หัวข้อ “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่”
   

       ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ภาพลักษณ์
ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่
”  โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 14-23 มกราคมที่ผ่านมา
โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 20 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และ
เขตชั้นนอก ปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และจังหวัดหัวเมืองเพื่อเป็น ตัวแทน
ในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช จันทบุรี และลพบุรี จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากร
เป้าหมายอายุ 21 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,088 คน สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อความสนใจติดตามข่าวสารความเป็นไป
                        ของประเทศที่รัฐบาลเผยแพร่สู่ประชาชนในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
สนใจ
75.7
ไม่สนใจ
24.3

                       ในจำนวนที่ระบุว่า สนใจ ติดตามข่าวสารให้เหตุผลว่า (เป็นคำถามปลายเปิด
         ให้ผู้ตอบระบุเอง )
 
ร้อยละ
เพื่อให้ทราบความเป็นไปของบ้านเมือง
45.1
เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคน
16.0
เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
7.0
เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
2.4
ไว้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคนอื่นๆ
0.2
อื่นๆ
2.5
ไม่ระบุเหตุผล
2.5


                       และในจำนวนที่ระบุว่า ไม่สนใจ ติดตามข่าวสารให้เหตุผลว่า (เป็นคำถาม
         ปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง )
 
ร้อยละ
ซ้ำซาก น่าเบื่อ มีแต่ข่าวทะเลาะกัน
14.9
ไม่น่าเชื่อถือ
3.4
ไม่มีเวลา
3.4
เป็นเรื่องไกลตัว
1.2
เข้าใจยาก
0.4
ไม่ใช่เจ้าหน้าที่
0.2
อื่นๆ
0.4
ไม่ระบุเหตุผล
0.4
     
   

                    2. สำหรับภาพลักษณ์ของประเทศไทยในปัจจุบันนั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่า ประเทศไทย
                        มีภาพลักษณ์โดยรวมไม่ค่อยดีนัก โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.74 คะแนน  เมื่อพิจารณา
                        ภาพลักษณ์ในแต่ละด้าน พบว่า

 
คะแนนเฉลี่ย
ด้านการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี
5.86
ด้านการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากร
5.08
ด้านสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตย
4.96
ด้านความพร้อมในการเป็นแหล่งการค้าและการลงทุน
4.87
ด้านความสามารถในการแข่งขันกับประเทศอื่นๆ
4.80
ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4.41
ด้านความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเงิน
4.20
ด้านความมั่นคงทางการเมือง
3.45
เฉลี่ยรวม
4.74
   
   

                    3. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อจุดอ่อนในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทย
                        ที่ผ่านมา พบว่า (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศ
80.7
ขาดกลยุทธ์และวิธีการประชาสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์ทันสมัย
34.8
ขาดการสื่อสารประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องจริงจัง
54.5
ขาดการประสานเชื่อมโยงแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน
36.9
มุ่งเน้นประชาสัมพันธ์ผลงานของรัฐบาลและบุคคลในรัฐบาลมากเกินไป
35.0
ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือ
21.5
อื่นๆ ขาดงบประมาณ ขาดข้อเท็จจริงด้านบวก ฯลฯ
3.5
     
   

                    4. ความต้องการของกลุ่มตัวอย่าง ที่จะให้รัฐบาลชุดใหม่ให้ความสำคัญกับการสร้าง
                        ภาพลักษณ์ประเทศไทยมากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับภารกิจด้านอื่นๆ
                        พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
54.7
เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับกลางๆ
41.4
เห็นว่าควรให้ความสำคัญเป็นอันดับท้ายๆ
3.9
   
   

                    5. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อจุดเด่นของประเทศไทยที่รัฐบาลชุดใหม่
                        ควรนำมาใช้เป็นจุดขายในการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย พบว่า
                        (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
สถานที่ท่องเที่ยว และแหล่งบันเทิงในประเทศไทย
27.6
วัฒนธรรม ประเพณี ภาษาไทย การไหว้ ศิลปะ และวิถีชีวิต
18.5
ความพร้อมทางด้านการค้าและการลงทุน
13.8
ความมั่นคง และความสงบสุขภายในประเทศ
9.3
ความสามัคคีของคนในชาติ
5.5
อาหารไทย และสินค้าโอทอป
4.6
การยิ้ม การมีมนุษย์สัมพันธ์ และความมีน้ำใจ
4.2
คุณภาพชีวิตของประชาชน
3.7
การดำเนินชีวิตของคนไทยตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
1.8
ความเป็นประชาธิปไตย
1.3
อื่น ๆ เช่น ความทันสมัยและเทคโนโลยีต่าง ๆ สินค้าส่งออก ฯลฯ
4.2
ไม่ทราบ
2.8
ไม่มีจุดเด่นใดที่ควรนำมาเป็นจุดขายในการสร้างภาพลักษณ์ประเทศ
2.7
   
   

                    6. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อรูปแบบการสร้างภาพลักษณ์ประเทศไทย
                        ที่ต้องการให้รัฐบาลชุดใหม่ดำเนินการ พบว่า

 
ร้อยละ
แต่งตั้งผู้ที่มีความรู้ความสามารถด้านการประชาสัมพันธ์เป็นที่ปรึกษา
57.4
รัฐบาลดำเนินการเองโดยใช้บุคลากรเท่าที่มีอยู่
22.5
จ้างบริษัทประชาสัมพันธ์มืออาชีพมาดำเนินการิ
15.6
อื่นๆ เช่น ตั้งทีมเฉพาะกิจโดยระดมผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานต่างๆ มาทำงาน
ร่วมกัน และใช้วิธีการอื่นนอกเหนือจากการประชาสัมพันธ์
4.5
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

       การวิจัยเชิงสำรวจเรื่อง “ภาพลักษณ์ประเทศไทยกับทิศทางการสื่อสารของรัฐบาลชุดใหม่” ได้ดำเนินการ
เก็บข้อมูลภาคสนามเมื่อวันที่ 14-23 มกราคม 2551 โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage
Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครองจำนวน 20 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน
เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ปริมณฑล 3 จังหวัดได้แก่ จังหวัดปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และจังหวัด
หัวเมืองเพื่อเป็นตัวแทนในแต่ละภาค ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น นครศรีธรรมราช จันทบุรี และลพบุรี จากนั้นจึงสุ่ม
ถนนและประชากรเป้าหมายอายุ 21 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 2,088 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8
และเพศหญิงร้อยละ 51.2

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  3%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 14 - 23 มกราคม 2551

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 5 กุมภาพันธ์ 2551
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
1,018
48.8
             หญิง
1,070
51.2
อายุ:
 
 
             21 - 30 ปี
631
30.2
             31 - 40 ปี
571
27.3
             41 - 50 ปี
544
16.1
             51 - 60 ปี
204
9.8
             61 ปีขึ้นไป
138
6.6
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
288
13.8
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
488
23.4
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
452
21.7
             รับจ้างทั่วไป
344
16.5
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
220
10.5
             ผู้สื่อข่าว
28
1.3
             นักวิชาการ/นักวิชาชีพประชาสัมพันธ์
28
1.3
             อื่นๆ อาทิ นิสิต นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน ฯลฯ
240
11.5
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
918
44.0
             ปริญญาตรี
1,050
50.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
120
5.7
ที่อยู่อาศัย:
 
 
             กรุงเทพมหานคร
425
20.4
             ปริมณฑล
300
14.4
             ต่างจังหวัด
1,363
65.2
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776