หัวข้อ ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวประเทศไทย
                  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวถือเป็นแหล่งสร้างรายได้เข้าประเทศที่สำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของไทย  แต่จาก
สภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก  ประกอบกับสถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองภายในประเทศไทยอาจมีผล
ต่อการวางแผนและตัดสินใจเดินทางมาเที่ยวเมืองไทยของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ดังนั้น การได้รับทราบถึงความคิดเห็น
และระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในด้านต่างๆ  จะช่วยสะท้อนภาพการท่องเที่ยวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็น
ชัดเจนขึ้น ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ความพึงพอใจ
ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติต่อการมาท่องเที่ยวประเทศไทย
”  โดยเก็บข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ
บริเวณห้องพักผู้โดยสารขาออก อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 902 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 67.6 และเพศหญิงร้อยละ 32.4 เมื่อวันที่ 26-27 มีนาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. จุดดึงดูดที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้นักท่องเที่ยวระบุเอง)

 
ร้อยละ
ชายหาด ทะเล และกิจกรรมทางทะเล
20.0
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย
13.6
ความสวยงามของสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
12.7
แหล่งช็อปปิ้ง
7.3
รสชาติและความหลากหลายของอาหาร
7.3
แหล่งค้าขาย/ติดต่อธุรกิจ
6.3
ความหลากหลายของวัฒนธรรมประเพณี
5.8
การคงความเป็นธรรมชาติ
2.9
อื่นๆ เช่น นวด/สปา งานฝีมือและหัตถกรรม ช้างไทย ฯลฯ
24.1
 
             2. สถานการณ์การเมืองที่เกิดขึ้นมีผลต่อการตัดสินใจมาท่องเที่ยวประเทศไทย หรือไม่ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่มีผล
       (โดยไม่มีผลเลย ร้อยละ 28.0 และไม่ค่อยมีผล ร้อยละ 40.5)
68.5
มีผล
       (โดยมีผลอย่างมากร้อยละ 6.9 และมีผลค่อนข้างมาก ร้อยละ 24.6)
31.5
 
             3. คะแนนความพึงพอใจต่อการมาท่องเที่ยวประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 7.76
                 (จากคะแนนเต็ม 10)
โดยความพึงพอใจในอัธยาศัยไมตรีของคนไทย มีคะแนนสูงที่สุด
                 ขณะที่ความพึงพอใจในคุณภาพอากาศ มีคะแนนต่ำที่สุด
ดังนี้

 
คะแนน
(จากคะแนนเต็ม 10)
อัธยาศัยไมตรีของคนไทย
8.78
ความคุ้มค่าเงิน
8.44
สถานที่ท่องเที่ยว
8.42
อาหารและเครื่องดื่ม
8.42
ความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว
8.00
บริการจากมัคคุเทศก์
7.63
ระบบการขนส่งสาธารณะ
7.60
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
7.60
ความสะอาด
6.82
คุณภาพอากาศ
5.92
 
             4. ความรู้สึกต่อการมาท่องเที่ยวประเทศไทย โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนเดินทางมากับเมื่อ
                 ได้มาเที่ยวแล้ว พบว่า

 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
55.2
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
42.8
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
2.0
 
             5. สิ่งที่นักท่องเที่ยว ชอบ/ประทับใจ มากที่สุด 10 อันดับแรก คือ   (เป็นคำถามปลายเปิดให้
                 นักท่องเที่ยวระบุเอง)

 
ร้อยละ
คนไทย
26.8
อาหาร
15.7
ทะเล ชายหาด
15.4
แหล่งช็อปปิ้ง
8.6
วัด
4.8
สถานที่เที่ยวต่างๆ
3.7
อากาศ
3.6
ธรรมชาติ
2.9
แหล่งท่องเที่ยวกลางคืน
2.8
ความสนุกสนานรื่นเริง
2.6
 
             6. สิ่งที่นักท่องเที่ยว ไม่ชอบ/ไม่ประทับใจ มากที่สุด 10 อันดับแรก คือ   (เป็นคำถามปลายเปิด
                 ให้นักท่องเที่ยวระบุเอง)

 
ร้อยละ
การจราจร
25.1
คุณภาพอากาศ
13.9
อากาศร้อน
6.3
ขยะ ปริมาณถังขยะ
6.2
อาหารรสจัดเกินไป
4.4
คนเยอะ เสียงดัง
3.0
สินค้าแพง ถูกโก่งราคา
2.7
ภาษาและการสื่อสาร
1.9
การขายของริมทางเท้า
1.0
การขโมยของ
1.0
 
             7. เมื่อสอบถามนักท่องเที่ยวถึงความต้องการจะกลับมาเที่ยวประเทศไทยอีกครั้ง พบว่า

 
ร้อยละ
จะกลับมาอีก
94.1
จะไม่กลับมาอีก
1.0
ไม่แน่ใจ
4.9
 
             8. การยินดีที่จะแนะนำและบอกต่อให้ผู้อื่นมาเที่ยวประเทศไทย พบว่า

 
ร้อยละ
แนะนำ
93.9
ไม่แนะนำ
1.8
ไม่แน่ใจ
4.3
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในประเด็นต่อไปนี้
                     1. ข้อมูลพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย
                     2. ทัศนคติของนักท่องเที่ยวต่อการมาเที่ยวประเทศไทย
                     3. ระดับความพึงพอใจต่อการมาเที่ยวประเทศไทยในด้านต่างๆ
                     4. สถานการณ์ทางการเมืองต่อการตัดสินใจมาเที่ยวประเทศไทย

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจครั้งนี้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ณ บริเวณห้องพัก ผู้โดยสาร
ขาออก อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 902 คน เป็นเพศชายร้อยละ 67.6
และเพศหญิงร้อยละ 32.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 26 - 27 มีนาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 7 เมษายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:

ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
609
67.6
             หญิง
293
32.4
รวม
902
100.0
อายุ:
 
 
             15 - 24 ปี
100
11.1
             25 - 34 ปี
310
34.4
             35 - 44 ปี
213
23.6
             45 - 54 ปี
166
18.4
             55 - 64 ปี
82
9.1
             64 ปีขึ้นไป
31
3.4
รวม
902
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
214
23.7
             ปริญญาตรี หรือสูงกว่า
688
76.3
รวม
902
100.0


ตารางที่ 2: ช่องทางการรับข่าวสารเกี่ยวกับประเทศไทย (ตอบได้มากกว่า 1 ช่องทาง)   
 
จำนวน
ร้อยละ
             ญาติและเพื่อน
437
37.7
             อินเทอร์เน็ต
194
16.7
             บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว
171
14.8
             ติดต่อธุรกิจ
137
11.8
             นิตยสาร
84
7.2
             โทรทัศน์
76
6.6
             หนังสือพิมพ์
45
3.9
             แผ่นพับ/ใบปลิว
15
1.3
รวม
1,159
100.0


ตารางที่ 3: จังหวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเที่ยว (ตอบได้มากกว่า 1 จังหวัด)
 
จำนวน
ร้อยละ
             กรุงเทพมหานคร
789
45.4
             ชลบุรี
279
16.0
             ภูเก็ต
184
10.6
             เชียงใหม่
157
9.0
             สุราษฎร์ธานี
79
4.5
             กระบี่
54
3.1
             ประจวบคีรีขันธ์
38
2.2
             พระนครศรีอยุธยา
36
2.1
             ตราด
17
1.0
             อื่นๆ
106
6.1
รวม
1,739
100.0

 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776