หัวข้อ “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ”
   

       สืบเนื่องจากประเด็นข่าวสารเรื่องปัญหาการแต่งกายที่ไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบัน
ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงสถาบันการศึกษาหลายแห่ง  ร่วมกันระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข
ปัญหาที่เกิดขึ้น    ตลอดจนกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวัฒนธรรมมีแนวคิดร่วมกันเสนอให้ผลักดันการแก้ไข
ปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ    เพื่อสะท้อนความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาดังกล่าวในมุมมองของนิสิต นักศึกษา
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์  สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อปัญหา
การแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา
”     โดยเก็บข้อมูลจากนิสิต นักศึกษาระดับอนุปริญญา
และปริญญาตรีจากสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนทั่วทุกภาคของประเทศ จำนวน 1,743 คน   เป็นเพศชาย
ร้อยละ 36.9 และเพศหญิงร้อยละ 63.1 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน – 16 กรกฎาคม 2550 โดยร่วมมือกับบริษัท เอ็มเว็บ
(ประเทศไทย) จำกัด ในการเก็บผลสำรวจบางส่วนผ่านเว็บไซต์สนุกดอทคอม สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อประเด็นปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษา
                        ในปัจจุบันว่าเป็นปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
72.6
ไม่เห็นด้วย

12.8

ไม่แสดงความเห็น
14.6
     
   

                    2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาไทย
                        ในปัจจุบันว่ามีความน่าเป็นห่วงเพียงใด พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่าเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงมาก
27.4
เห็นว่าเป็นปัญหาที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง
54.2
เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง
13.4
เห็นว่าเป็นปัญหาที่ไม่น่าเป็นห่วงเลย
5.0
     
   

                    3. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการแต่งกายไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษา
                        จะก่อให้เกิดผลเสีย หรือปัญหาใดมากที่สุด (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรม อาทิ การล่วงละเมิดทางเพศ การข่มขืน
59.9
ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของสถาบันและของตนเอง
17.8
ก่อให้เกิดปัญหาจี้ ปล้น วิ่งราวทรัพย์
5.4
ขัดกับวัฒนธรรมอันดีงามของไทย
4.3
ไม่แสดงความเห็น
4.2
เห็นว่าไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ
3.8
เสียบุคลิกภาพ เสียสุขภาพ
3.1
อื่นๆ อาทิ สิ้นเปลือง ไม่เหมาะสมกับวัย
1.5
   
   

                   4.  ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อกรณีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวง
                        ศึกษาธิการ และกระทรวงวัฒนธรรมจะผลักดัน เรื่องการแก้ปัญหาการแต่งกายของ
                        นิสิต นักศึกษา ให้เป็นวาระแห่งชาติ  พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
       เพราะ เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้องรีบแก้ไขก่อนที่ปัญหาจะรุนแรงกว่านี้  เป็นการลด
ปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมได้  นักศึกษาจะได้แต่งกายเรียบร้อยขึ้น และ
เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีงาม
68.5
ไม่เห็นด้วย
        เพราะ ยังไม่ใช่ปัญหาใหญ่ระดับวาระแห่งชาติ เป็นการจำกัดสิทธิส่วนบุคคล
เป็นความพอใจส่วน บุคคล และอาจเป็นการยิ่งห้ามยิ่งยุ
31.5


                        โดยจำนวนที่ระบุว่าไม่เห็นด้วยกับการผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติจำนวน
         ร้อยละ 31.5 เห็นว่า

 
ร้อยละ
ควรให้นิสิต นักศึกษาหรือองค์กรนิสิต นักศึกษาเป็นหลักในการแก้ปัญหา
15.1
ควรให้อาจารย์และสถาบันการศึกษาเป็นหลักในการแก้ปัญหา
9.9
ควรให้ผู้ปกครองเป็นหลักในการแก้ปัญหา
2.5
อื่นๆ อาทิ ทุกฝ่ายควรร่วมมือกัน
4.0
   
   

                    5. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างถึงมาตรการที่จะนำมาใช้แก้ปัญหาการแต่งกายของ
                        นิสิต นักศึกษาแล้ว คิดว่าจะทำให้เห็นผลเป็นรูปธรรมมากที่สุด

 
ร้อยละ
ใช้กฎระเบียบของสถาบันการศึกษามาเป็นตัวบังคับอย่างจริงจัง
อาทิ ตัดคะแนน หรือไม่ให้เข้าชั้นเรียน
47.5
ใช้การรณรงค์หรือชักจูงใจให้นิสิต นักศึกษา หันมาแต่งกายให้เหมาะสม
30.2
ใช้มาตรการทางกฎหมายในการบังคับให้ผู้ผลิต เลิกผลิตเสื้อนักศึกษาที่ฟิต โป๊
หรือมีขนาดเล็กจนเกินไป
15.7
อื่นๆ อาทิ ใช้ทั้ง 3 มาตรการรวมกัน
6.6
   
   

                   6.   ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการที่สถาบันการศึกษาจะอนุญาตให้นักศึกษา
                        แต่งชุดธรรมดาที่สุภาพ (
Private) แทนการใส่ชุดนักศึกษา

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
57.2
เห็นด้วย
42.8
   
   

                    7. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างกรณีที่ หากสถาบันการศึกษาอนุญาตให้
                        นักศึกษาแต่งชุดธรรมดาที่สุภาพ (Private) แทนการใส่ชุดนักศึกษามาเรียนแล้ว
                        ปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมของนิสิต นักศึกษาจะหมดไปหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่าปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมจะยังคงมีอยู่
60.0
เชื่อว่าปัญหาเรื่องการแต่งกายไม่เหมาะสมจะหมดไป
22.3
ไม่แสดงความเห็น
17.7
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความคิดเห็นและสะท้อนมุมมองของนิสิต นักศึกษาเกี่ยวกับทัศนคติต่อปัญหาการแต่งกายของ
นิสิต นักศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและเป็นข้อมูลในการ
กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหา

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นต่อปัญหาการแต่งกายของนิสิต นักศึกษาในระดับอุดมศึกษา” ใช้วิธีเลือกกลุ่ม
ตัวอย่าง 2 วิธีคือ วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบยึดหลักความน่าจะเป็น (Probability Sampling) และวิธีเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างแบบไม่ยึดหลักความน่าจะเป็น (Non-Probability Sampling) จากนั้นใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มสถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนจำนวน 19 แห่ง ในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ทำการสุ่มคณะ ชั้นปีและ
ประชากรเป้าหมาย สำหรับประชากรเป้าหมายในต่างจังหวัดใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามความสะดวก
(Convenience Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,743 คน เป็นเพศชายร้อยละ 36.9 และเพศหญิงร้อยละ
63.1

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  10%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 28 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 27 กรกฎาคม 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
643
36.9
             หญิง
1100
63.1
อายุ:
 
 
             17 - 18 ปี
178
10.2
             19 - 20 ปี
595
34.1
             21 - 22 ปี
699
40.1
             23 ปีขึ้นไป
271
15.6
การศึกษา:
 
 
             อนุปริญญาตรี
94
5.4
             ปริญญาตรี
1649
94.6
อาชีพ:
 
 
             สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ
535
30.7
             สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน
836
48.0
             สถาบันราชภัฎ/ราชมงคล
274
15.7
             วิทยาลัย/อื่นๆ
98
5.6
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776