Connect to DB
  หัวข้อ : "ความเห็นของเยาวชนต่อแนวคิดปิดถนนให้ซิ่ง"
  ความเป็นมา :.
                  หลังจากที่แนวความคิดของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เรื่อง
การปิดถนนให้เยาวชนได้แข่งรถซิ่งได้มีการเผยแพร่ออกสู่สาธารณชน ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้คนหลายกลุ่มในสังคม
ทั้งนักวิชาการ นักการเมืองฝ่ายค้าน และชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาการแข่งรถซิ่งถึงความถูกต้องเหมาะสมของแนวคิดดังกล่าว
ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนเพศชายในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
ที่มีส่วนเกี่ยวข้องใกล้ชิดกับปัญหาดังกล่าว เพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นอันจะเป็นแนวทางในการตัดสินใจ กำหนดวิธีการแก้ปัญหา
ดังกล่าวได้อย่างถูกต้องเหมาะสมต่อไป
  วัตถุประสงค์ของการสำรวจ :.
 

             เพื่อทราบข้อมูลและความคิดเห็นของเยาวชนเพศชายในประเด็นต่อไปนี้
                  1. ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง และเหตุผลในการเข้าร่วม
                  2. ความเห็นต่อแนวคิดที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่ง
                  3. ความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่ง
                  4. ความเชื่อมั่นว่าการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไปได้
                  5. วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                  การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเยาวชนเพศชายอายุ 15-22 ปีในสถานศึกษาทั้งสายสามัญและสายอาชีพในเขตกรุงเทพมหานคร
และปริมณฑล รวม 19 แห่ง รวมทั้งกลุ่มเยาวชนที่ไม่ได้ศึกษาแล้ว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,139 คน เป็นเยาวชนที่มีอายุ 15-17 ปี
ร้อยละ 44.0   และอายุ 18-22 ปีร้อยละ 56.0   โดยเป็นเยาวชนที่ศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.ร้อยละ 32.4   ระดับ ปวส.และ
อนุปริญญาร้อยละ 31.1   ปริญญาตรีร้อยละ 31.5   และไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 5.0
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน +- 3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม และสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้ ในเรื่อง
                               "ความเห็นของเยาวชนต่อแนวคิดปิดถนนให้ซิ่ง"
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   24 - 25 สิงหาคม 2548
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 26 สิงหาคม 2548
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  http://research.bu.ac.th/poll/poll_list.php
  ผลการสำรวจ :
 
             1. เยาวชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 36.9 ระบุว่าเคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง  โดยมีเหตุผลในการเข้าร่วมคือเพื่อความตื่นเต้นสะใจ
(ร้อยละ 43.7) เพื่อนชักชวน (ร้อยละ 21.2)   อยู่ว่างๆ ไม่มีอะไรทำ (ร้อยละ 14.5)   เพื่อโชว์ความกล้าสามารถ (ร้อยละ 10.2)   
เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์ (ร้อยละ 7.5)   เพื่อเงินรางวัลและผู้หญิง (ร้อยละ 2.9)   ในขณะที่ร้อยละ 63.1 ไม่เคยเข้าร่วม
               2. เมื่อถามว่าเห็นด้วยหรือไม่กับแนวความคิดของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนา
สังคมและความมั่นคงของมนุษย์ที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งได้ในวันและเวลาที่กำหนด พบว่า
 มีเยาวชนเห็นด้วย
ร้อยละ 41.5   ในขณะที่ เยาวชนส่วนใหญ่คือร้อยละ 58.5 ไม่เห็นด้วย
                  โดยกลุ่มที่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าเพื่อความเป็นระเบียบและควบคุมดูแลง่าย (ร้อยละ 36.9) ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน
ทั่วไป (ร้อยละ 34.7) เพิ่มทางเลือกในการทำกิจกรรมของวัยรุ่น (ร้อยละ 22.9) และสามารถขับรถซิ่งได้โดยไม่ถูกตำรวจจับ (ร้อยละ 5.5)
                  ส่วนกลุ่มที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่าไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ (ร้อยละ 30.2)   เป็นการส่งเสริมเยาวชนในทางที่ผิด (ร้อยละ 21.7)
ไม่ควรใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่งรถ (ร้อยละ 18.7)   เป็นการกระตุ้นเยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งให้หันมาสนใจ (ร้อยละ 13.8) 
สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง (ร้อยละ 11.9)   และไม่เหมาะกับยุคน้ำมันแพง (ร้อยละ 3.6)
                 
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างเยาวชนกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งกับกลุ่มที่ไม่เคยแข่ง พบว่า กลุ่มที่เคยแข่ง
รถซิ่งเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวร้อยละ 62.5    ไม่เห็นด้วยร้อยละ 37.5   ส่วนกลุ่มที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งเห็นด้วยร้อยละ 31.4
และไม่เห็นด้วยร้อยละ 68.6
               3. สำหรับความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้นั้น เยาวชนร้อยละ 43.7 ระบุว่าสนใจเข้าร่วม
โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องอยู่ไม่ไกลจากบ้านมากนัก    ขณะที่ร้อยละ 56.3 ไม่สนใจเข้าร่วม
             ทั้งนี้พบว่าเยาวชนกลุ่มที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งระบุว่าสนใจจะเข้าร่วมแข่งรถซิ่งหากมีการปิดถนนให้แข่งได้ถึงร้อยละ 28.6
โดยให้เหตุผลว่าสามารถขับซิ่งได้โดยไม่ถูกตำรวจจับ
             ในขณะที่กลุ่มซึ่งเคยแข่งรถซิ่งร้อยละ 26.9 กลับไม่สนใจเข้าร่วมโดยให้เหตุผลว่า ไม่สะใจเพราะไม่ได้หนีตำรวจ
ไม่ชอบให้ใครมาควบคุมดูแล และชอบขับซิ่งแบบฝืนกฎมากกว่า
 
             4. ส่วนความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้หรือไม่
กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คือร้อยละ 60.5 เชื่อว่าวิธีการดังกล่าวไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้   ขณะที่
ร้อยละ 39.5 เชื่อว่าแก้ได้
            
ทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะกลุ่มที่มีประสบการณ์แข่งรถซิ่งพบว่า เยาวชนกลุ่มดังกล่าวถึงร้อยละ 46.1 ที่เห็นว่าการปิดถนน
ให้แข่งรถซิ่งไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไปได้
 
             5. สำหรับวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองตามความเห็นของเยาวชนนั้น อันดับแรก
เห็นว่าควรส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ดนตรี และกีฬา (ร้อยละ 42.7)
   รองลงมาคือ
ตำรวจต้องจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างจริงจังต่อเนื่อง (ร้อยละ 17.1)   ควรจัดสถานที่ที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนให้แข่งรถ (ร้อยละ 15.7)
ลงโทษสถานหนักแก่เยาวชนผู้ฝ่าฝืน (ร้อยละ 8.4)   รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่เยาวชน (ร้อยละ 3.1)   และอื่นๆ เช่นจัดให้
ไปแข่งรถซิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ร้อยละ 1.8)
   
 
             ผลสำรวจข้างต้นชี้ให้เห็นว่าแนวความคิดปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งของนายวัฒนา เมืองสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
การพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ที่แม้ว่าจะมีเจตนาที่ดีในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้บรรเทาเบาบางลง โดยการปิดถนน
ให้เยาวชนได้มาขับรถซิ่งแข่งกันเพื่อความเป็นระเบียบและง่ายต่อการควบคุมดูแล แต่จากผลสำรวจพบว่ากลุ่มวัยรุ่นซึ่งเคยแข่งรถซิ่งถึง
ร้อยละ 46.1 เห็นว่าการปิดถนนให้เยาวชนได้แข่งรถจะไม่สามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองได้   นอกจากนี้ร้อยละ 26.9 ยังไม่สนใจ
เข้าร่วมแข่งรถตามแนวทางที่จัดให้   เนื่องจากไม่ท้าทายเพราะไม่ได้ฝืนกฎและไม่มีโอกาสได้ขับหนีตำรวจซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของ
ความมันสะใจที่ได้รับจากการแข่งรถซิ่ง   ดังนั้นเยาวชนกลุ่มนี้ย่อมไปเสาะหาถนนสายอื่นเป็นสนามแข่งต่อไป
 
             ในขณะที่กลุ่มเยาวชนซึ่งไม่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่งมาก่อนร้อยละ 28.6 กลับสนใจที่จะเข้าร่วมประลองความเร็ว
หากมีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้โดยที่ตำรวจไม่จับ
 
             นั่นเท่ากับว่าการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งน่าจะส่งผลเสียมากกว่าผลดี กล่าวคือนอกจากจะไม่สามารถแก้ไข ปัญหารถซิ่ง
กวนเมืองได้แล้ว ยังกลับขยายวงของปัญหาดังกล่าวให้แผ่กว้างออกไปสู่เยาวชนกลุ่มใหม่ๆ อีกด้วย จึงน่าที่จะต้องมีการพิจารณา
ทบทวนให้รอบคอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ
                                                             ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย
                                                 หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
   
 
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
อายุ :
            15 – 17 ปี
501
44.0
            18 – 22 ปี
638
56.0
การศึกษา :
             มัธยมศึกษา / ปวช. 369 32.4
             ปวส. / อนุปริญญา 354 31.1
             ปริญญาตรี 359 31.5
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว 57 5.0
     
 
ตารางที่ 2: ประสบการณ์ในการเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
   
  จำนวน ร้อยละ
ไม่เคยเข้าร่วม
719
63.1
เคยเข้าร่วม
420
36.9
โดยเหตุผลในการเข้าร่วมคือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)  
     เพื่อความตื่นเต้นสะใจ
43.7
     เพื่อนชักชวน
21.2
     อยู่ว่าง ๆ ไม่มีอะไรทำ
14.5
     เพื่อโชว์ความกล้าสามารถ
10.2
     เพื่อทดสอบสมรรถนะของเครื่องยนต์
7.5
     เพื่อเงินรางวัลและผู้หญิง
2.9
     
   
ตารางที่ 3: ความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่ง
   
  จำนวน ร้อยละ
เห็นด้วย เพราะ
473
41.5
     เป็นระเบียบ/ควบคุมดูแลง่าย
36.9
 
     ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไป
34.7
     เพิ่มทางเลือกในการทำกิจกรรมของวัยรุ่น
22.9
     สามารถขับรถซิ่งได้โดยไม่โดนจับ
5.5
ไม่เห็นด้วย เพราะ
666
58.5
     ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ
30.2
 
     เป็นการส่งเสริมเยาวชนในทางที่ผิด
21.7
     ไม่ควรใช้ถนนสาธารณะเป็นสนามแข่ง
18.7
     เป็นการกระตุ้นเยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่งให้หันมาสนใจ
13.8
     สร้างความเดือดร้อนให้ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง
11.9
     ไม่เหมาะกับยุคน้ำมันแพง
3.6
   
                                  เปรียบเทียบความเห็นต่อแนวความคิดที่จะปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งระหว่าง
                                 
ผู้ที่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง และผู้ที่ไม่เคยเข้าร่วมแข่งรถซิ่ง
  เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง
62.5
37.5
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง
31.4
68.6
     
   

ตารางที่ 4: ความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหาก มีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้ ตามแนวคิดของ รมว.กระทรวง
                การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

   
  จำนวน ร้อยละ
สนใจเข้าร่วม
498
43.7
ไม่สนใจเข้าร่วม
641
56.3
รวม
1139
100.0
   
                                  เปรียบเทียบความสนใจเข้าร่วมแข่งรถหาก มีการปิดถนนให้แข่งรถซิ่งได้ระหว่าง
                                 
เยาวชนกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งและไม่เคยแข่งรถซิ่ง
  เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง
73.1
26.9
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง
28.6
71.4
     
   

ตารางที่ 5: ความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมืองให้หมดไป
                ได้หรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
แก้ได้
450
39.5
แก้ไม่ได้
689
60.5
รวม
1139
100.0
   
                                  เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปิดถนนให้เยาวชนแข่งรถซิ่งว่าจะสามารถแก้ปัญหา
                                 
รถซิ่งกวนเมือง ให้หมดไปได้หรือไม่ ระหว่างกลุ่มที่เคยแข่งรถซิ่งกับไม่เคยแข่งรถซิ่ง
  แก้ได้ แก้ไม่ได้
เยาวชนที่เคยแข่งรถซิ่ง
53.9
46.1
เยาวชนที่ไม่เคยแข่งรถซิ่ง
31.1
68.9
     
   

ตารางที่ 6: วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหารถซิ่งกวนเมือง

   
  จำนวน ร้อยละ
ส่งเสริมให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เช่น ดนตรี กีฬา
486
42.7
ตำรวจต้องจับกุมผู้ฝ่าฝืนอย่างอย่างจริงจังต่อเนื่อง
195
17.1
จัดสถานที่ที่เหมาะสมเป็นสัดส่วนให้แข่งรถ
179
15.7
ลงโทษสถานหนักแก่ร้านที่รับดัดแปลงเครื่องยนต์เกินกฎหมายกำหนด
128
11.2
เพิ่มบทลงโทษแก่เยาวชนผู้ฝ่าฝืน
96
8.4
รณรงค์สร้างจิตสำนึกที่ถูกต้องแก่เยาวชน
35
3.1
อื่นๆ เช่น จัดให้ไปแข่งรถซิ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
20
1.8
รวม
1139
100.0
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( %EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%E7%B9%A2%CD%A7%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%C7%AA%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%C7%A4%D4%B4%EF%BF%BD%D4%B4%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776