หัวข้อ “ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในสายตาประชาชน”
   

       ด้วยในวันเสาร์ที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา เป็นวันลงประชามติเพื่อ “เห็นชอบ” หรือ “ไม่เห็นชอบ” ร่างรัฐธรรมนูญ
ปี 2550   ซึ่งถือว่าเป็นการลงประชามติรัฐธรรมนูญครั้งแรกของคนไทย   ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์  สถาบันวิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในสายตาประชาชน”
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ
ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 1,095 คน เมื่อวันที่ 25-30 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่าได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ฉบับลงประชามติ
                        (ปกสีเหลือง) หรือยัง พบว่า

 
ร้อยละ
ยังไม่ได้อ่าน
         (เพราะ ยังไม่มีเวลาอ่าน เพิ่งได้รับหรือยังไม่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่อยากอ่าน
และไม่สนใจอ่าน)
62.6
ได้อ่านแล้ว

37.4


                        โดยในจำนวนผู้ที่ตอบว่าได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ฉบับลงประชามติ
(ปกสีเหลือง) ระบุว่า

 
ร้อยละ
ไม่เข้าใจในเนื้อหาและสาระของร่างรัฐธรรมนูญ
         (โดยระบุว่าไม่เข้าใจเลยร้อยละ 3.5 และไม่ค่อยเข้าใจร้อยละ 15.8)
19.3
เข้าใจในเนื้อหาและสาระของร่างรัฐธรรมนูญ
        
(โดยระบุว่ามีความเข้าใจมากร้อยละ 1.2 และค่อนข้างเข้าใจร้อยละ 16.9)

18.1

     
   

                    2. ประเด็นที่ เห็นด้วย มากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 คือ
                        (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ
32.8
ไม่ระบุ
26.2
สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค บทบาทและหน้าที่ของประชาชน
11.9
ไม่มีประเด็นที่เห็นด้วย
7.8
การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและตรวจสอบทรัพย์สิน
4.1
คุณสมบัติ การเลือกตั้ง สส. และ สว. ที่มาของนายกฯ
3.8
สิทธิประโยชน์บริการพื้นฐานของรัฐ
2.2
การบริหารราชการแผ่นดิน
2.0
เห็นด้วยทุกประเด็น
1.7
อื่นๆ อาทิ กระบวนการยุติธรรม ศาสนา สิทธิเสรีภาพและ กระบวนการควบคุมดูแลสื่อ
7.5
     
   

                    3. ประเด็นที่ ไม่เห็นด้วย มากที่สุดในร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 คือ
                        (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ
33.6
ไม่ระบุ
31.7
ไม่มีประเด็นที่ไม่เห็นด้วย
10.0
คุณสมบัติ การเลือกตั้ง สส. และ สว. ที่มาของนายกฯ
6.0
ศาสนา
5.5
การบริหารราชการแผ่นดิน
2.2
สิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค บทบาทและหน้าที่ของประชาชน
2.0
สิทธิเสรีภาพและกระบวนการควบคุมดูแลสื่อ
1.4
การป้องกัน ปราบปรามการทุจริตและตรวจสอบทรัพย์สิน
1.2
ไม่เห็นด้วยทุกประเด็น
1.0
นิรโทษกรรม
0.6
สิทธิประโยชน์บริการพื้นฐานของรัฐ
0.6
อื่นๆ อาทิ อาทิ กระบวนการยุติธรรม สิทธิของเจ้าหน้าที่รัฐ
4.2
   
   

                    4. เมื่อถามความเห็นกลุ่มตัวอย่างถึงการได้รับทราบข้อมูลข่าวสารหรือการประชาสัมพันธ์
                        เกี่ยวกับการลง ประชามติว่าเพียงพอหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เพียงพอ
58.8
เพียงพอ
41.2

                         จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ ยังขาดความเข้าใจใน
ประเด็นและสาระสำคัญ ของร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งจะเห็นได้จากการไม่สามารถระบุถึงประเด็น
สำคัญในร่างรัฐธรรมนูญ อันเป็นข้อมูลสำหรับใช้ประกอบการตัดสินใจว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยใน
ประเด็นใด จากผลสำรวจกลุ่มตัวอย่างจึงไม่ทราบหรือมีความไม่แน่ใจในการระบุประเด็นที่คิดว่า
เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยได้ถึง ร้อยละ 32.8 และร้อยละ 33.6 ตามลำดับ
                         ในขณะที่เมื่อพิจารณาข้อมูลการศึกษารายละเอียดร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ฉบับ
ลงประชามติ (ปกสีเหลือง) ของกลุ่มตัวอย่างก็พบว่าร้อยละ 62.6 ยังไม่ได้อ่านหรือศึกษาร่างดังกล่าว
โดยมีประชากรในกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 18.1 ของผู้ที่ระบุว่าได้อ่านหรือศึกษาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
มีความเข้าใจในเนื้อหาและสาระของร่างรัฐธรรมนูญ อีกทั้งมีเพียง ร้อยละ 41.2 ที่ระบุว่าได้รับทราบ
ข้อมูลข่าวสารหรือการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการลงประชามติอย่างเพียงพอ จึงอาจเป็นสาเหตุของ
การขาดความเข้าใจในร่างรัฐธรรมนูญได้
   
   

                    5. มื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่าจะไปใช้สิทธิลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550
                        ในวันที่ 19 สิงหาคม 2550 นี้ หรือไม่ ผลปรากฏว่า

 
ร้อยละ
จะไปลงประชามติ
       (เพราะ เป็นหน้าที่ ต้องการรักษาสิทธิ ต้องการให้ปัญหาต่างๆ ยุติ และอยากให้มี
การเลือกตั้ง)
60.4
จะไม่ไปลงประชามติ
         (เพราะ เบื่อหน่าย ติดธุระ ไม่สะดวก และหยุดงานไม่ได้)
8.4
ยังไม่ตัดสินใจ
31.2
   
   

                    6. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม สำหรับการออกเสียงลงประชามติว่าจะ
                        “เห็นชอบ” ร่าง รัฐธรรมนูญปี 2550 หรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นชอบ
       (เพราะ ต้องการให้มีการเลือกตั้ง เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญปี 50 และบ้านเมือง
จะได้สงบ)
34.8
ไม่เห็นชอบ
         (เพราะ ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหาร และ
ต้องการใช้รัฐธรรมนูญฉบับเดิม)
10.0
ยังไม่ได้ตัดสินใจ
55.2
   
   

                    7. เมื่อถามความเห็นจากกลุ่มตัวอย่างว่าร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550    จะผ่าน
                        การลงประชามติหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
คิดว่าผ่าน
31.2
คิดว่าไม่ผ่าน
10.0
ไม่แน่ใจ
58.8
   
   

                    8. ท่านคิดว่าควรมีผู้รับผิดชอบหรือไม่หากร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านการลงประชามติ

 
ร้อยละ
ควรต้องมีผู้รับผิดชอบ
65.4
ไม่ควรต้องมีผู้รับผิดชอบ
34.6

                        โดยกลุ่มที่ตอบว่า ควรต้องมีผู้รับผิดชอบ หากร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ไม่ผ่าน
การลงประชามติ ได้ระบุผู้ที่ควรเป็นผู้รับผิดชอบ คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
47.1
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)
36.0
คณะรัฐบาล
29.3
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)
8.1
คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
6.3
อื่นๆ อาทิ ทุกฝ่ายควรร่วมมีส่วนรับผิดชอบ และประชาชนทุกคน
12.6

                        ความเห็นต่อการที่ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผ่านการลงประชามติ ควรหาทางออกของ
ปัญหาอย่างไร

 
ร้อยละ
กลับไปใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 2540
63.4
กลับไปใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวของ คมช.
20.8
อื่นๆ อาทิ แก้ไขบางส่วนจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 หรือ 50 ให้ประชาชนเป็นผู้เลือก
ว่าจะใช้ฉบับใด และไม่แน่ใจ
15.8
     
   

                    9. เมื่อถามความเห็นถึงสถานการณ์บ้านเมืองหลังการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว
                        คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่แน่ใจ
38.4
คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
35.7
คิดว่าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
18.6
คิดว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
7.3
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการรับรู้และความเข้าใจในการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี 2550  ให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชามติรัฐธรรมนูญ ปี 50 ในสายตาประชาชน” ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลาย
ขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 22 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร
ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสามวา ดอนเมือง ดินแดง บางขุนเทียน บางเขน
บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว สวนหลวง
สาทร  หนองแขม หลักสี่ ปริมณฑล 3 จังหวัดและจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่
สงขลา และชลบุรี จากนั้นสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,095 คน 
เป็นเพศชายร้อยละ 52.2 และเพศหญิงร้อยละ 47.8

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 25 - 30 กรกฎาคม 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 5 สิงหาคม 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
572
52.2
             หญิง
523
47.8
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
313
28.6
             26 - 35 ปี
352
32.1
             36 - 45 ปี
247
22.6
             46 ปีขึ้นไป
183
16.7
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
440
40.2
             ปริญญาตรี
574
52.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
81
7.4
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
126
11.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
187
17.1
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
308
28.1
             รับจ้างทั่วไป
174
15.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
72
6.6
             เกษตรกร ประมง
8
0.7
             นิสิต นักศึกษา
183
16.7
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ฯลฯ
37
3.4
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776