Connect to DB
  หัวข้อ : "ทางออกของวิทยุชุมชน"
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :.
 

            เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับเรื่องวิทยุชุมชนในประเด็นต่อไปนี้
               •  ความพร้อมของไทยในการจัดตั้งวิทยุชุมชน
               •  ความเชื่อมั่นต่อการที่วิทยุชุมชนจะสามารถเป็นสื่อของคนในชุมชน เพื่อคนในชุมชนอย่างแท้จริง
               •  ความนิยมรับฟังรายการจากสถานีวิทยุชุมชน
               •  ประเด็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงสำหรับการเปิดดำเนินการวิทยุชุมชนในประเทศไทย
               •  ความเห็นต่อการมีโฆษณาทางวิทยุชุมชน
               •  ความเห็นต่อการสั่งปิดวิทยุชุมชนบางสถานี
               •  แนวทางการดำเนินงานของรัฐบาลในเรื่องวิทยุชุมชนระหว่างที่ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการกิจการ
                   วิทยุกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                  การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชากรอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด
จำนวน 1,275 คน   เป็นชายร้อยละ 44.2  หญิงร้อยละ 55.8    โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
จำนวน 758 คน   และต่างจังหวัด จำนวน 517 คน   โดยแยกเป็นจังหวัดเชียงใหม่ 236 คน   สงขลา 120 คน และนครราชสีมา
161 คน
                กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.7 มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี   ร้อยละ 25.8 มีอายุระหว่าง 26 – 35 ปี    ร้อยละ 17.7 มีอายุระหว่าง
36 – 45 ปี   และร้อยละ 13.7 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป
                สำหรับระดับการศึกษาของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 14.2 มีการศึกษาระดับประถมศึกษา  ร้อยละ 27.5 มัธยมศึกษา/ปวช.
ร้อยละ 13.6 ปวส./อนุปริญญา   ร้อยละ 41.7 ปริญญาตรี   และร้อยละ 3.1 สูงกว่าปริญญาตรี
                กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.1 ประกอบอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว   ร้อยละ 13.2 รับจ้างทั่วไป   ร้อยละ 23.8 พนักงาน/ ลูกจ้าง
บริษัทเอกชน  ร้อยละ 9.7 ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ  ร้อยละ 25.3 นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา   ร้อยละ 3.9 พ่อบ้าน / แม่บ้าน/
เกษียณอาย    ร้อยละ 3.2 ว่างงาน    และร้อยละ 2.7 อาชีพอื่น ๆ
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
                                "ทางออกของวิทยุชุมชน"
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล : . 30 พฤษภาคม – 3 มิถุนายน 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 7 มิถุนายน 2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
             1. ประชาชนร้อยละ 66.3 เห็นว่าสังคมไทยพร้อมแล้วสำหรับการจัดตั้งวิทยุชุมชน ในขณะที่อีกร้อยละ 33.7
เห็นว่ายังไม่พร้อม
               2. ร้อยละ 62.8 เชื่อมั่นว่าวิทยุชุมชนจะสามารถเป็นสื่อของคนในชุมชนเพื่อคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง
ขณะที่ร้อยละ 37.3 ไม่เชื่อเช่นนั้น
              3. ประชาชนร้อยละ 66.8 ระบุว่าเคยฟังรายการจากสถานีวิทยุชุมชน ขณะที่ร้อยละ 33.2 ไม่เคยฟัง
               ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกรุงเทพและปริมณฑลกับต่างจังหวัดพบว่า
ประชาชนในต่างจังหวัด
ฟังรายการจากวิทยุชุมชนถึงร้อยละ
79.5 ขณะที่ประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลฟังรายการจากวิทยุชุมชน
เพียงร้อยละ 58.2
 
             4. สำหรับประเด็นที่น่าเป็นห่วงที่สุดสำหรับการเปิดดำเนินการวิทยุชุมชนในประเทศไทยนั้น อันดับแรก
ประชาชนเป็นห่วงว่านักการเมืองจะเข้าไปแทรกแซงกิจการของวิทยุชุมชนเพื่อใช้เป็นช่องทางการหาเสียง

(ร้อยละ 31.7)
    รองลงมาห่วงว่าคลื่นวิทยุชุมชนจะไปรบกวนคลื่นของสถานีวิทยุปกติและคลื่นวิทยุการบิน (ร้อยละ 21.0)
ห่วงว่ารายการที่นำเสนออาจไม่มีคุณภาพ (ร้อยละ 16.6)       การถูกค่ายเพลงต่างๆ เข้าไปจับจองคลื่นเพื่อผลประโยชน์ทางการค้า
(ร้อยละ 12.3)        ห่วงเรื่องความอยู่รอดของสถานี (ร้อยละ 10.7)        ห่วงเรื่องการบริหารรายได้จากค่าโฆษณา (ร้อยละ 5.7)
และอื่นๆ (ร้อยละ 1.9)
 
             5. สำหรับประเด็นเรื่องการโฆษณาในวิทยุชุมชนนั้น ร้อยละ 54.5 เห็นว่าควรมีโฆษณาในรายการของวิทยุชุมชน
ขณะที่ร้อยละ 45.6 เห็นว่าไม่ควรมีโฆษณา
 
             6. ส่วนปัญหาเรื่องการถูกคลื่นวิทยุชุมชนรบกวนในรายการที่รับฟังจากทางสถานีวิทยุปกติ พบว่า ประชาชนร้อยละ 41.1
ประสบปัญหาดังกล่าว ในขณะที่ร้อยละ 58.9 ไม่ประสบปัญหา
 
             7. ความเห็นต่อการสั่งปิดวิทยุชุมชนในบางสถานีนั้น พบว่ามีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
คือเห็นด้วยร้อยละ 49.5 และ ไม่เห็นด้วยร้อยละ 50.5
               สำหรับผู้ที่เห็นด้วยกับการสั่งปิดวิทยุชุมชนให้เหตุผลว่า วิทยุชุมชนบางสถานีไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่วางไว้จึงควรสั่ง
ปิดจนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกระเบียบ รายการของวิทยุชุมชนยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีวิทยุชุมชน
เพราะยังไม่มีคณะกรรมการขึ้นมาดูแล จำนวนสถานีวิทยุชุมชนในปัจจุบันมีมากเกินความจำเป็น และวิทยุชุมชนบางแห่งเปิดดำเนินการ
เพื่อผลประโยชน์ทางการค้าอย่างชัดเจน
               ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการสั่งปิดสถานีวิทยุชุมชนให้เหตุผลว่า รัฐบาลควรแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นไม่ใช่
การสั่งปิดสถานี เหตุผลที่รัฐบาลยกมาอ้างเพื่อสั่งปิดสถานียังอ่อนเกินไปจึงควรตรวจสอบเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน
มากกว่านี้ก่อนจะตัดสินใจสั่งปิด วิทยุชุมชนทุกสถานีล้วนเป็นช่องทางการรับรู้ข่าวสารและการแสดงออกของ
คนในชุมชน และวิทยุชุมชนเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชน
 
                
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวของประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลกับต่างจังหวัด พบว่ามี
ความคิดเห็นที่แตกต่างกันกล่าวคือ ประชาชนต่างจังหวัดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.7) เห็นด้วยกับการสั่งปิดสถานีวิทยุชุมชน ขณะที่
ประชาชนในกรุงเทพและปริมณฑลส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.1) ไม่เห็นด้วย
 
             8. เมื่อถามว่ารัฐบาลควรดำเนินการอย่างไรในระหว่างที่ยังไม่มีการตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียงและกิจการ
โทรทัศน์ (กสช.) ขึ้นมาดูแลวิทยุชุมชน ร้อยละ 44.5 เห็นว่ารัฐบาลควรสั่งปิดสถานีวิทยุชุมชนที่ดำเนินการผิดไปจาก
ระเบียบที่กำหนดไว้โดยมอบให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ตรวจสอบ
      ร้อยละ 22.7 เห็นว่าควรตั้งกรรมการอิสระจาก
ภาครัฐ เอกชน และประชาชนขึ้นมาดำเนินการเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า    ร้อยละ 18.2 เห็นว่าควรสั่งปิดเฉพาะสถานีที่คลื่นส่ง
กระจายเสียงไปรบกวนคลื่นวิทยุการบิน    ร้อยละ 10.6 เห็นว่าควรสั่งปิดสถานีวิทยุชุมชนทั้งหมดจนกว่าจะมีการตั้ง กสช.ขึ้นมา
ดูแล    ร้อยละ 3.0 เห็นว่ารัฐบาลควรอยู่เฉยๆ ไม่ต้องดำเนินการใดๆ ต่อเรื่องดังกล่าว และอื่นๆ อีกร้อยละ 1.1
 
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
 
ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์
   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
563
44.2
            หญิง
712
55.8
อายุ :
            18 – 25 ปี
545
42.7
            26 – 35 ปี
329
25.8
            36 – 45 ปี
226
17.7
            46 ปีขึ้นไป
175
13.7
กำลังศึกษา :
            ประถมศึกษา
181
14.2
            มัธยมศึกษา / ปวช.
350
27.5
            ปวส ./ อนุปริญญา
173
13.6
            ปริญญาตรี
532
41.7
            สูงกว่าปริญญาตรี
39
3.1
อาชีพ :
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
231
18.1
             รับจ้างทั่วไป
168
13.2
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
304
23.8
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
124
9.7
             นักเรียน/นิสิต/นักศึกษา
322
25.3
             พ่อบ้าน /แม่บ้าน/เกษียณอายุ
50
3.9
             ว่างงาน
41
3.2
             อื่น ๆ
35
2.7
     
   
ตารางที่ 2: ท่านคิดว่าประเทศไทยมีความพร้อมสำหรับการจัดตั้งวิทยุชุมชนหรือยัง
   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
พร้อมแล้ว
64.6
(490)
68.7
(355)
66.3
(845)
ยังไม่พร้อม
35.4
(268)
31.3
(162)
33.7
(430)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 3: ท่านเชื่อมั่นเพียงใดว่าวิทยุชุมชนจะสามารถเป็นสื่อของคนในชุมชนเพื่อคนในชุมชนได้อย่างแท้จริง

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
เชื่อมั่นมาก
9.6
(73)
11.4
(59)
10.4
(132)
ค่อนข้างเชื่อมั่น
50.9
(386)
54.5
(282)
52.4
(668)
ไม่ค่อยเชื่อมั่น
36.5
(277)
31.1
(161)
34.4
(438)
ไม่เชื่อมั่นเลย
2.9
(22)
2.9
(15)
2.9
(37)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 4: ท่านเคยฟังรายการจากสถานีวิทยุชุมชนหรือไม่

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
เคย
58.2
(441)
79.5
(411)
66.8
(852)
ไม่เคย
41.8
(317)
20.5
(106)
33.2
(423)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 5: ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดสำหรับการเปิดดำเนินการวิทยุชุมชนในประเทศไทย

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม

ถูกนักการเมืองเข้าไปแทรกแซงเพื่อใช้เป็น
ช่องทางหาเสียง

35.4
(268)
26.3
(136)
31.7
(404)

คลื่นวิทยุชุมชนไปรบกวนคลื่นของสถานี
วิทยุปกติและคลื่นวิทยุการบิน

20.8
(158)
21.3
(110)
21.0
(268)
นำเสนอรายการที่ไม่มีคุณภาพ
15.2
(115)
18.8
(97)
16.6
(212)
ถูกค่ายเพลงต่างๆเข้าไปจับจองเพื่อผลประโยชน์
ทางการค้า
13.6
(103)
10.4
(54)
12.3
(157)
ความอยู่รอดของสถานี
9.6
(73)
12.4
(64)
10.7
(137)
การบริหารรายได้จากค่าโฆษณา
3.7
(28)
8.7
(45)
5.7
(73)
อื่นๆ
1.7
(13)
2.1
(11)
1.9
(24)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 6: ท่านคิดว่าควรมีโฆษณาในรายการของสถานีวิทยุชุมชนหรือไม่

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
ควรมีโฆษณา
51.3
(389)
59.0
(305)
54.4
(694)
ไม่ควรมีโฆษณา
48.7
(369)
41.0
(212)
45.6
(581)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 7: ท่านประสบปัญหาถูกคลื่นวิทยุชุมชนรบกวนในรายการที่รับฟังจากสถานีวิทยุปกติหรือไม่

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
ประสบปัญหา
45.8
(347)
34.2
(177)
41.1
(524)
ไม่ประสบปัญหา
54.2
(411)
65.8
(340)
58.9
(751)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 8: ท่านเห็นด้วยกับการสั่งปิดวิทยุชุมชนในบางสถานี

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
เห็นด้วย
45.9
(348)
54.7
(283)
49.5
(631)
ไม่เห็นด้วย
54.1
(410)
45.3
(234)
50.5
(644)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
   

ตารางที่ 9: ท่านคิดว่ารัฐบาลควรดำเนินการเรื่องวิทยุชุมชนอย่างไร ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการ
                กิจการ วิทยุกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) มาดูแล

   
  กทม.และปริมณฑล ต่างจังหวัด เฉลี่ยรวม
สั่งปิดเฉพาะสถานีที่ดำเนินการผิดไปจากระเบียบที่กำหนดไว้
โดยมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้ตรวจสอบ
43.8
(332)
45.5
(235)
44.5
(597)
ตั้งกรรมการอิสระจากภาครัฐ เอกชน และประชาชน
ขึ้นมาดำเนินการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
24.8
(188)
19.5
(101)
22.7
(289)

สั่งปิดเฉพาะสถานีที่คลื่นส่งกระจายเสียงไปรบกวน
คลื่นวิทยุการบิน

16.8
(127)
20.3
(105)
18.2
(232)

สั่งปิดคลื่นวิทยุชุมชนทั้งหมดจนกว่า จะมีการตั้ง กสช.
ขึ้นมาดูแล

11.1
(84)
9.9
(51)
10.6
(135)
อยู่เฉยๆ ไม่ต้องดำเนินการใด ๆ
2.6
(20)
3.5
(18)
3.0
(38)
อื่น ๆ
0.9
(7)
1.4
(7)
1.1
(14)
รวม
100
(758)
100
(517)
100
(1275)
     
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( %EF%BF%BD%D2%A7%EF%BF%BD%CD%A1%EF%BF%BD%CD%A7%EF%BF%BD%D4%B7%EF%BF%BD%D8%AA%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776