หัวข้อ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน กับการเป็นผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ 2
                  จากการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่มีขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมานี้ มีผลทำให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
ได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ 2 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “
นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน กับการเป็นผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ 2” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชน
อายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,063 คน เป็นเพศชายร้อยละ 47.1
และเพศหญิงร้อยละ 52.9 เมื่อวันที่ 6-7 ตุลาคม 2551 สรุปผลได้ ดังนี้
 
             1. ความคาดหวังต่อการทำงานในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ 2 ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน พบว่า
                      จากคะแนนเต็ม 10 คนกรุงเทพฯ ให้คะแนนความคาดหวังต่อการทำงานของนายอภิรักษ์
                      6.52 คะแนน
 
             2. ความเชื่อมั่นต่อความสำเร็จในการดำเนินงานตามนโยบาย 5 ด้านที่นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
                 ได้ประกาศไว้ พบว่า

นโยบาย
คะแนนความเชื่อมั่น
(คะแนนเต็ม 10)
1. ด้านสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มพื้นที่สีเขียว ฟื้นฟูแม่น้ำเจ้าพระยา
นำสายไฟฟ้าลงดิน พัฒนาระบบระบายน้ำและป้องกันน้ำท่วม
สร้างธนาคารรีไซเคิลแปลงขยะเป็นพลังงานไฟฟ้า
6.17
2. ด้านเด็กและการศึกษา โดยส่งเสริมให้กรุงเทพฯ เป็น
“มหานครแห่งการเรียนรู้” ห้เด็กละเยาวชนเติบโตทั้งร่างกาย และ
อารมณ์
5.95
3. ด้านเศรษฐกิจ โดยให้กรุงเทพฯ เป็น “มหานครแห่งภูมิภาค
ในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว” เปิดศูนย์ส่งเสริมเศรษฐกิจ
Bangkok One (One Stop Service)
5.66
4. ด้านคุณภาพชีวิต โดยส่งเสริมให้คนกรุงเทพฯ มีสุขภาพแข็งแรง
ทั้งร่างกายจิตใจ เพิ่มศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยในชีวิต
และทรัพย์สิน
5.64
5. ด้านการจราจร โดยขยายระบบขนส่งมวลชน เชื่อมโยงการเดินทาง
ทั้งทางน้ำ จักรยาน Shuttle bus แท็กซี่ และเส้นทางเดินเท้า
ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ส่งเสริมการใช้ระบบ WIFI ในการตรวจสอบ
สภาพจราจรเพื่อวางแผนการเดินทาง
5.39
 
             3. โครงการเดิมของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ดำเนินการต่อ คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
โครงการรถไฟฟ้า BTS
41.2
โครงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว
14.7
โครงการแก้ไขปัญหาจราจร
10.5
โครงการรถเมล์ด่วน BRT
5.1
โครงการด้านการศึกษา
4.4
โครงการระบบบำบัดน้ำเสีย
1.4
โครงการเกี่ยวกับการรักษาและดูแลสุขภาพ
0.7
จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยโดยให้หยุดขายวันจันทร์
0.7
ควรดำเนินการต่อทุกโครงการ
5.2
อื่นๆ เช่น โครงการฟื้นฟูลำคลอง เส้นทางจักรยาน การส่งเสริมอาชีพ
ส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ
16.1
 

             4. โครงการเดิมของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่คนกรุงเทพฯ อยากให้ยกเลิก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ป้ายจอดแท็กซี่อัจฉริยะ
28.6
จัดระเบียบหาบเร่แผงลอยโดยให้หยุดขายวันจันทร์
5.7
โครงการรถเมล์ด่วน BRT
3.4
โครงการจัดสวนที่ป้ายรถเมล์
1.7
ไม่มีโครงการที่ควรยกเลิก
48.2
อื่นๆ เช่น โครงการป้ายไฟบอกสภาพจราจร โครงการรถดับเพลิง ฯลฯ
12.4
 

             5. จุดเด่นในการทำงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่คนกรุงเทพฯ อยากให้รักษาไว้ คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ความสุขุม รอบคอบ น่าเชื่อถือ และเป็นกันเอง
22.6
ซื่อสัตย์ โปร่งใส
13.3
มีความตั้งใจทำงาน แก้ปัญหา ตามงานดี
9.7
พูดจริงทำจริง มีความรับผิดชอบ เสมอต้นเสมอปลาย
8.4
ขยัน
6.9
เข้าถึงปัญหา เข้าถึงประชาชน
5.9
มีผลงาน โครงการต่างๆ หลายโครงการ
2.3
มีความสามารถในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ทำงานเป็นระบบ
1.0
อื่นๆ เช่น มีความคิดทันสมัย ทำงานเป็นทีม มีพรรคการเมือง
สนับสนุน ฯลฯ
11.6
ไม่มีจุดเด่น
18.3
 

             6. จุดด้อยในการทำงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่อยากให้ปรับปรุงแก้ไข คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ทำงานล่าช้า บริหารงานล่าช้า ตัดสินใจล่าช้า
28.8
สร้างภาพ พูดแล้วทำไม่ได้อย่างที่พูด
9.0
ไม่กล้าตัดสินใจ ยึดติดกับพรรคมากเกินไป
4.7
ลงพื้นที่พบประชาชนน้อยเกินไป เข้าไม่ถึงประชาชน
4.0
ไม่โปร่งใส ไม่ซื่อสัตย์ มีกรณีทุจริตเรื่องรถดับเพลิง
1.9
ทำงานโครงการต่างๆ ไม่ค่อยต่อเนื่อง
1.5
ไม่ค่อยประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง ทั้งรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ
1.3
แก้ปัญหาแต่เรื่องเล็กๆ
0.7
ใช้งบมาก สิ้นเปลือง แต่ทำไม่สำเร็จ
0.1
อื่นๆ เช่น สังกัดพรรคฝ่ายค้าน เลือกปฏิบัติกับคนบางกลุ่ม ฯลฯ
8.0
ไม่มีจุดด้อย
40.0
 

             7. เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ ดำเนินการโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
พัฒนาระบบขนส่งมวลชน แก้ปัญหาจราจร และสภาพถนน
51.6
สร้างอาชีพ สร้างรายได้
9.4
ขยายเส้นทางรถไฟฟ้า BTS
8.8
แก้ปัญหามลภาวะ ขยะมูลฝอย
8.4
ดูแลคุณภาพชีวิต ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
5.8
แก้ปัญหาน้ำท่วม
5.5
ส่งเสริมด้านการศึกษา
3.6
จัดระเบียบหาบเร่แผงลอย
0.7
อื่นๆ เช่น ฟื้นฟูการท่องเที่ยวกรุงเทพฯ ทำระบบ WIFI ทำตามนโยบาย
ที่แถลงไว้ให้ได้
6.2
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครต่อการได้รับเลือกให้เป็นผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ 2
ของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในประเด็นต่อไปนี้
                         1. คะแนนความคาดหวังต่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ในการทำงานในตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม. สมัยที่ 2
                         2. ความเชื่อมั่นต่อความสามารถบริหารงาน กทม. ให้สำเร็จตามโนบาย 5 ด้านที่นายอภิรักษ์
                             โกษะโยธิน ได้ประกาศไว้
                         3. โครงการเดิมของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ควรดำเนินการต่อ
                         4. โครงการเดิมของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ควรยกเลิก
                         5. จุดเด่นในการทำงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ควรรักษาไว้
                         6. จุดด้อยในการทำงานของนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ที่ควรปรับปรุงแก้ไข
                         7. เรื่องที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่ดำเนินการโดยเร่งด่วนเป็นอันดับแรก

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการ ปกครองจำนวน
30 เขต จาก 50 เขตของกรุงเทพมหานคร ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย คลองสาน ดอนเมือง
ดินแดง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางเขน บางคอแหลม บางซื่อ บางนา บางบอน บางพลัด
บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ สวนหลวง สะพานสูง สาทร
หลักสี่ และห้วยขวาง จากนั้นสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,063 คน
เป็นเพศชาย ร้อยละ 47.1 และ เพศหญิง ร้อยละ 52.9
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 6 - 7 ตุลาคม 2551
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 8 ตุลาคม 2551
 
สรุปผลการสำรวจ: ตารางแสดงการประมวลผลข้อมูล
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
501
47.1
             หญิง
562
52.9
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
264
24.8
             26 - 35 ปี
308
29.0
             36 - 45 ปี
255
24.0
             46 ปีขึ้นไป
236
22.2
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
433
40.7
             ปริญญาตรี
553
52.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
77
7.2
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ
121
11.4
             พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน
315
29.7
             ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว
279
26.2
             รับจ้างทั่วไป
126
11.9
             พ่อบ้าน แม่บ้าน เกษียณอายุ
93
8.7
             อื่นๆ อาทิ นิสิต/นักศึกษา อาชีพอิสระ
             ว่างงาน
129
12.1
รวม
1,063
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776