หัวข้อ “คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม ”
   

       ในโอกาสที่วันเลือกตั้งครั้งสำคัญของคนไทย จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม 2550     ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์
สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม” ขึ้น
โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งใน 16 จังหวัด    จากทั้ง 8 กลุ่มจังหวัดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
สำหรับการเลือกตั้ง ส.ส.แบบสัดส่วน ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี ชลบุรี
เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี พัทลุง และสงขลา ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน
1,507 คน เก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 16-19 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อการรับทราบกำหนดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
                        ในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคมนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
ทราบ
95.9
ไม่ทราบ
4.1
     
   

                    2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส.
                        ในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า

 
ร้อยละ
ตั้งใจว่าจะไปเลือกตั้ง
            ( ต้องการไปใช้สิทธิตามหน้าที่ เพื่อให้ได้คนดีมาปกครองบ้านเมือง และกลัว
ถูกตัดสิทธิ์ทางการ เมือง ฯลฯ )
92.4
ตั้งใจว่าจะไม่ไปเลือกตั้ง
            ( เบื่อการเมืองและนักการเมือง ติดธุระ ไม่สะดวกในการเดินทาง และไม่มี
ผู้สมัครที่ชอบ ฯลฯ )
5.6
ยังไม่แน่ใจ
2.0
     
   

                    3. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อสอบถามว่าขณะนี้มีผู้สมัคร สส. ที่จะเลือก
                        อยู่ในใจแล้วหรือยัง  พบว่า

 
ร้อยละ
มีแล้ว
51.4
ยังไม่มี
48.6
   
   

                    4. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อปัจจัยสำคัญที่สุดที่ใช้พิจารณาเลือกผู้สมัคร
                        สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ คือ

 
ร้อยละ
ดูนโยบายและโครงการที่นำเสนอ
29.6
ดูที่ตัวผู้สมัคร
23.0
ดูที่ตัวหัวหน้าพรรค
17.3
ดูจากผลงานของนักการเมืองในพรรค
17.3
ดูพรรคที่สังกัด
9.1
ดูผลตอบแทนที่ผู้สมัครเสนอให้
1.2
ดูทีมผู้สนับสนุน
1.1
อื่น ๆ  อาทิ เลือกตามคนในบ้าน
1.4
   
   

                    5. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อสอบถามถึงลักษณะการเลือก สส. แบบรวมเขต
                        เรียงเบอร์ พบว่า

 
ร้อยละ
จะเลือกผู้สมัครจากพรรคเดียวกันทั้งหมด
58.3
จะเลือกผู้สมัครเป็นรายบุคคลจากหลายพรรค
41.7
   
   

                    6. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อพรรคการเมืองที่คิดว่าจะเลือกในระบบสัดส่วน  คือ

 
ร้อยละ
พรรคประชาธิปัตย์
43.5
พรรคพลังประชาชน
24.8
พรรคชาติไทย
7.4
พรรคเพื่อแผ่นดิน
3.3
พรรคมัชฌิมาธิปไตย
1.9
พรรครวมใจไทยชาติพัฒนา
1.2
พรรคประชาราช
0.9
พรรคอื่นๆ
3.5
ยังไม่ได้ตัดสินใจ
13.5
   
   

                    7. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อหัวหน้าพรรคการเมืองที่คิดว่ามีความเหมาะสม
                        ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด  คือ

 
ร้อยละ
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
46.4
นายสมัคร สุนทรเวช
22.9
นายบรรหาร ศิลปอาชา
5.8
นายสุวิทย์ คุณกิตติ
2.9
พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร
1.7
นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์
1.2
นายเสนาะ เทียนทอง
1.2
อื่นๆ
3.9
ไม่แน่ใจ
14.0
   
   

                    8. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อสอบถามว่ามีข้าราชการ/เจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีส่วน
                        ในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงบ้างหรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่ทราบ
56.6
ไม่มี
29.7
มี
13.7

                       โดยในจำนวนที่ระบุว่ามี จำแนกออกเป็น (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
 
ร้อยละ
ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ได้แก่ อบต. อบจ.
8.6
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
6.8
ข้าราชการฝ่ายปกครอง เช่นนายอำเภอ ปลัดอำเภอ
2.8
ตำรวจ
2.0
ครู
1.6
ทหาร
1.5
   
   

                    9. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อสอบถามถึงการติดต่อเพื่อซื้อเสียงของตน
                        หรือคนใกล้ชิด พบว่า

 
ร้อยละ
ยังไม่ได้รับการติดต่อซื้อเสียง
89.3
ได้รับการติดต่อซื้อเสียงแล้ว
            (โดยการซื้อเสียงอยู่ในรูปของการให้เงินหรือสัญญาว่าจะให้เงินเป็นรายหัว
มากที่สุด ซึ่งมีทั้งจ่ายเป็นเงินสด จ่ายผ่านบัตรเติมเงิน จ่ายค่าเทอมให้บุตรหลาน และ
ผ่อนค่างวดสินค้าให้ รองลงมาคือ การสัญญาว่าจะให้ผลประโยชน์ในรูปโครงการ
แก่ชุมชนเป็นกรณีพิเศษ และการให้คูปองเพื่อใช้ซื้อของ ตามลำดับ )
10.7
   
   

                  10. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นไป
                        อย่างถูกต้อง และบริสุทธิ์ยุติธรรม พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
            ( โดยเชื่อมั่นมากร้อยละ 9.9  และค่อนข้างเชื่อมั่นร้อยละ 26.9 )
36.8
ไม่เชื่อมั่น
            ( โดยไม่เชื่อมั่นเลยร้อยละ 16.7 และไม่ค่อยเชื่อมั่นร้อยละ 46.5 )
63.2
   
   

                  11. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเมื่อสอบถามว่า ภายหลังการเลือกตั้งสถานการณ์
                        การเมืองของไทยจะเป็นอย่างไร  ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง เห็นว่า

 
คะแนน
สถานการณ์จะดีขึ้นกว่าปัจจุบัน
42.3
สถานการณ์จะแย่ลงกว่าปัจจุบัน
7.4
สถานการณ์จะไม่แตกต่างจากปัจจุบัน
50.3
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งต่อการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่
23 ธันวาคม 2550 ในประเด็นต่อไปนี้
                         1. การรับทราบกำหนดการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคมนี้
                         2. ความตั้งใจที่จะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้
                         3. ปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการพิจารณาเลือกผู้สมัคร
                         4. พรรคการเมืองทีจะเลือกจาก สส. ระบบสัดส่วน
                         5. หัวหน้าพรรคที่คิดว่าเหมาะสมที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไปมากที่สุด
                         6. ลักษณะการซื้อเสียงและการวางตัวเป็นกลางของข้าราชการในพื้นที่
                         7. ความเชื่อมั่นที่มีต่อการเลือกตั้งครั้งนี้ว่าจะเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม
                         8. ความเชื่อมั่นว่าการเลือกตั้งครั้งใหม่จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองของไทยดีขึ้น

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

       การวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “คนไทยกับการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม”  ได้ดำเนินการเก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่
16-19 พฤศจิกายน 2550 จากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม โดยสุ่มจังหวัดที่เป็นตัวแทน
ของเขตเลือกตั้ง ส.ส. แบบสัดส่วนทั้ง 8 กลุ่ม กลุ่มละ 2 จังหวัด รวม 16 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ปทุมธานี
พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ลพบุรี  ชลบุรี เชียงใหม่ พะเยา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี พัทลุง
และสงขลา จากนั้นใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่สามารถเป็นตัวแทนของประชากร
ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,507 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 45.5 และเพศหญิงร้อยละ 54.5

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  5%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 16 - 19 พฤศจิกายน 2550

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 22 พฤศจิกายน 2550
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
686
45.5
             หญิง
821
54.5
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
305
20.2
             26 - 35 ปี
512
34.0
             36 - 45 ปี
369
24.5
             46 ปีขึ้นไป
321
21.3
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
872
57.9
             ปริญญาตรี
579
38.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
56
3.7
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
236
15.7
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
226
15.0
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
261
17.3
             รับจ้างทั่วไป
279
18.5
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
95
6.3
             เกษตรกร ประมง
115
7.6
             นิสิต นักศึกษา
201
13.2
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน
94
6.4
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776