หัวข้อ “ประชาชนคิดอย่างไรกับมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ”
   

       จากการที่รัฐบาลได้ออกนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่บวกและลบเกี่ยวกับความเหมาะสมและความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาดังกล่าว
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)   จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหัวข้อ
“ประชาชนคิดอย่างไรต่อมาตรการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ”    โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ
20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 1,201 คน เมื่อวันที่ 19-20 มิถุนายน 2551
สรุปผลได้ดังนี้

     
   

                    1. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อผลกระทบจากปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
                        ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน  พบว่า

 
ร้อยละ
ได้รับผลกระทบ           
            คือ รายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้หนี้ยืมสิน และต้องเอาทรัพย์สินไปจำนำ ฯลฯ
94.9
ไม่ได้รับผลกระทบ          
            เนื่องจาก ไม่ต้องรับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้านยึดแนวทางการใช้ชีวิตแบบ
            ประหยัดอยู่แล้ว ฯลฯ
5.1
     
   

                    2. ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อมาตรการต่าง ๆ โดยรวมที่รัฐบาลออกมาเพื่อแก้ปัญหา
                        ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
60.4
ไม่เห็นด้วย
9.5
ไม่แน่ใจ
30.1

                       โดยมีรายละเอียดของความคิดเห็นในแต่ละมาตรการดังนี้

  • การแจกคูปองบัตรเติมเงินให้ผู้มีรายได้น้อยเดือนละ 300 - 400 บาท
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
47.4
ไม่เห็นด้วย
25.1
ไม่แน่ใจ
27.5
 
  • การอัดฉีดงบประมาณปี 2551 วงเงิน 1 หมื่นล้านบาทในโครงการ
    พัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (เอสเอ็มแอล) ตามแนว
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
60.7
ไม่เห็นด้วย
17.5
ไม่แน่ใจ
21.8
 
  • อนุมัติงบจัดซื้อปุ๋ยราคาถูก 304.5 ล้านบาท
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
56.3
ไม่เห็นด้วย
10.9
ไม่แน่ใจ
32.8
 
  • รื้อฟื้นโครงการเมดอินไทยแลนด์ ปลุกกระแสให้คนไทยหันมาใช้
    สินค้าไทย
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
84.3
ไม่เห็นด้วย
2.9
ไม่แน่ใจ
12.8
 
  • เพิ่มเงินค่าครองชีพชั่วคราวแก่ข้าราชการและลูกจ้างประจำ
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
77.1
ไม่เห็นด้วย
8.6
ไม่แน่ใจ
14.3
 
  • คืนที่ดินราชพัสดุ 1 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรใช้เพาะปลูกพืช
    พลังงานทดแทน
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
68.8
ไม่เห็นด้วย
6.2
ไม่แน่ใจ
25.0
 
  • โรงกลั่นลดค่าการกลั่นและกระจายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มธุรกิจ ขนส่ง
    และประมง
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
79.2
ไม่เห็นด้วย
5.7
ไม่แน่ใจ
15.1
 
  • อนุมัติงบ 2,000 ล้านบาท ติดตั้งถังก๊าซเอ็นจีวีรถโดยสารสาธารณะ
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
79.9
ไม่เห็นด้วย
6.6
ไม่แน่ใจ
13.5
 
  • ลดภาษีสรรพสามิตกระตุ้นการใช้น้ำมัน อี 85
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
63.3
ไม่เห็นด้วย
6.8
ไม่แน่ใจ
29.9
 
  • คงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ออกไปอีก 2 ปี
 
ร้อยละ
เห็นด้วย
76.4
ไม่เห็นด้วย
5.0
ไม่แน่ใจ
18.6

    

   
   

                    3. ความเชื่อมั่นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อรัฐบาลในการนำมาตรการเพื่อแก้ปัญหา
                        ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ ไปปฏิบัติให้สำเร็จผล พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อมั่น
             (โดยเชื่อมั่นมาก ร้อยละ 3.2 และค่อนข้างเชื่อมั่น ร้อยละ 14.0)
17.2
ไม่เชื่อมั่น
            
(โดยไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ 50.5 และไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 32.3)
82.8
     
   

                    4. เมื่อให้ประชาชนให้คะแนนผลงานที่ผ่านมาของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมัน
                        และค่าครองชีพ ปรากฏว่าได้คะแนน 4.10   (จากคะแนนเต็ม 10)

   
   

                    5. สิ่งที่กลุ่มตัวอย่างอยากให้รัฐบาลทำโดยเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมัน
                        และค่าครองชีพ ได้แก่

 
ร้อยละ
ควรเน้นแก้ปัญหาที่ต้นเหตุมากกว่าแก้ที่ปลายเหตุ
28.9
แก้ปัญหาโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
27.4
รณรงค์เรื่องการประหยัดให้มากขึ้น
19.7
ดึงนักวิชาการ นักวิชาชีพมาร่วมแก้ปัญหา
11.4
เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
10.6
อื่นๆ   เช่น   มุ่งพัฒนาภาคเกษตรกรรมให้สามารถเลี้ยงตัวได้ และเปลี่ยนตัว
                  นายกรัฐมนตรี ฯลฯ
2.0
   
 

 
รายละเอียดในการสำรวจ
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:
   

       เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในประเด็นต่อไปนี้
                        1. ผลกระทบที่ได้รับจากปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
                        2. ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
                        3. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการนำมาตรการต่างๆ ไปปฏิบัติให้สำเร็จผล
                        4. ความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาลในการแก้ปัญหาราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่ผ่านมา
                        5. สิ่งที่อยากให้รัฐบาลทำโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาเรื่องราคาน้ำมันและค่าครองชีพ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ:
   

       การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 20 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานครและ
ปริมณฑล ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง
จากนั้นสุ่มถนน แล้วจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,201 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 49.4 และเพศหญิงร้อยละ 50.6

  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
   

       ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%

   
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
   

       ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถาม
ปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์
ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล

 

 

 

ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 19 - 20 มิถุนายน 2551

  วันที่เผยแพร่ผลการสำรวจ: 22 มิถุนายน 2551
  สรุปผลการสำรวจ:
   
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
   
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
593
49.4
             หญิง
608
50.6
อายุ:
 
 
             20 - 30 ปี
374
31.2
             31 - 40 ปี
389
32.4
             41 - 50 ปี
262
21.8
             51 - 60 ปี
148
12.3
             61 ปีขึ้นไป
28
2.3
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
406
33.8
             ปริญญาตรี
676
56.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
119
9.9
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
246
20.5
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
251
20.9
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
397
33.1
             รับจ้างทั่วไป
153
12.7
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
73
6.1
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
81
6.7
     
   

ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)       Email: research@bu.ac.th 

   

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776