคมว่าจะเป็น
สาเหตุให้เกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลายได้ ทั้งมีกระแสเรื่องการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง
จนเป็นที่สนใจของประชาชนในวงกว้าง ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  จึงได้ดำเนินการ
สำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความคิดเห็นของประชาชนต่อการชุมนุมทางการเมืองและการนิรโทษกรรม”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล  จำนวน 967 คน  เมื่อวันที่ 
18-20 มิถุนายน 2550 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความเห็นต่อการติดตามและรับทราบข่าวสารบ้านเมืองที่อยู่ในความสนใจ ณ ขณะนี้
พบว่า (เป็นคำถามปลายเปิด)

 
ร้อยละ
ติดตามข่าวสารการชุมนุมทางการเมือง
54.8
ติดตามข่าวอื่นๆ อาทิ สังคม เศรษฐกิจ บันเทิง กีฬา

13.5

ติดตามข่าวการยึดทรัพย์และการกลับเมืองไทยของอดีตนายกฯ
13.0
ติดตามข่าวความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

9.2

ติดตามข่าวการยุบพรรคและการตัดสิทธิทางการเมือง
4.0
ติดตามข่าวการร่างรัฐธรรมนูญและการเลือกตั้ง

3.9

ไม่สนใจติดตามข่าวใดๆเลย
1.6

                    เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองและการชุมนุม
ทางการเมืองที่ปรากฏเป็นข่าวในปัจจุบัน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆ ดังนี้

                        1.1 ความเห็นและความเข้าใจของกลุ่มตัวอย่างต่อวัตถุประสงค์ของการดำเนิน
                              กิจกรรมทางการเมืองของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.)

 
ร้อยละ
เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มหรือคณะบุคคล
57.5
เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยต่อประชาชนส่วนรวม

23.3

ไม่แน่ใจ
19.2

                        1.2 ความคิดเห็นต่อประเด็นว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการชุมนุม
                              ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) (เป็นคำถามปลายเปิด)

 
ร้อยละ
ไม่แน่ใจว่าใครคือผู้ได้รับประโยชน์
24.8
นักการเมืองผู้เสียผลประโยชน์

23.9

พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

20.5

ประชาชน

14.9

แกนนำผู้ชุมนุมและผู้เข้าชุมนุม
10.7
อื่นๆ ได้แก่ คมช. รัฐบาล คนจน และตำรวจ
4.0
ไม่มีใครได้ประโยชน์
1.2

                        1.3 ความเห็นต่อแนวทางที่อยากให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่
                              เผด็จการนำไปดำเนินการ

 
ร้อยละ
ส่งตัวแทนเจรจากับรัฐบาลเพื่อหาข้อยุติและสลายการชุมนุม
65.0
ชุมนุมอย่างสงบและต่อเนื่อง

20.4

อื่นๆ อาทิ ควรรอรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และให้มีการเลือกตั้งก่อน
14.6
     
   

                    2. เมื่อถามความเห็นต่อการอนุญาตให้อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
สามารถสื่อสารกับผู้ชุมนุมได้โดยตรง อาทิ ผ่านระบบวีดิโอคอนเฟอร์เรนซ์ โดยไม่ควรมีการปิดกั้น
พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
      เพราะ เป็นสิทธิที่พึงกระทำได้, ไม่ควรปิดกั้นการรับข่าวสารของประชาชน
53.9
ไม่เห็นด้วย
       เพราะ อาจเกิดความวุ่นวาย สับสน
46.1


            โดยกลุ่มที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยจำนวนร้อยละ 46.1 เห็นว่า
 
ร้อยละ
ไม่ควรอนุญาตให้มีการสื่อสารโดยตรงกับผู้ชุมนุมเลย
23.5
ให้สื่อสารกับผู้ชุมนุมได้แต่ต้องผ่านการตรวจสอบจากรัฐบาลก่อน

20.2

อื่นๆ อาทิ ควรมีการควบคุมโดยให้เผยแพร่ได้เฉพาะสื่อบางประเภท,
ควรอนุญาตหลังจากมีการเลือกตั้งไปแล้ว
2.4
     
   

                    3. ความเห็นต่อการปิดกั้นสื่อชนิดอื่นๆ อาทิ Website Hi-Taksin หรือ Youtube
ที่มีคำปราศรัยและ
เทปคำปราศรัย ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร

 
ร้อยละ
ไม่ควรปิดกั้นแต่ให้ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากรัฐบาลก่อน
41.7
ไม่ควรมีการปิดกั้นเลย
32.6
ควรให้มีการปิดกั้นต่อไป
18.0
ไม่แน่ใจ
7.7
   
   

                    4. ความเห็นต่อการออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่ผู้ถูกตัดสิทธิทางการเมือง ให้ได้รับ
การคืนสิทธิและสามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ตามเดิม

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
       เพราะ เชื่อว่าผู้ถูกตัดสิทธิบางคนไม่ได้กระทำผิดและเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ
38.7
ไม่เห็นด้วย
       เพราะ ศาลมีคำตัดสินไปแล้วต้องให้ความเคารพคำตัดสินของศาล, เห็นว่า
กระทำผิดจริง และต้องการให้เป็นบรรทัดฐานของสังคม
61.3
   
   

                    5. ความเห็นต่อการที่กลุ่มผู้สนับสนุนพรรคไทยรักไทยดำเนินการล่ารายชื่อประชาชน
เพื่อยื่นถวายฎีกากรณีคดียุบพรรค พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
       เพราะ เป็นสิทธิที่พึงกระทำได้
30.6
ไม่เห็นด้วย
       เพราะ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรและไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง, ศาลมีคำตัดสินไปแล้ว
และไม่เชื่อมั่นในที่มาของรายชื่อ
69.4
   
   

                    6. ความเห็นต่อการเดินทางกลับประเทศไทยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อชี้แจง
ต่อศาลในคดีซุกหุ้น และอายัดทรัพย์

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
      เพราะ เพื่อเปิดโอกาสให้ชี้แจงและพิสูจน์ตัวเอง
71.4
ไม่เห็นด้วย
       เพราะ เหตุการณ์ยังไม่สงบอาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองเพิ่มขึ้น
28.6
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมืองและความเห็นต่อการนิรโทษกรรม
แก่นักการเมืองให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน
27 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน
ดุสิต ทวีวัฒนา บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ
พญาไท ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง สวนหลวง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองจอก หลักสี่
และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่มีอายุ
18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 967 คน เป็นเพศชายร้อยละ 54.2 และเพศหญิงร้อยละ 45.8

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 18 - 20 มิถุนายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 21  มิถุนายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
524
54.2
             หญิง
443
45.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
372
38.5
             26 - 35 ปี
284
29.4
             36 - 45 ปี
181
18.7
             46 ปีขึ้นไป
130
13.4
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
393
40.6
             ปริญญาตรี
491
50.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
83
8.6
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
110
11.4
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
296
30.6
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
194
20.1
             รับจ้างทั่วไป
105
10.8
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
39
4.0
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ เกษตรกร นิสิตนักศึกษา ฯลฯ
223
23.1
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776