หัวข้อ “พุทธศาสนิกชนกับการรักษาศีล 5 ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา”
   

       ด้วยวันที่ 29 และ 30 กรกฏาคมนี้เป็นวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาซึ่งถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
อีกวันหนึ่ง พุทธศาสนิกชนนิยมเข้าวัดเพื่อทำบุญ ปฏิบัติธรรม และรักษาศีลตลอดช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเป็นประจำทุกปี
อีกทั้งที่ผ่านมาหน่วยงานภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้จัดให้มีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
กับเทศกาลเข้าพรรษาเพื่อเป็นการปลูกฝังค่านิยมและสืบสานประเพณีอันดีงาม ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์   สถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “พุทธศาสนิกชนกับการรักษาศีล 5 ในช่วง
เทศกาลเข้าพรรษา
”   โดยเก็บข้อมูลจากพุทธศาสนิกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,140 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 51.2   และเพศหญิงร้อยละ 48.8 เมื่อวันที่ 13-17 กรกฎาคม 2550 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นต่อการรักษาศีล 5 ของพุทธศาสนิกชนในปัจจุบันว่ามีความสำคัญเพียงใด

 
ร้อยละ
เห็นว่ามีความสำคัญมาก
         โดย เห็นว่ามีความสำคัญมาก ร้อยละ 35.8 และ สำคัญมากที่สุด ร้อยละ 36.6
72.4
เห็นว่ามีความสำคัญปานกลาง

21.3

เห็นว่ามีความสำคัญน้อย
         โดย เห็นว่ามีความสำคัญน้อย ร้อยละ 4.1 และ สำคัญน้อยที่สุด ร้อยละ 1.1
5.2
ไม่แน่ใจ

1.1

     
   

                    2. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างถึงการประพฤติผิดศีล 5 ในรอบ 30 วันที่ผ่านมา พบว่า
                        (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

   
 
ร้อยละ
ประพฤติผิดศีลข้อ 1 ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
37.0
ประพฤติผิดศีลข้อ 2 ลักทรัพย์
11.1
ประพฤติผิดศีลข้อ 3 ประพฤติผิดในกาม
11.3
ประพฤติผิดศีลข้อ 4 พูดปด
45.4
ประพฤติผิดศีลข้อ 5 ดื่มสุราและของมึนเมา
39.0
ไม่ประพฤติผิดศีลข้อใดเลย
16.3
     
   

                    3. ความเห็นต่อการประพฤติผิดศีล 5 ในข้อที่เห็นว่าจะเป็นการสร้างปัญหา
                        ให้สังคมมากที่สุด

 
ร้อยละ
การประพฤติผิดศีลข้อ 5 ดื่มสุราและของมึนเมา
32.9
การประพฤติผิดศีลข้อ 3 ประพฤติผิดในกาม
28.2
การประพฤติผิดศีลข้อ 2 ลักทรัพย์
22.2
การประพฤติผิดศีลข้อ 4 พูดปด
12.2
การประพฤติผิดศีลข้อ 1 ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
4.5

                    จากข้อมูลเบื้องต้นเรื่องการประพฤติผิดศีล 5 ในรอบ 30 วันที่ผ่านมาและความเห็นต่อ
          การประพฤติผิดศีล 5 ในข้อที่เห็นว่าจะเป็นการสร้างปัญหาให้สังคมมากที่สุด   เมื่อพิจารณา
         ข้อมูลเชิงลึกในแง่อายุของกลุ่มตัวอย่างที่ประพฤติผิดศีลข้อ 5  เรื่องการดื่มสุราและของมึนเมา
         พบว่า ร้อยละ 44.8 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 36-45 ปี ประพฤติผิดศีลข้อ 5 มากที่สุด
         รองลงมาคือกลุ่มอายุ 18-25 ปี, กลุ่มอายุ 26-35 ปี และกลุ่มอายุ 46 ปีขึ้นไป เป็นจำนวน
         ร้อยละ 40.5, ร้อยละ 39.3 และร้อยละ 28.0 ตามลำดับ

                    ขณะที่เรื่องการประพฤติผิดในกามพบว่า ร้อยละ 13.4 ของกลุ่มตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง
         18-25 ปี ประพฤติผิดศีลข้อ 3 มากที่สุด รองลงมาคือร้อยละ 12.9 ของกลุ่มอายุ 26-35 ปี,
         ร้อยละ 9.5 ของกลุ่มอายุ 36-45 ปีและร้อยละ 5.7 ของกลุ่มอายุ 46 ปีขึ้นไปที่มีพฤติกรรม
         ประพฤติผิดศีลข้อ 3 จากข้อมูลดังกล่าวอาจกล่าวได้ว่าวัยรุ่นและเยาวชนมีแนวโน้มกระทำผิดศีล
         ข้อที่ 3 และข้อที่ 5 มากกว่าหรือเท่าๆกับผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและวัยผู้ใหญ่ อันอาจเป็นสาเหตุที่ก่อ
         ให้เกิดปัญหาทางสังคมได้

   
   

                    4.สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ทำบุญตักบาตร
47.0
รักษาศีล 5
30.9
ให้ทานและบริจาคสิ่งของ
18.5
สวดมนต์และนั่งสมาธิ
9.3
เข้าวัดฟังธรรม ทำบุญ
8.8
อื่นๆ อาทิ ทำสังฆทาน เวียนเทียน และหล่อเทียนพรรษา
4.8
   
   

                    5. เมื่อถามถึงการรับรู้หรือรับทราบถึงข่าวสารการรณรงค์ให้รักษาศีลหรือ
                        โครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับ
เทศกาลเข้าพรรษาจากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่ได้รับทราบ
52.6
รับทราบ
47.4


                        โดยในจำนวนร้อยละ 47.4 ของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่าทราบข่าวสารการรณรงค์
                 ของโครงการ
ต่างๆสามารถระบุถึงโครงการที่จดจำได้ ดังนี้

 
ร้อยละ
โครงการรณรงค์ให้งดดื่มสุราในช่วงเข้าพรรษา
23.6
โครงการอื่นๆ อาทิ รักษาศีล และงดอบายมุข
9.2
ไม่สามารถระบุโครงการได้
14.6
   
   

                    6. ความคิดเห็นต่อผลการดำเนินโครงการรณรงค์เพื่องดการดื่มสุราในช่วง
                        เข้าพรรษาของปีที่ผ่านมา
 จากจำนวนของกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 43.0
                        ที่ระบุว่าดื่มสุรา
อยู่ก่อนเข้าพรรษา พบว่า

 
ร้อยละ
ดื่มน้อยลงตลอดช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา
16.4
งดการดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา
10.4
ยังคงดื่มในปริมาณเท่าเดิมตลอดช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมา
10.1
งดการดื่มตลอดช่วงเข้าพรรษาที่ผ่านมาและต่อเนื่องถึงปัจจุบัน
4.0
อื่นๆ อาทิ ดื่มเฉพาะเวลาเข้าสังคม ไม่แน่นอน
2.1
   
   

                    7. เมื่อถามถึงบุคคลในคณะรัฐบาลชุดปัจจุบันที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสมควรได้รับ
                        การยกย่องให้เป็น
แบบอย่างในการประพฤติตนได้เหมาะสมในการรักษาศีล 5
                        มากที่สุด
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์    นายกรัฐมนตรี
60.3
เห็นว่าไม่มีผู้ใดเหมาะสม
34.1
คุณหญิงไขศรี    ศรีอรุณ        รมว.กระทรวงวัฒนธรรม
2.3
นายวิจิตร           ศรีสอ้าน       รมว. กระทรวงศึกษาธิการ
1.1
อื่นๆ ได้แก่ นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์  น.พ.มงคง  ณ สงขลา  นายไพบูลย์  วัฒนศิริธรรม
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ และนายสุวิทย์ ยอดมณี
2.2
   
   

                    8. เมื่อถามความเห็นของกลุ่มตัวอย่างถึงศีลหรือหลักธรรมข้อใดที่อยากให้
                        ผู้บริหารประเทศยึดถือ ปฏิบัติและนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองในปัจจุบัน
                        มากที่สุด พบว่า

 
ร้อยละ
ศีลข้อที่ 4    ละเว้นการพูดปด พูดไม่ตรงความจริง
58.8
ศีลข้อที่  2      ละเว้นการลักทรัพย์หรือเบียดบังเอาทรัพย์ที่ไม่ใช่ของตน
15.1
ควรยึดหลักของศีล 5 ให้ครบทุกข้อ
10.7
ศีลข้อที่  5      ละเว้นการดื่มสุราและของมึนเมา
6.3
ศีลข้อที่  3      ละเว้นการประพฤติผิดในกาม
4.5
อื่นๆ ได้แก่ ศีล 8 และหลักพรหมวิหาร 4 (ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา)
2.9
ศีลข้อที่  1       ละเว้นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
1.7
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความคิดเห็นของพุทธศาสนิกชน เกี่ยวกับทัศนคติและพฤติกรรมที่มีต่อการรักษาศีล 5   ในช่วง
วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและความคิดเห็นต่อโครงการรณรงค์ต่างๆ ที่มีในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ให้สาธารณชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “พุทธศาสนิกชนกับการรักษาศีล 5 ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา” ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 30 เขต จาก 50 เขต  ของ
กรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน คลองสามวา ดอนเมือง
ดินแดง ดุสิต ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางพลัด บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ
พญาไท พระนคร มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์
สาทร หนองแขม และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และ
ประชากรเป้าหมาย ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,140 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 51.2 และเพศหญิงร้อยละ 48.8

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 13 - 17 กรกฎาคม 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 25 กรกฎาคม 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
584
51.2
             หญิง
556
48.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
365
32.0
             26 - 35 ปี
379
33.2
             36 - 45 ปี
221
19.4
             46 ปีขึ้นไป
175
15.4
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
493
43.2
             ปริญญาตรี
579
50.8
             สูงกว่าปริญญาตรี
68
6.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
86
7.5
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
352
30.9
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
266
23.3
             รับจ้างทั่วไป
191
16.8
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
78
6.8
             อื่นๆ อาทิ นิสิต นักศึกษา อาชีพอิสระ เกษตรกร ฯลฯ
167
14.7
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776