Connect to DB
  หัวข้อ : "ประชาชนคิดอย่างไรกับสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน"
 

ประชาชนให้คะแนนข้อมูลเชิงลึกเสนอสาธารณะของหนังสือพิมพ์สูงที่สุด
แต่การนำเสนอภาพและข่าวทำให้ผู้ตกเป็นข่าวเสียหายมีคะแนนต่ำสุด

 

             ประชาชนประเมินการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันสูงกว่าสื่อมวลชนไทยในภาพรวม โดยให้คะแนนด้านการสืบเสาะข้อมูล
เชิงลึกมานำเสนอต่อสาธารณชนสูงที่สุด ขณะที่ความระมัดระวังในการนำเสนอภาพและข่าวที่จะทำให้ผู้ตกเป็นข่าวเสียหายมีคะแนนต่ำสุด
ส่วนใหญ่ยังไว้วางใจให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ควบคุมดูแลเรื่องจรรยาบรรณของสื่อด้วยกันเอง พร้อมทั้งเชื่อว่าหากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้น
การนำเสนอข่าวจะเที่ยงตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น
             ในโอกาสที่สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ครบรอบการก่อตั้ง 9 ปี นายบรรยงค์ สุวรรณผ่อง กรรมการและประธานอนุกรรมการฝ่าย
วิชาการ เปิดเผยว่า สภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง ‘ ประชาชนคิดอย่างไรกับสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน’
โดยมีสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพให้การสนับสนุน และมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ เป็นผู้รับผิดชอบ
โครงการ “ สภาการหนังสือพิมพ์ให้อิสระแก่ผู้วิจัยเต็มที่ เพื่อให้ผลการสำรวจสะท้อนภาพการทำงานของสื่อหนังสือพิมพ์ที่ผ่านมาอย่างแท้จริง”
             การสำรวจดังกล่าว เก็บข้อมูลจากประชาชน อายุ 18 ปี ขึ้นไป ใน 25 จังหวัด จากทุกภาคของประเทศ จำนวน2,708 คน ระหว่าง
1 – 15 มิถุนายน 2549 ซึ่ง ผศ. สุนิสา ประวิชัย หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลการสำรวจว่า
คุณภาพของข่าวสารที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันมีคะแนนเฉลี่ย 2.72 จากคะแนนเต็ม 5.00 โดยประชาชนเห็นว่าข่าวสารที่
นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์มีคุณค่าด้านความน่าสนใจสูงที่สุด (3.03) รองลงมาคือประโยชน์ที่ผู้อ่านได้รับ (2.84) ความต่อเนื่องในการ
นำเสนอความคืบหน้าของเรื่องราว (2.80) ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา (2.67) และความถูกต้องเที่ยงตรง (2.49) ขณะที่ความเป็นกลาง
ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดมีคะแนนต่ำสุด (2.47)
             ส่วนการประเมินการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 2.61 ซึ่งนับว่าไม่สูงนัก แต่ก็ยังสูงกว่าการทำหน้าที่ของ
สื่อมวลชนโดยรวมซึ่งมีคะแนนอยู่ที่ 2.53 โดยการทำหน้าที่ด้านสืบเสาะข้อมูลเชิงลึกมานำเสนอต่อสาธารณชนมีคะแนนสูงสุด (2.78) รองลงมา
คือการชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกที่ควร (2.67) การยืนหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรมในสังคม (2.66) ส่วนการระมัดระวังในการนำเสนอภาพ
และข่าวที่จะทำให้ผู้ตกเป็นข่าวเสียหายมีคะแนนต่ำสุด (2.34) “ เสียงสะท้อนดังกล่าว เป็นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องน่าจะนำไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้
สื่อหนังสือพิมพ์ทำหน้าที่ในฐานะผู้กลั่นกรองข่าวสารก่อนนำออกเผยแพร่สู่สาธารณชนวงกว้างอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความคาดหวัง
ของประชาชนมากที่สุด” ผศ. สุนิสา ประวิชัย กล่าว
             สำหรับความคิดเห็นต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร นั้น หัวหน้าศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ เปิดเผยว่า
ประชาชนร้อยละ 36.1 เห็นว่าสื่อมวลชนในยุครัฐบาลทักษิณมีเสรีภาพน้อยเกินไป ขณะที่ร้อยละ 30.3 เห็นว่ามีเสรีภาพในระดับที่เหมาะสมแล้ว
ร้อยละ22.7 เห็นว่ามีเสรีภาพมากเกินไป และร้อยละ 10.9 ระบุว่าไม่แน่ใจ
             ทั้งนี้ร้อยละ 67.3 เชื่อว่าหากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้นจะทำให้การนำเสนอข่าวสารเที่ยงตรงตามความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
สื่อจะกล้านำเสนอความจริงอย่างครบถ้วนทุกด้านโดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลและการข่มขู่ฟ้องร้องเรียกเงินเป็นจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมา ขณะที่
ร้อยละ 32.7 ไม่เชื่อว่าการที่สื่อมวลชนมีเสรีภาพมากขึ้นจะทำให้การนำเสนอข่าวสารเที่ยงตรงมากขึ้นตามไปด้วย โดยเห็นว่าความเที่ยงตรงของ
ข่าวสารขึ้นอยู่กับคุณภาพและจรรยาบรรณของสื่อมวลชนมากกว่าเสรีภาพที่มี
             สำหรับประเด็นเรื่องการควบคุมดูแลจรรยาบรรณของสื่อมวลชนนั้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ควบคุมดูแล
กันเองถึงร้อยละ70.4 และต้องการให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมดูแลจรรยาบรรณของสื่อมวลชนเพียงร้อยละ 29.6
             ส่วนประเด็นเรื่องการรู้จักและรับรู้ถึงบทบาทการดำเนินงานของสภาการหนังสือพิมพ์ แห่งชาตินั้น ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักสภาการ
หนังสือพิมพ์แห่งชาติ โดยไม่รู้จักเลยร้อยละ 59.6 เคยได้ยินชื่อ แต่ไม่รู้ว่าทำหน้าที่อะไรร้อยละ 37.5 อีกร้อยละ 2.9 ระบุว่ารู้จัก แต่ในจำนวนนี้
มีเพียงร้อยละ1.2 ที่สามารถระบุบทบาทหน้าที่ของสภาการหนังสือพิมพ์ฯ ได้อย่างถูกต้อง

  ที่มาของการสำรวจ :.
 

             หนังสือพิมพ์นับเป็นสื่อมวลชนที่มีบทบาทสำคัญในการรายงานเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมให้สาธารณชนได้รับทราบ
ทั้งยังเป็นสื่อที่มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อของประชาชนโดยทั่วไปอยู่ไม่น้อย จึงไม่น่าแปลกใจที่ผู้มีอำนาจแทบทุกยุคทุกสมัยต่างพยายามที่จะ
เข้ามามีบทบาทควบคุมสื่อหนังสือพิมพ์ด้วยกันทั้งสิ้น การที่สื่อหนังสือพิมพ์จะยืนหยัดต้านกระแสดังกล่าวได้อย่างตลอดรอดฝั่งจำเป็นจะต้องอาศัยปัจจัย
หลัก 2 ประการคือ การยึดมั่นในอุดมการณ์และจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอย่างแน่วแน่ของผู้ประกอบวิชาชีพนักหนังสือพิมพ์ และความเชื่อถือศรัทธาที่
ประชาชนมีต่อสื่อดังกล่าว
             ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ จึงร่วมมือกับสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติจัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของ
ประชาชนต่อการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบันขึ้นเพื่อสะท้อนข้อมูลความคิดเห็นของประชาชนในฐานะผู้รับข่าวสารให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบ
อันจะ เป็นแนวทางในการพัฒนาการทำงานของสื่อหนังสือพิมพ์ต่อไป

  ประเด็นในการสำรวจ :.
 

                  1. ความถี่และลักษณะการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อหนังสือพิมพ์
                  2. ความเชื่อถือในข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากสื่อหนังสือพิมพ์
                  3. การประเมินคุณภาพของข่าวสารที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน
                  4. การประเมินการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน
                  5. ความคิดเห็นต่อแนวคิดเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนกับความเที่ยงตรงในการนำเสนอข่าวสาร
                  6. กลไกที่เหมาะสมในการควบคุมดูแลเรื่องจรรยาบรรณของสื่อมวลชน
                  7. การรู้จักและรับรู้ในบทบาทการดำเนินงานของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

  ระเบียบวิธีการสำรวจ :
              การสุ่มตัวอย่าง
               การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 25 จังหวัดจากทุกภาคของประเทศตามสัดส่วนจำนวนประชากรในแต่ละภาค ได้แก่
กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ปทุมธานี นครนายก ลพบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี นครสวรรค์ เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน สุโขทัย อุทัยธานี ขอนแก่น
มหาสารคาม นครราชสีมา อุดรธานี กาฬสินธุ์ สุรินทร์ สุราษฎร์ธานี สงขลา พัทลุง ยะลา และนราธิวาส จำนวน 2,708 คน เป็นเพศชายร้อยละ 44.9
เพศหญิงร้อยละ 55.1
  ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error) : ในการประมาณการขนาดตัวอย่างใช้ความคลาดเคลื่อน    5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
  วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล : . การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ความคิดเห็นของประชากรเป้าหมายที่สุ่มได้
  ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล :   1 - 15 มิถุนายน 2549
  วันที่เผยแพร่ข้อมูล : . 28   มิถุนายน   2549
  สำรวจโดย : ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776  
 
ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
     
   

ตารางที่ 1 : ข้อมูลประชากรศาสตร์

   
 
 จำนวน
ร้อยละ
เพศ :
            ชาย
1,215
44.9
            หญิง
1,493
55.1
อายุ :
            18 – 25 ปี
1,169
43.2
            26 – 35 ปี
736
27.2
            36 – 45 ปี
450
16.6
            45 ปีขึ้นไป
353
13.0
การศึกษา :
             ประถมศึกษา 195 7.2
             มัธยมศึกษา/ปวช. 940 34.7
             อนุปริญญา/ปวส. 420 15.5
             ปริญญาตรี 1,015 37.5
             สูงกว่าปริญญาตรี 136 5.0
อาชีพ :
             ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ 533 19.7
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 468 17.3
             รับจ้างทั่วไป 231 8.5
             พนักงานลูกจ้างบริษัทเอกชน 516 19.1
             นิสิต นักศึกษา 709 26.2
             พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ 99 3.6
             เกษตรกร ประมง 61 2.3
             อื่น ๆ 91 3.4
ที่อยู่อาศัย :
             กรุงเทพมหานคร 325 12.0
             ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง 1,755 64.8
             ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง 628 23.2
รวม 2,708 100.0
     
 

ตารางที่ 2: ความบ่อยครั้งในการอ่านหนังสือพิมพ์ใน 1 สัปดาห์

   
  จำนวน ร้อยละ

อ่านทุกวัน

804
29.7
อ่าน 5-6 วัน
311
11.5
อ่าน 3-4 วัน
699
24.7
อ่าน 1-2 วัน
715
26.4
ไม่ได้อ่านเลย (จบแบบสอบถาม)
209
7.7
     
 

ตารางที่ 3: ลักษณะการรับข่าวสารจากหนังสือพิมพ์

   
  จำนวน ร้อยละ
รับจากหนังสือพิมพ์ฉบับเดียว
      เนื่องจาก
                - ชื่อถือในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ ...................................ร้อยละ 55.1
                - ไม่มีฉบับอื่นให้เลือก ....................................................ร้อยละ 36.8
                - ไม่ระบุเหตุผล .............................................................ร้อยละ   8.1
941
37.7

รับจากหนังสือพิมพ์หลายฉบับ
     เนื่องจาก
           - ต้องการได้รับข่าวสารที่หลากหลายครบถ้วน ... ร้อยละ 72.2
           - ต้องการตรวจสอบความถูกต้องกับฉบับอื่น ๆ ... ร้อยละ 23.4
           - ไม่ระบุเหตุผล ..........................................ร้อยละ   4.4

1,558
62.3
     
 

ตารางที่ 4: การประเมินคุณภาพของข่าวสารที่นำเสนอทางสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน

   
  คะแนนที่ได้
(จากคะแนนเต็ม 5.00)

ความน่าสนใจ

3.03
ประโยชน์ที่ผู้อ่านได้รับ
2.84
ความต่อเนื่องในการนำเสนอความคืบหน้าของเรื่องราว
2.80
ความครบถ้วนสมบูรณ์ของเนื้อหา
2.67
ความถูกต้องเที่ยงตรง
2.49
ความเป็นกลางไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใด
2.47

เฉลี่ยรวม

2.72
     
 

ตารางที่ 5: การประเมินการทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์ในปัจจุบัน

   
  คะแนนที่ได้
(จากคะแนนเต็ม 5.00)

การสืบเสาะข้อมูลเชิงลึกมานำเสนอต่อสาธารณชน

2.78
การชี้นำสังคมไปในทางที่ถูกที่ควร
2.67
การยืนหยัดต่อสู้เพื่อความถูกต้องชอบธรรมในสังคม
2.66
การระมัดระวังในการนำเสนอภาพและข่าวที่จะทำให้ผู้ตกเป็นข่าวเสียหาย
2.34
     
 

ตารางที่ 6: การประเมินการทำหน้าที่โดยรวมของสื่อหนังสือพิมพ์เปรียบเทียบกับสื่อมวลชนไทยในปัจจุบัน

   
  คะแนนที่ได้
(จากคะแนนเต็ม 5.00)

การทำหน้าที่ของสื่อหนังสือพิมพ์

2.61
การทำหน้าที่ของสื่อมวลชนไทยในภาพรวม
2.53
     
 

ตารางที่ 7: ความคิดเห็นต่อเสรีภาพของสื่อมวลชนไทยในยุครัฐบาลทักษิณ

   
  จำนวน ร้อยละ

สื่อมวลชนในยุครัฐบาลทักษิณมีเสรีภาพน้อยเกินไป

902
36.1
สื่อมวลชนในยุครัฐบาลทักษิณมีเสรีภาพในระดับที่เหมาะสมแล้ว
758
30.3
สื่อมวลชนในยุครัฐบาลทักษิณมีเสรีภาพมากเกินไป
567
22.7
ไม่แน่ใจ
272
10.9
     
 

ตารางที่ 8: ความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่าถ้าสื่อมวลชนมีเสรีภาพมากขึ้น การนำเสนอข่าวสารจะเที่ยงตรง
               ตามความเป็นจริงมากขึ้น

   
  จำนวน ร้อยละ

เห็นด้วย
     เพราะ
           - สื่อจะกล้านำเสนอความจริงอย่างครบถ้วนทุกด้าน
             โดยไม่ต้องเกรงกลัวอิทธิพลและการข่มขู่ ฟ้องร้อง
              เรียกเงินจำนวนมาก ...................................ร้อยละ 70.6
           - ไม่ระบุสาเหตุ .......................................... ร้อยละ 29.4

1,683
67.3
ไม่เห็นด้วย
      เพราะ
               - ความเที่ยงตรงของข่าวสารขึ้นอยู่กับคุณภาพและ
                 จรรยาบรรณของสื่อมวลชนมากกว่าเสรีภาพที่จะได้รับ....ร้อยละ 29.8
               - สื่อมวลชนไทยอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมยิ่งมีเสรีภาพมาก
                 ก็ยิ่งเสนอข่าวบิดเบือน เพื่อให้ขายได้..............................ร้อยละ 28.0
               - สื่อมวลชนคงไม่กล้านำเสนอความจริงที่จะทำให้ตนเอง
                 เดือดร้อนและเสี่ยงอันตราย..........................................ร้อยละ 24.3
              - ไม่ระบุเหตุผล .............................................................ร้อยละ 17.9
816
32.7
     
 

               ตารางที่ 8.1: เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่าหากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้น
                                  การนำเสนอข่าวสารจะเที่ยงตรงตามความเป็นจริงมากขึ้นของกลุ่มตัวอย่าง
                                  ที่มีการศึกษาต่างกัน

  เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ประถมศึกษา
80.3
19.7
มัธยมศึกษา/ปวช.
70.4
29.6
อนุปริญญาตรี/ปวส.
69.6
30.4
ปริญญาตรี
63.2
36.8
สูงกว่าปริญญาตรี
55.3
44.7

เฉลี่ยรวม

67.3
32.7
   
 

               ตารางที่ 8.2 : เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่าหากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้น
                                  การนำเสนอข่าวสารจะเที่ยงตรงตามความเป็นจริงมากขึ้นของกลุ่มตัวอย่าง
                                  ที่มีพื้นที่อาศัยต่างกัน

  เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
กรุงเทพมหานคร
63.6
36.4
ต่างจังหวัดในเขตอำเภอเมือง
66.4
33.6
ต่างจังหวัดนอกเขตอำเภอเมือง
72.0
28.0

เฉลี่ยรวม

67.3
32.7
     
 

               ตารางที่ 8.3 : เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อแนวคิดที่ว่าหากสื่อมวลชนไทยมีเสรีภาพมากขึ้น
                                  การนำเสนอข่าวสารจะเที่ยงตรงตามความเป็นจริงมากขึ้นของกลุ่มตัวอย่าง
                                  ที่มีความถี่ในการอ่านหนังสือพิมพ์ต่างกัน

  เห็นด้วย
(ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
(ร้อยละ)
อ่านทุกวัน
69.7
30.3
อ่าน 5-6 วันต่อสัปดาห์
68.3
31.7
อ่าน 3-4 วันต่อสัปดาห์
64.4
35.6
อ่าน 1-2 วันต่อสัปดาห์
65.4
34.6

เฉลี่ยรวม

67.3
32.7
     
 

ตารางที่ 9 : เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับผู้ที่เหมาะสมจะมาควบคุมดูแลเรื่องจรรยาบรรณ
               ของสื่อมวลชนระหว่างการใช้สื่อมวลชนควบคุมกันเองกับการให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมสื่อ

   
  จำนวน ร้อยละ

ให้สื่อมวลชนควบคุมกันเอง

1,759
70.4
ให้รัฐบาลเป็นผู้ควบคุมสื่อ
740
29.6
     
 

ตารางที่ 10 : ความรู้จักสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

   
  จำนวน ร้อยละ

ไม่รู้จักเลย
     จำแนกตามอายุ         ได้ดังนี้
              - อายุ 18-25 ปี    ไม่รู้จัก ........................ร้อยละ 62.5
              - อายุ 26-35 ปี    ไม่รู้จัก ....................... ร้อยละ 59.1
              - อายุ 36-45 ปี    ไม่รู้จัก ....................... ร้อยละ 52.5
              - อายุ 46 ปีขึ้นไป  ไม่รู้จัก ....................... ร้อยละ 56.7

     จำแนกตามระดับการศึกษา         ได้ดังนี้
              - ประถมศึกษา             ไม่รู้จัก .................ร้อยละ 69.7
              - มัธยมศึกษา/ปวช.      ไม่รู้จัก .................ร้อยละ 59.2
              - อนุปริญญาตรี/ปวส.   ไม่รู้จัก .................ร้อยละ 59.6
              - ปริญญาตรี               ไม่รู้จัก .................ร้อยละ 58.7
              - สูงกว่าปริญญาตรี       ไม่รู้จัก .................ร้อยละ 49.5

     จำแนกตามพื้นที่อาศัย         ได้ดังนี้
              - กรุงเทพมหานคร          ไม่รู้จัก ..............ร้อยละ 60.4
              - ต่างจังหวัดใน อ.เมือง    ไม่รู้จัก ............. ร้อยละ 57.8
              - ต่างจังหวัดนอก อ.เมือง  ไม่รู้จัก ............. ร้อยละ 62.7

1,490
59.6
เคยได้ยินชื่อแต่ไม่รู้ว่าทำอะไร
937
37.5
รู้จัก
      โดย
                     - ระบุบทบาทหน้าที่ได้ถูกต้อง ........................................ร้อยละ 41.4
                     - ระบุบทบาทหน้าที่ไม่ถูกต้อง เช่น ตรวจสอบการทำงาน
                       ของรัฐบาล กลั่นกรองข่าวสารก่อนนำออกเผยแพร่และ
                       ไม่ระบุรายละเอียด .......................................................ร้อยละ 58.6
72
2.9
     
 

ตารางที่ 11 : ความรู้จักสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

   
  จำนวน ร้อยละ

จะไม่ไปร้องเรียน
     เพราะ
              - ไม่รู้จะไปร้องเรียนที่ไหน..............................33.1
              - ไม่อยากยุ่งยากเสียเวลา................................20.2
              - ร้องเรียนไปก็ไม่ได้อะไรขึ้นมา เพราะเป็น
                 คนธรรมดาไม่มีอำนาจ.................................17.8
              - ไม่อยากมีเรื่องกับสื่อเพราะกลัวถูกกลั่นแกล้ง
                 ให้เสียหาย...............................................10.6
              - น่าจะตกลงกันได้โดยไม่ต้องไปร้องเรียน.............4.6
              - ไม่ระบุเหตุผล............................................13.7

1,412
56.5
จะไปร้องเรียน
      โดยหน่วยงานที่ตั้งใจจะไปร้องเรียน ได้แก่
                     - สถานีตำรวจ ........................................................ร้อยละ 29.4
                     - ศาล.....................................................................ร้อยละ 12.9
                     - สภาการหนังสือพิมพ์............................................ร้อยละ   8.4
                     - สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค..............ร้อยละ   6.1
                     - สำนักพิมพ์ของหนังสือพิมพ์ฉบับนั้น ๆ ..................ร้อยละ   5.9
                     - ไอทีวี...................................................................ร้อยละ   1.9
                     - อื่น ๆ เช่น มูลนิธิปวีณา องค์กรเพื่อสิทธิมนุษยชน
                       สำนักนายกรัฐมนตรี และ อบต.  .............................ร้อยละ   1.7
                     - ยังนึกไม่ออกว่าจะไปร้องเรียนที่ไหน.......................ร้อยละ 21.3
                     - ไม่ระบุ..................................................................ร้อยละ 12.4
1,087
43.5
     
 

               ตารางที่ 11.1 : เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าหากมีปัญหากับสื่อหนังสือพิพม์จะไป
                                    ร้องเรียนหรือไม่ของกลุ่มตัวอย่างที่มีพื้นที่อาศัยต่างกัน

  ไป
(ร้อยละ)
ไม่ไป
(ร้อยละ)
กรุงเทพมหานคร
39.6
60.4
ต่างจังหวัดในเขต อ.เมือง
42.7
57.3
ต่างจังหวัดนอกเขต อ.เมือง
48.4
51.6

เฉลี่ยรวม

43.5
56.5
     
 

               ตารางที่ 11.2 : เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่าหากมีปัญหากับสื่อหนังสือพิพม์จะไป
                                    ร้องเรียนหรือไม่ของกลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาต่างกัน

  ไป
(ร้อยละ)
ไม่ไป
(ร้อยละ)
ประถมศึกษา
31.1
68.9
มัธยมศึกษา/ปวช.
42.2
57.8
อนุปริญญา/ปวส.
43.3
56.7
ปริญญาตรี
46.3
53.7
สูงกว่าปริญญาตรี
48.5
51.5
 
สามารถทำการ Vote ได้วันละ 1 ครั้ง
Vote :  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
Download document file :   ( %EF%BF%BD%EF%BF%BD%D0%AA%D2%AA%EF%BF%BD%EF%BF%BD%D4%B4%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%D2%A7%EF%BF%BD%C3%A1%D1%BA%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%CB%B9%D1%A7%EF%BF%BD%EF%BF%BD%CD%BE%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%EF%BF%BD%E3%B9%BB%D1%A8%EF%BF%BD%D8%BA%D1%B9 )

ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ ( Email: research@bu.ac.th )

โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1776