หัวข้อ “การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน ”
   

       ในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติซึ่งตรงกับวันที่ 20 กันยายนของทุกปี และในโอกาสที่รัฐบาลได้กำหนดวันเลือกตั้ง
ครั้งใหม่ของประเทศขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคมนี้นั้น เยาวชนซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่มีพลังอันสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
ทั้งยังเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย จะได้มีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง
การเมืองของชาติอีกครั้งหนึ่ง ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15–25 ปี
ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและหัวเมืองใหญ่ในทุกภาคของประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และชลบุรี
จำนวน 1,728 คน เมื่อวันที่ 14 - 16 กันยายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างถึงความสนใจติดตามข่าวสารการเมืองบ่อยเพียงใด
                        ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
2 - 3 ครั้งต่อสัปดาห์
34.5
มากกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
32.5
น้อยกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์
25.0
ไม่ได้ติดตาม
8.0
     
   

                    2. ความสนใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อข่าวการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่จะมีขึ้นในวันที่
                        23 ธันวาคม 2550

 
ร้อยละ
สนใจ
81.9
ไม่สนใจ
18.1

                        โดยเหตุผลที่ไม่สนใจข่าวการเลือกตั้ง คือ ไม่เชื่อว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะทำให้
         สถานการณ์การเมืองของ ไทยดีขึ้น  การเมืองเป็นเรื่องน่าเบื่อ และเห็นว่าเป็นเรื่องไกลตัว
     
   

                    3. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อประเด็นข่าวสารที่สนใจมากที่สุดในการเลือกตั้ง
                        ครั้งใหม่ที่จะมีขึ้น คือ

 
ร้อยละ
ความเคลื่อนไหวของอดีตนายกฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
36.3
การรวมกลุ่มตั้งพรรคการเมือง
29.5
การสืบทอดอำนาจของ คมช.
20.9
การเข้ามาสังเกตการณ์การเลือกตั้งของสหภาพยุโรป (EU.)
9.5
อื่นๆ อาทิ ข่าวการจัดการเลือกตั้ง ข่าวการซื้อเสียง
3.8
   
   

                    4. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อคุณสมบัติของนักการเมืองที่ต้องการมากที่สุด
                        ในการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม 2550  พบว่า

 
ร้อยละ
ต้องการนักการเมืองที่มีความซื่อสัตย์สุจริต
49.5
ต้องการนักการเมืองที่มีความสามารถด้านการบริหาร
28.1
ต้องการนักการเมืองที่มีความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
9.7
ต้องการนักการเมืองที่มีความสมานฉันท์ ประนีประนอม
7.8
อื่นๆ อาทิ มีความเสียสละ อดทน และต่างชาติให้การยอมรับ
4.9
   
   

                    5. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อนโยบายการบริหารประเทศที่ต้องการมากที่สุด
                        จากพรรคการเมืองที่จะเข้ามาเป็นรัฐบาล

 
ร้อยละ
เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของชาติให้ดีขึ้น
37.3
แก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติ
26.0
การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น
11.9
เร่งแก้ปัญหาสังคม
9.1
เร่งปฏิรูปการศึกษา
8.9
ดำเนินนโยบายต่างๆ ตามแนวประชานิยม
3.7
อื่นๆ อาทิ แก้ปัญหาภาคการเกษตร และผลักดันเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
3.1
   
   

                    6. บุคคลที่กลุ่มตัวอย่างระบุว่าต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป คือ
                        (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
25.8
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
14.7
นายสมัคร สุนทรเวช
5.7
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์
3.4
นายชวน หลีกภัย
3.0
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน
2.0
นายบรรหาร ศิลปอาชา
1.7
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
1.2
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
1.0
นายศุภชัย พานิชภักดิ์
0.5
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
0.5
บุคคลอื่นๆ อาทิ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ นายอานันท์ ปันยารชุน พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน
8.7
ไม่มีความเห็น
16.4
ไม่แน่ใจ
5.9
ไม่มีผู้ใดเหมาะสม
5.5
ใครก็ได้ที่เป็นคนดี ซื่อสัตย์ ขยัน
4.0
   
   

                    7. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ไข
                        เป็นอันดับแรก (เป็นคำถามปลายเปิดให้ระบุคำตอบเอง)

 
ร้อยละ
ปัญหาความยากจน
34.7
ปัญหาความไม่สงบในภาคใต้
26.0
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและความสมานฉันท์ของคนในชาติ
11.3
ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น
8.9
ปัญหาสังคมและยาเสพติด
6.6
ปัญหาด้านการศึกษา
5.6
อื่นๆ อาทิ ปัญหาจราจร สิ่งแวดล้อม และการรักษากฎหมายให้เข้มงวด
3.2
ไม่ทราบ / ไม่มีความเห็น
3.7
   
   

                    8. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อความเชื่อมั่นต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ ว่าจะทำให้
                        สถานการณ์บ้านเมืองของไทยดีขึ้นหรือไม่  พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองของไทยดีขึ้น
             (โดยระบุว่าไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 16.3 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 53.2)
69.5
เชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองของไทยดีขึ้น
             (โดยระบุว่าเชื่อมั่นมากร้อยละ 5.6  และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 24.9)
30.5
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับข่าวการเมืองไทยและการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่กำลังจะมีขึ้น ในประเด็น
ต่อไปนี้
                         1. ความสนใจติดตามข่าวสารทางการเมืองในปัจจุบัน
                         2.  ความสนใจที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่กำลังจะมีขึ้น
                         3. ประเด็นข่าวสารที่สนใจมากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งใหม่
                         4. คุณสมบัติของนักการเมืองและนโยบายของพรรคการเมืองที่จะเข้ามาบริหารประเทศ
                         5. บุคคลที่ต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป
                         6. ปัญหาที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งแก้ไขเป็นอันดับแรก
                         7. ความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่ว่าจะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองของไทยดีขึ้นหรือไม่

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

       การสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “การเลือกตั้งครั้งใหม่ในสายตาเยาวชน” ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 28 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขต
ชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย คลองสาน จอมทอง ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกะปิ  บางคอแหลม
บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง ภาษีเจริญ ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา
สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ สาทร สายไหม หนองแขม หลักสี่ ปริมณฑล 3 จังหวัดและจังหวัดที่เป็นหัวเมืองใหญ่
ในแต่ละภาค ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ สงขลา และชลบุรี จากนั้นสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 15 – 25 ปี
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,728 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 45.0 และเพศหญิงร้อยละ 55.0

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  3%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 14 - 16 กันยายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 19 กันยายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
777
45.0
             หญิง
951
55.0
อายุ:
 
 
             18 - 17 ปี
283
16.4
             18 - 20 ปี
661
38.3
             21 - 23 ปี
505
29.2
             24 - 25 ปี
279
16.1
การศึกษา:
 
 
             มัธยมปลาย
292
16.9
             ปวช./ปวส./อนุปริญญา
240
13.9
             ปริญญาตรี
987
57.1
             ปริญญาโท
70
4.1
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว
139
8.0
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776