หัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับการออกกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ ”
(เฉพาะลูกหนี้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน)
   

       จากข่าวความเดือดร้อนของประชาชนที่ปรากฏทางหน้าหนังสือพิมพ์และสื่อโทรทัศน์ ในเรื่องปัญหาหนี้สินและลุกลาม
เป็นปัญหาการติดตามทวงหนี้ ที่อาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ลูกหนี้   ตลอดจนถึง
การที่องค์กรด้านการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและหน่วยงานภาครัฐ อาทิคณะกรรมาธิการการคลัง และธนาคาร
แห่งประเทศไทย   เตรียมกำหนดเกณฑ์เพื่อเป็นกรอบในการพิทักษ์สิทธิลูกหนี้ หรือผลักดันออกเป็นกฎหมายคุ้มครอง
ลูกหนี้อยู่ในขณะนี้นั้น ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการออกกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้” โดยเก็บข้อมูล จากประชาชน
ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น 954 คน เมื่อวันที่ 7 - 11 กันยายนที่ผ่านมา
สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการรับทราบข่าวการเสนอให้มีการออกกฎหมายเพื่อ
                        คุ้มครองสิทธิลูกหนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
ราบ
56.3
ไม่ทราบ
43.7
     
   

                    2. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อข่าวที่ปรากฏเกี่ยวกับการติดตามทวงหนี้โดยการใช้
                        ถ้อยคำรุนแรงหรืออาจเข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของลูกหนี้ด้วยวิธีการต่างๆ

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
             (เพราะ เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล ทำเกินกว่าเหตุ เป็นการกดดันและ
ควรให้เป็นไปตามกฎหมาย)
52.1
เห็นด้วย
             (เพราะ เกิดจากการไม่ชำระหนี้ ลูกหนี้เป็นผู้ก่อหนี้จึงควรต้องรับผิดชอบ)
11.2
ไม่มีความเห็น
36.7
     
   

                    3. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดเคยถูกติดตามทวงถามให้ชำระหนี้
                        บัตรเครดิตจากสถาบันการเงินหรือผู้ออกบัตรหรือไม่ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เคย
56.0
เคย
44.0

                        โดยเมื่อพิจารณาข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เคยถูกสถาบันการเงินหรือผู้ออกบัตรติดตาม
         ทวงถามให้ชำระบัตรเครดิต ร้อยละ 44.0 พบว่า
 
ร้อยละ
เคยถูกทวงหนี้ในลักษณะที่เข้าข่ายการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือก่อให้เกิด
ความเดือดร้อน
39.6
ไม่เคยถูกทวงหนี้ที่เป็นการละเมิดสิทธิฯ
4.4

                       โดยลักษณะของการละเมิดสิทธิฯ ที่พบ (จากกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.6 ที่ระบุว่า
         ถูกละเมิดสิทธิฯ) คือ
 
ร้อยละ
พูดจาไม่สุภาพ
12.3
คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในอัตราที่สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด
9.7
ถูกข่มขู่หรือถูกกรรโชก
7.4
เปิดเผยข้อมูลให้อับอาย
5.3
ส่งคนติดตาม
4.9
   
   

                    4. ช่องทางหรือวิธีการที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าถูกใช้ในการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้คือ                         (ตอบได้มากกว่า 1 คำตอบ)

 
ร้อยละ
โทรศัพท์
69.4
จดหมาย
59.0
ส่งคนติดตามที่บ้านหรือที่ทำงาน
22.9
โทรสาร
6.1
อื่นๆ อาทิ แจ้งหัวหน้างาน คนใกล้ชิด
4.8
   
   

                    5. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการที่หากภาครัฐจะพิจารณาเพื่อออกกฎหมาย
                        คุ้มครองลูกหนี้ เพื่อคุ้มครองสิทธิและจัดระเบียบการทวงหนี้  พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
             (เพราะ
เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของประชาชน จะได้เป็นกรอบสำหรับ
ควบคุมการทวงหนี้และประชาชนจะได้ไม่ถูกเอาเปรียบ)
89.1
ไม่เห็นด้วย
             (เพราะ เห็นว่าเป็นเรื่องไม่จำเป็น และไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาการเป็นหนี้
ของประชาชน)
10.9
   
   

                    6. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อสิ่งที่ต้องการให้ระบุในกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้
                        มากที่สุด พบว่า

 
ร้อยละ
ต้องการให้ควบคุมการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและดอกเบี้ยให้เป็นธรรม
45.0
ต้องการให้ควบคุมไม่ให้มีการทวงหนี้ที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
36.5
ต้องการให้มีการรักษาข้อมูลของลูกหนี้
15.9
อื่นๆ อาทิ ลดดอกเบี้ย การถอดชื่อลูกหนี้ออกจากข้อมูลเครดิตบูโร
2.6
   
   

                    7. ความเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อทางออกหรือแนวทางในการแก้ปัญหาการเป็นหนี้ของ
                        คนไทยให้ได้ผล

 
ร้อยละ
ควรรู้จักวางแผนใช้จ่าย ใช้จ่ายอย่างพอประมาณและรู้จักประมาณตน
48.3
ภาครัฐควรเร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น
33.9
สถาบันการเงินควรกำหนดเกณฑ์การกู้ให้กู้ยากขึ้น
15.9
อื่นๆ อาทิ ส่งเสริมการออม และปลูกฝังค่านิยมประหยัด
1.9
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อนจากการถูกติดตาม ทวงหนี้ที่เข้าข่าย
การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อน และความเห็นต่อการออกกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้ให้สาธารณชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เหมาะสมต่อไป

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

       การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไรกับการออกกฎหมายคุ้มครองลูกหนี้” ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 27 เขต จาก 50 เขตของ
กรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองสามวา จตุจักร ดินแดง ดุสิต ทวีวัฒนา
ทุ่งครุ ธนบุรี บางกะปิ บางเขน บางแค บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา
ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร หนองแขม บางกอกใหญ่ และปริมณฑล 3 จังหวัด
ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 954 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.7 และเพศหญิงร้อยละ 52.3

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 7 - 11 กันยายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 12 กันยายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
455
47.7
             หญิง
499
52.3
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
269
28.2
             26 - 35 ปี
345
36.2
             36 - 45 ปี
233
24.4
             46 ปีขึ้นไป
107
11.2
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
323
33.9
             ปริญญาตรี
578
60.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
53
5.5
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
93
9.7
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
314
32.9
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
169
17.7
             รับจ้างทั่วไป
140
14.7
             พ่อบ้าน แม่บ้าน
54
5.7
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ นิสิต/นักศึกษา และเกษียณอายุ ฯลฯ
184
19.3
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776