หัวข้อ “วัยรุ่นกับเทศกาลสงกรานต์”
   

       ด้วยในวันที่ 13-15 เมษายน เป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งเป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยสืบทอดมาแต่โบราณ แต่ปัจจุบัน
ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามแต่นั้นได้ผิดเพี้ยนไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ทำให้เยาวชนคนรุ่นใหม่อาจเข้าใจเจตนา
ดั้งเดิมของเทศกาลสงกรานต์คลาดเคลื่อน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงพยายามการรณรงค์ให้มีเล่นสงกรานต์อย่างมีสติ เพื่อ
ธำรงรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของไทยเอาไว้ ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงได้
ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “วัยรุ่นกับเทศกาลสงกรานต์” โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 12-23 ปีในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,247 คน    เมื่อวันที่ 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2551 สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. กิจกรรมที่วัยรุ่นจะทำในช่วงวันหยุดสงกรานต์ คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เล่นสาดน้ำ
65.4
ทำบุญตักบาตร/สรงน้ำพระ
49.6
รดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่
46.7
พบปะสังสรรค์ในหมู่ญาติ
45.5
อื่นๆ เช่น อยู่บ้าน เดินทางท่องเที่ยวต่างจังหวัด
7.5
     
   

                    2. ความเห็นของวัยรุ่นต่อการรณรงค์ให้สงกรานต์ปีนี้เป็นสงกรานต์ปลอดเหล้า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
82.4
ไม่เห็นด้วย
7.5
ไม่มีความเห็น
10.1
   
   

                    3. ความเห็นของวัยรุ่นต่อการรณรงค์ให้สงกรานต์ปีนี้เป็นสงกรานต์ที่เน้นความเป็นไทย

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
82.5
ไม่เห็นด้วย
4.3
ไม่มีความเห็น
13.2
     
   

                    4. เรื่องที่วัยรุ่นเห็นว่าควรรณรงค์และมุ่งเน้น เพื่อให้สงกรานต์ปีนี้เป็นสงกรานต์ที่เน้น
                        ความเป็นไทยมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ควรเล่นสงกรานต์ สาดน้ำ ประแป้งอย่างมีมารยาท
27.5
ควรแต่งกายเรียบร้อย รัดกุม
22.6
เน้นประเพณีรดน้ำขอพรจากผู้ใหญ่ และสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว
15.7
เน้นการทำบุญ เข้าวัด สรงน้ำพระ ก่อเจดีย์ทราย
10.5
ให้เป็นสงกรานต์ที่ปลอดสิ่งเสพติดทุกประเภท
6.7
ให้แต่งกายแบบไทย ผ้าไทย
2.4
ไม่มีความเห็น
14.6
   
   

                    5. วัยรุ่นเห็นว่าผู้ที่มีบทบาทในการปลูกฝังความเป็นไทยให้เยาวชนมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ครอบครัว
70.2
โรงเรียน
14.8
สื่อมวลชน
10.3
หน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม รัฐบาล
1.3
อื่นๆ เช่น ตัวเยาวชนเอง
3.3
   
   

                    6. ปัญหาที่วัยรุ่นต้องการให้มีการแก้ไขมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ปีนี้ คือ

 
ร้อยละ
ปัญหาการลวนลามและล่วงเกินทางเพศ
35.1
ปัญหาจราจร/อุบัติเหตุทางรถยนต์
24.6
ปัญหาการเล่นสงกรานต์แบบรุนแรงเกินขอบเขต
19.2
ปัญหาเมาสุรา
10.4
ปัญหาทะเลาะวิวาท
8.3
ปัญหาโจรกรรม
2.4
   
   

                    7. บุคคลในแวดวงการเมืองที่วัยรุ่นต้องการรดน้ำขอพรมากที่สุด คือ
                        (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุชื่อเอง)

 
ร้อยละ
นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
19.2
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
18.0
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์
8.6
นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี
6.1
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี
4.0
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
3.2
นายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย
2.0
พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ อดีตนายกรัฐมนตรี
1.9
ไม่มีบุคคลในแวดวงการเมืองที่ต้องการรดน้ำขอพร
24.1
ไม่ตอบ
5.0
อื่นๆ อาทิ นายอานันท์ ปันยารชุน นางปวีณา หงสกุล นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน นายพิจิตต รัตตกุล
และนายจตุรนต์ ฉายแสง ฯลฯ
7.9
   
 

   
 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครในประเด็นต่อไปนี้
                        1. กิจกรรมที่จะทำในช่วงวันหยุดสงกรานต์
                        2. ความเห็นต่อการรณรงค์ให้สงกรานต์ปีนี้เป็นสงกรานต์ปลอดเหล้า
                        3. ความเห็นต่อการรณรงค์ให้สงกรานต์ปีนี้เน้นความเป็นไทย
                        4. เรื่องที่ควรรณรงค์และมุ่งเน้นมากที่สุดเพื่อให้ปีนี้เป็นสงกรานต์ที่เน้นความเป็นไทย
                        5. ผู้ที่มีบทบาทในการปลูกฝังความเป็นไทยให้กับเยาวชนมากที่สุด
                        6. ปัญหาที่ต้องการให้แก้ไขมากที่สุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์
                        7. บุคคลในแวดวงการเมืองที่อยากรดน้ำขอพรมากที่สุด

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

       การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง
จำนวน 34 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ เขตคลองเตย
คลองสามวา จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม
บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ ป้อมปราบฯ พญาไท พระโขนง พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ
ลาดกระบัง ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สะพานสูง สัมพันธวงศ์ และหลักสี่ จากนั้นสุ่มถนน และประชากร
เป้าหมายอายุ 12–23 ปี ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,247 คน เป็นเพศชายร้อยละ 45.1 และเพศหญิงร้อยละ 54.9

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error): ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  3%
                                                                        ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล: การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 30 มีนาคม - 1 เมษายน 2551

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 8 เมษายน 2551
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
562
45.1
             หญิง
685
54.9
อายุ:
 
 
             12 - 15 ปี
329
26.3
             16 - 19 ปี
482
38.7
             20 - 23 ปี
436
35.0
การศึกษา:
 
 
             กำลังศึกษาอยู่
1048
84.0
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว
199
16.0
     
   

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776