หัวข้อ ความเชื่อมั่นประเทศไทย
                  จากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้น นอกจากจะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของ
ประชาชนทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และความวิตกกังวลด้านจิตใจแล้ว ยังส่งผลต่อภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นใน
ศักยภาพของประเทศไทยอีกด้วย  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็น
เรื่อง  “ความเชื่อมั่นประเทศไทย” ขึ้น โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพที่อาศัยอยู่ในเขต
กรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 1,046 คน เป็นเพศชายร้อยละ 45.3 และเพศหญิงร้อยละ 54.7 เมื่อวันที่ 23-24 เมษายน
ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความเชื่อมั่นประเทศไทยประจำเดือนเมษายน 2552 มีคะแนนความเชื่อมั่นเฉลี่ยอยู่ที่
                 4.09 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาความเชื่อมั่นในแต่ละด้าน พบว่า

 
คะแนนความเชื่อมั่น
(จากคะแนนเต็ม 10)
ความเชื่อมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และความมีน้ำใจ
เอื้อเฟื้อของคนไทย
5.68
ความเชื่อมั่นในศักยภาพของคนไทย
4.65
ความเชื่อมั่นในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดปัจจุบัน
4.43
ความเชื่อมั่นในความสามารถแข่งขันกับประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน
4.40
ความเชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข่าวสารข้อเท็จจริง
ไปยังประชาชน
4.35
ความเชื่อมั่นในการเปิดโอกาสให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมตัดสินใจ
ในเรื่องสำคัญๆ ของประเทศ
4.10
ความเชื่อมั่นในระบบรัฐสภาไทย
3.79
ความเชื่อมั่นในความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน
3.69
ความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและการบังคับใช้กฎหมายของไทย
3.64
ความเชื่อมั่นในสถานะทางการเงินการคลังของประเทศ
3.52
ความเชื่อมั่นในความรักความสามัคคีของคนในชาติ
3.47
ความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาความยากจน การว่างงาน และการประกอบอาชีพ
3.32
 
             2. เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย (5 อันดับแรก)
                 ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
แก้ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ ให้มีความรัก
ความสามัคคีกัน
35.3
แก้ปัญหาเศรษฐกิจ การว่างงาน และการประกอบอาชีพ
33.1
ปฏิรูปการเมือง ทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ
8.8
เคารพในกระบวนการยุติธรรมและตัดสินโดยใช้มาตรฐานเดียวกัน
5.3
แก้รัฐธรรมนูญปี 2550
4.4
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ของการสำรวจ:

                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ในประเด็นต่อไปนี้
                     1. ประเมินความเชื่อมั่นประเทศไทยของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครในด้านต่างๆ
                     2. เรื่องที่เห็นว่าควรดำเนินการโดยเร่งด่วนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของประเทศไทย

 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่ม
ตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยการสุ่มเขตการปกครอง จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะ
สัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ โดยใช้ทั้งวิธีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลภาคสนาม และการสุ่มหมายเลขโทรศัพท์สัมภาษณ์ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,046 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.3 และเพศหญิงร้อยละ 54.7
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถาม
แบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 23 - 24 เมษายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 26 เมษายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
474
45.3
             หญิง
572
54.7
รวม
1,046
100.0
อายุ:
 
 
             18 - 25 ปี
281
26.8
             26 - 35 ปี
326
31.2
             36 - 45 ปี
227
21.7
             46 ปีขึ้นไป
212
20.3
รวม
1,046
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
545
52.1
             ปริญญาตรี
468
44.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
33
3.2
รวม
1,046
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
78
7.5
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
382
36.5
             ค้าขาย / ธุรกิจส่วนตัว
258
24.7
             รับจ้างทั่วไป
135
12.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
38
3.6
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
155
14.8
รวม
1,046
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776