Connect to DB
  หัวข้อ : "สำนึกเรื่องการประหยัดของเยาวชนไทยในยุคน้ำมันแพง"
  วัตถุประสงค์ในการสำรวจ :.
 

             เพื่อสอบถามข้อมูลความคิดเห็นของเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในประเด็นต่อไปนี้
               1. ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยต่อวัน
               2. สภาพปัญหาด้านการเงินของครอบครัวและผลกระทบที่มีต่อเยาวชน
               3. ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเอง
               4. สาเหตุของพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในหมู่เยาวชนไทย
               5. บุคคลในอาชีพที่เยาวชนเห็นว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยมากที่สุด
               6. สำนึกเกี่ยวกับการช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินของครอบครัว
               7. วิธีการที่เหมาะสมที่สุดที่จะกระตุ้นให้เยาวชนไทยใช้จ่ายอย่างประหยัด

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
                 การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเยาวชนอายุ 15-22 ปี ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1 ,223 คน เป็นชายร้อยละ 43.2 และหญิง
ร้อยละ 56.8   กลุ่มตัวอย่างกำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและ ปวช.ร้อยละ 30.5 ระดับ ปวส.และอนุปริญญาร้อยละ 4.9 ระดับปริญญาตรี
ร้อยละ 57.2 และไม่ได้ศึกษาแล้วร้อยละ 7.4
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน    5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   5 - 12 พฤษภาคม 2549
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 17 พฤษภาคม   2549
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  
  ผลการสำรวจ :
 
             1. เมื่อถามถึงค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยต่อวันพบว่า เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 54.9 มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยวันละ 101-200 บาท ขณะที่
ร้อยละ 4.0 มีค่าใช้จ่ายส่วนตัวเกินวันละ 500 บาท
 
             2. เมื่อถามถึงปัญหาด้านการเงินของครอบครัวในช่วงระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา  เยาวชนร้อยละ 46.8 ระบุว่าครอบครัวประสบปัญหาด้าน
การเงิน โดยปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบมาถึงตัวเยาวชนคือทำให้ถูกว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการใช้จ่ายมากขึ้น (ร้อยละ 23.6)   ได้รับเงินค่าใช้จ่าย
ส่วนตัวลดลง (ร้อยละ12.8)    เกิดปัญหาหนี้สินส่วนตัว (ร้อยละ10.1)    ต้องลดเลิกกิจกรรมในครอบครัว เช่นกินข้าวนอกบ้าน และท่องเที่ยวลง
(ร้อยละ8.4)    พ่อแม่มีเวลาให้น้อยลงเพราะต้องทำงานมากขึ้น (ร้อยละ 5.1)   พ่อแม่ทะเลาะกันเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน (ร้อยละ4.1)   ต้องปรับแผน
การเรียนและหาที่เรียนใหม่ (ร้อยละ3.8)   และอื่นๆ อาทิ ต้องขึ้นรถประจำทางแทนรถส่วนตัว (ร้อยละ1.9)    ในขณะที่เยาวชนร้อยละ 53.2
ระบุว่าครอบครัวไม่ประสบปัญหาด้านการเงิน
 
             3. สำหรับความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองในช่วงที่ผ่านมา เยาวชนส่วนใหญ่ร้อยละ 67.6 เห็นว่าตนเองใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
เกินไป   โดยค่าใช้จ่ายที่เห็นว่าฟุ่มเฟือยมากที่สุดคือค่าอาหารและเครื่องดื่ม (ร้อยละ 31.6)   รองลงมาคือค่าเที่ยวเตร่สังสรรค์ (ร้อยละ 26.3)
ค่าแต่งตัว (ร้อยละ 26.1)    ค่าโทรศัพท์ (ร้อยละ 25.3)    ค่าเล่นเกมส์ (ร้อยละ 22.6)   และอื่นๆ อาทิ ค่าบุหรี่ สุรา และค่าแต่งรถ (ร้อยละ 1.9) 
ในขณะที่ร้อยละ 32.4   เห็นว่าที่ผ่านมาตนเองไม่ได้ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย
 
             4. เมื่อถามถึงสาเหตุของการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย เยาวชนร้อยละ 47.6 ระบุว่าเกิดจากการไม่รู้จักหักห้ามใจตัวเอง   รองลงมาร้อยละ 32.5
ต้องการการยอมรับจากเพื่อนและสังคมรอบข้าง   ร้อยละ 29.7 ระบุว่าเกิดจากอิทธิพลของสื่อและการโฆษณา   ร้อยละ 27.0 ระบุว่าเกิดจากการ
ไม่รู้ถึงความยากลำบากในการหาเงิน   ร้อยละ 14.6 ระบุว่าเกิดจากการเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ตามใจลูกมากเกินไป    และระบุว่าเกิดจากสาเหตุอื่น
อาทิไม่รู้จักวางแผนการใช้เงิน ร้อยละ 0.6
 
             5. บุคคลในอาชีพที่เยาวชนเห็นว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยที่สุดอันดับแรกได้แก่ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ร้อยละ 46.6  
รองลงมาได้แก่ นักร้อง นักแสดง ร้อยละ 43.7   นักการเมือง ร้อยละ 6.0    นักธุรกิจ ร้อยละ 2.8    ข้าราชการ ร้อยละ 0.9    และอื่นๆ ร้อยละ 0.2
 
             6. เมื่อถามว่าที่ผ่านมาได้ทำอะไรเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินของครอบครัวบ้างหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60.5 บอกว่าอยากทำ
แต่ยังไม่รู้จะทำอะไรดี    ขณะที่ร้อยละ 28.0 ได้ลงมือทำแล้วคือทำงานพิเศษนอกเวลาเรียน และพยายามใช้จ่ายอย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น
ส่วนอีกร้อยละ 11.5 ยังไม่ได้คิดจะทำ
 
             7. ส่วนวิธีการที่เห็นว่าเหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นให้เยาวชนไทยใช้จ่ายอย่างประหยัดคือการฝึกให้เยาวชนทำงานหาเงินเองจะได้รู้
ค่าของเงิน ร้อยละ 55.0    ฝึกให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง ร้อยละ 16.8    ให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจ
พอเพียง ร้อยละ 11.0    พ่อแม่ต้องไม่ตามใจลูกมากเกินไป ร้อยละ 9.3    ผู้ใหญ่ในสังคมต้องปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง ร้อยละ 7.1    และอื่นๆ
อาทิ ให้หน่วยงานต่างๆ รับเยาวชนเข้าทำงานในช่วงปิดเทอมให้มากขึ้น และใช้การโฆษณาชักจูงใจให้ประหยัด ร้อยละ 0.7
   
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
528
43.2
            หญิง
695
56.8
การศึกษา :
             มัธยมศึกษาและ ปวช. 373 30.5
             อนุปริญญาและ ปวส. 60 4.9
             ปริญญาตรี 699 57.2
             ไม่ได้ศึกษาแล้ว 91 7.4
รวม 1,223 100.0
     
 

ตารางที่ 2: ค่าใช้จ่ายส่วนตัวเฉลี่ยต่อวัน

   
  จำนวน ร้อยละ
น้อยกว่า 100 บาท
223
18.2

101 - 200 บาท

672
54.9
201 - 300 บาท
188
15.4
301 - 400 บาท
50
4.1
401 - 500 บาท
41
3.4
มากกว่า 500 บาท
49
4.0
     
   

ตารางที่ 3: การประสบปัญหาด้านการเงินของครอบครัวในช่วงระยะ 3 เดือนที่ผ่านมา

   
  จำนวน ร้อยละ

ประสบ  โดยปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อตัวเยาวชนคือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
        -
ถูกว่ากล่าวตักเตือนเรื่องการประหยัดมากขึ้น                      ร้อยละ 23.6
        - ได้รับเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวลดลง                                       ร้อยละ 12.8
        - เกิดปัญหาหนี้สินส่วนตัว                                                  ร้อยละ 10.1
        - ต้องลด/เลิกกิจกรรมในครบอครัว เช่นกินข้าวนอกบ้าน       ร้อยละ   8.4
        - พ่อแม่มีเวลาให้น้อยลงเพราะต้องทำงานมากขึ้น                ร้อยละ   5.1
        - พ่อแม่ทะเลาะถกเถียงกันเรื่องค่าใช้จ่ายในบ้าน                   ร้อยละ   4.1
        - ต้องปรับแผนการเรียนหรือหาที่เรียนใหม่                         ร้อยละ   3.8
        - อื่น ๆ อาทิต้องขึ้นรถประจำทางแทนรถส่วนตัว                 ร้อยละ   1.9

572
46.8
ไม่ประสบ
651
53.2
     
   

ตารางที่ 4: ความคิดเห็นต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายของตนเองในช่วงที่ผ่านมา

   
  จำนวน ร้อยละ

ฟุ่มเฟือยเกินไป  โดยค่าใช้จ่ายที่คิดว่าตนเองฟุ่มเฟือยเกินไป ได้แก่
                            (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
        -
ค่าอาหารและค่าเครื่องดื่ม                                                ร้อยละ 31.6
        - ค่าเที่ยวเตร่สังสรรค์                                                        ร้อยละ 26.3
        - ค่าแต่งตัว                                                                       ร้อยละ 26.1
        - ค่าโทรศัพท์                                                                    ร้อยละ 25.3
        - ค่าเล่นเกมส์                                                                     ร้อยละ 22.6
        - อื่น ๆ อาทิค่าบุหรี่ สุรา และแต่งรถ                                    ร้อยละ   1.9

827
67.6
ไม่ฟุ่มเฟือย
396
32.4
     
   

ตารางที่ 5: สาเหตุของพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยในหมู่เยาวชนไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

   
  จำนวน ร้อยละ

การไม่รู้จักหักห้ามใจตัวเอง

582
47.6
ต้องการการยอมรับจากเพื่อนและสังคมรอบข้าง
398
32.5
อิทธิพลจากสื่อและการโฆษณา
363
29.7
การไม่รู้ถึงความยากลำบากในการหาเงิน
330
27.0
การเลี้ยงดูของพ่อแม่
179
14.6
อื่น ๆ อาทิ ไม่รู้จักวางแผนการใช้เงิน
7
0.6
     
   

ตารางที่ 6: บุคคลในอาชีพที่เยาวชนเห็นว่ามีพฤติกรรมการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยที่สุด

   
  จำนวน ร้อยละ

นักเรียน นิสิต นักศึกษา

568
46.4
นักร้อง นักแสดง
535
43.7
นักการเมือง
73
6.0
นักธุรกิจ
34
2.8
ข้าราชการ
11
0.9
อื่น ๆ
2
0.2
     
   

ตารางที่ 7: ที่ผ่านมาได้ทำอะไรเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระด้านการเงินของครอบครัวบ้างหรือไม่

   
  จำนวน ร้อยละ
ยังไม่ได้คิดจะทำ
141
11.5

อยากทำแต่ไม่รู้จะทำอะไรดี

740
60.5
ทำ ได้แก่ ทำงานหารายได้พิเศษ และค่าใช้จ่ายอย่างประหยัดเท่าที่จำเป็น
342
28.0
     
   

ตารางที่ 8: วิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการกระตุ้นให้เยาวชนไทยใช้จ่ายอย่างประหยัด

   
  จำนวน ร้อยละ

ฝึกเยาวชนให้ทำงานหาเงินเองจะได้รู้ค่าของเงิน

673
55.0
ฝึกให้ทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเอง
205
16.8
ให้ความรู้สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
135
11.0
พ่อแม่ต้องไม่ตามใจลูกมากเกินไป
114
9.3
ผู้ใหญ่ในสังคมต้องปฎิบัติตนเป็นแบบอย่าง
87
7.1
อื่น ๆ อาทิ ให้หน่วยงานต่าง ๆ รับเยาวชนทำงานช่วงปิดเทอมให้มากขึ้น และใช้
                 การโฆษณาชักจูงใจให้ประหยัด เป็นต้น
9
0.7
     
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   (  )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776