หัวข้อ “ทิศทางการเมืองไทย หลังกำหนดวันเลือกตั้ง”
   

       ภายหลังเสร็จสิ้นการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 โดยที่ผลการลงประชามติเสียงส่วนใหญ่ของ
ประชาชนได้ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวและรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 สิงหาคม 2550
ที่ผ่านมา รัฐบาลจึงเดินหน้าเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปขึ้นโดยประกาศให้วันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นวันเลือกตั้ง
และเป็นที่มาของความเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรคการเมืองและกลุ่มการเมืองต่างๆ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ทิศทางการเมืองไทย
หลังกำหนดวันเลือกตั้ง
” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนที่ติดตามข่าวการเมืองในเขตกรุงเทพมหานคร   ปริมณฑล
และหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี จำนวน 1,199 คน เมื่อวันที่
29 - 31 สิงหาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างว่าสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองเรื่องใดมากที่สุด
                        หลังการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พบว่า

 
ร้อยละ
การจัดการเลือกตั้ง
37.6
การจับกลุ่มและรวมกลุ่มกันของนักการเมือง

22.7

การจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่
20.3
แนวนโยบายของพรรคการเมืองต่างๆ
17.6
อื่นๆ อาทิ เช่น ข่าวการเล่นการเมืองของ พล.อ.สนธิ การแต่งตั้ง ผบ.ทบ.
1.8
     
   

                    2. เมื่อสอบถามถึงความต้องการให้พรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมืองใด เป็นแกนนำ
                        ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่มากที่สุด พบว่า

 
ร้อยละ
พรรคประชาธิปัตย์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หน.พรรค)
43.0
พรรคพลังประชาชน (นายสมัคร สุนทรเวช หน.พรรค)
20.7
กลุ่มรวมใจไทย (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หน.กลุ่ม)
7.7
พรรคชาติไทย (นายบรรหาร ศิลปอาชา หน.พรรค)
7.6
กลุ่มแนวร่วมสมานฉันท์ (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ หน.กลุ่ม)
1.6
พรรคมหาชน (พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ หน.พรรค)
1.3
กลุ่มมัชฌิมา (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน หน.กลุ่ม)
1.3
พรรคประชาราช (นายเสนาะ เทียนทอง หน.พรรค)
1.2
กลุ่มกรุงเทพ 50 (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ หน.กลุ่ม)
0.3
อื่นๆ อาทิ ต้องการพรรคหรือนักการเมืองหน้าใหม่ ยังไม่รู้จะเลือกใคร
15.3
     
   

                    3. เมื่อถามความคิดเห็นถึงการที่หัวหน้าพรรคพลังประชาชนระบุว่าตนเป็น นอมินี
                        (ตัวแทน) ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่าเห็นด้วยหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
       (เพราะไม่เป็นตัวของตัวเอง ขาดความเป็นผู้นำ ไม่ชอบอดีตนายกฯ แสดงถึง
การมีนายทุนหนุนหลัง)
61.3
เห็นด้วย
         (เพราะ เห็นว่าชัดเจนและกล้าเปิดเผย ประชาชนจะได้ทราบและตัดสินใจ
ได้ถูกต้อง)
38.7
   
   

                    4. เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างในภาพรวมว่าการประกาศตัวเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของ
                        อดีตนายกรัฐมนตรี  พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร จะมีผลให้เลือก สส. หรือ
                        พรรคพลังประชาชนในการเลือกตั้งครั้งต่อไปหรือไม่

 
ร้อยละ
ไม่มีผล
       (เพราะ จะตัดสินจากผลงานและนโยบายของพรรค มีคำตอบว่าจะเลือกหรือ
ไม่เลือกอยู่แล้ว)
42.2
มีผลให้ไม่เลือก
         (เพราะ ไม่ชอบอดีตนายกฯ เหมือนเลือกกลุ่มอำนาจเก่า คิดว่าแทนกันไม่ได้)
34.9
มีผลให้เลือก
         (เพราะ ชื่นชอบอดีตนายกฯ เป็นการให้โอกาสพรรคใหม่)
22.9
   
   

                    5. เมื่อถามถึงการไปใช้สิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา (2 เมษายน 2549)
                        ว่าได้ลงคะแนนเสียงเลือกพรรคไทยรักไทยหรือไม่ ปรากฏว่า

 
ร้อยละ
เลือก
39.1
ไม่ได้เลือก
34.9
ใช้สิทธิงดออกเสียง
15.0
ไม่ได้ไปใช้สิทธิ
11.0

                       โดยเมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าเลือกพรรคไทยรักไทย
ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา จำนวนร้อยละ 39.1 ว่าการที่หัวหน้าพรรคพลังประชาชนประกาศ
ตัวเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ  ชินวัตร จะมีผลต่อการเลือก
พรรคพลังประชาชนหรือไม่  พบว่า

 
ร้อยละ
มีผลให้เลือก
17.1
ไม่มีผล
16.5
มีผลให้ไม่เลือก
5.5

                        ในขณะที่ผลการพิจารณาข้อมูลเชิงลึกของกลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่าไม่ได้เลือกพรรค
ไทยรักไทย ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมาจำนวนร้อยละ 34.9 ต่อคำถามว่าจะเลือกพรรคพลังประชาชน
ที่หัวหน้าพรรคประกาศตัวเป็นนอมินี (ตัวแทน) ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
หรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
มีผลให้ไม่เลือก
20.1
ไม่มีผล
12.0
มีผลให้ไม่เลือก
2.8
   
   

                    6. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างถึงสถานการณ์ทางการเมืองภายหลังคณะกรรมการ
                        การเลือกตั้ง (กกต.) กำหนดวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นวันที่ 23 ธันวาคม 2550
                        ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด

 
ร้อยละ
คิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะดีขึ้น
40.6
ไม่แน่ใจ
33.2
คิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง
20.9
คิดว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะแย่ลง
5.3
   
   

                    7. เมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุดปัจจุบัน จะสามารถ
                        จัดการเลือกตั้งให้มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ได้หรือไม่  พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่แน่ใจ
39.8
เชื่อว่าทำได้
34.1
เชื่อว่าทำไม่ได้
26.1
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนต่อทิศทางการเมืองไทย ภายหลังการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ
ฉบับปี 2550 ให้สาธารณชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

        การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ทิศทางการเมืองไทย หลังกำหนดวันเลือกตั้ง” ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 23 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขต
ชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา บางกอกน้อย บางกะปิ 
บางเขน บางคอแหลม บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระนคร มีนบุรี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง สาทร 
สายไหม หนองแขม หลักสี่ ปริมณฑล 3 จังหวัดและจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่ในแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่
สงขลา และชลบุรี จากนั้นสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไปที่ระบุว่าติดตามข่าวการเมือง ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 1,199 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 52.4 และเพศหญิงร้อยละ 47.6

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  3%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 29 - 31 สิงหาคม 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 4 กันยายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
628
52.4
             หญิง
571
47.6
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
295
24.6
             26 - 35 ปี
405
33.8
             36 - 45 ปี
282
23.5
             46 ปีขึ้นไป
217
18.1
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
430
35.9
             ปริญญาตรี
656
54.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
113
9.4
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
202
16.8
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
215
17.9
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
328
27.4
             รับจ้างทั่วไป
167
13.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
63
5.3
             เกษตรกร ประมง
16
1.3
             นิสิต นักศึกษา
167
13.9
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ฯลฯ
41
3.5
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776