หัวข้อ นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนในโรงเรียน
                  การพัฒนาการศึกษานับเป็นภารกิจหลักของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาทุกยุคทุกสมัย  เพราะต่าง
ก็เชื่อมั่นว่าระบบการศึกษาที่ดีจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเยาวชนให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและเป็นกำลังสำคัญ
ของประเทศในอนาคต โดยนโยบายด้านการศึกษามักถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นนโยบายหลักในการหาเสียงของนักการเมือง
ทุกระดับ นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการก็มักได้รับจัดสรรงบประมาณจำนวนมากเป็นอันดับต้นๆ แต่จนถึงปัจจุบันหลายฝ่าย
ก็ยังไม่มั่นใจในคุณภาพของระบบการศึกษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาในระบบโรงเรียนว่ามีประสิทธิภาพเพียงพอ
ที่จะใช้เป็นเครื่องมือหลักในการพัฒนาคุณภาพของเยาวชนไทยได้เพียงใด   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “นักเรียนรู้สึกอย่างไรต่อการเรียนในโรงเรียน”  เพื่อสะท้อนมุมมองของ
นักเรียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ โดยเก็บข้อมูลจากนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมจากโรงเรียนรัฐบาล
และเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร 30 แห่ง รวมทั้งสิ้น 1,146 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 44.9  และเพศหญิงร้อยละ 55.1
เมื่อวันที่ 18 – 20 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. ความรู้สึกต่อการไปโรงเรียนในช่วงเปิดเทอมใหม่นี้

 
ร้อยละ
รู้สึกดีกับการไปโรงเรียน
       (โดยให้เหตุผลว่า ตื่นเต้นที่จะได้เจอเพื่อนๆ พักผ่อนช่วงปิดเทอม
         มาเพียงพอแล้ว อยู่บ้านนานๆ แล้วเบื่อ)
60.7
รู้สึกเฉยๆ กับการไปโรงเรียน
       (โดยให้เหตุผลว่า การไปเรียนเป็นหน้าที่ที่ต้องทำอยู่แล้ว
         เป็นเรื่องเดิมๆ ไม่มีอะไรตื่นเต้น)
31.8
รู้สึกไม่ดีกับการไปโรงเรียน
       (โดยให้เหตุผลว่า ไม่อยากตื่นเช้า อยู่บ้านสบายกว่า
         เรียนไม่สนุก ต้องแยกห้องเรียนกับเพื่อน)
7.5
 
             2. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนในโรงเรียนจะช่วย
                 ให้ตนเองมีอนาคตที่ดีขึ้นได้มากน้อยเพียงใด พบว่า

 
ร้อยละ
คิดว่าช่วยได้มาก
30.9
คิดว่าช่วยได้ค่อนข้างมาก
55.6
คิดว่าช่วยได้ค่อนข้างน้อย
9.0
คิดว่าช่วยไม่ได้เลย
0.3
ไม่แน่ใจ
4.2
 
             3. เมื่อสอบถามถึงความพึงพอใจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในโรงเรียน พบว่า
                 มีคะแนนเฉลี่ยในแต่ละด้าน ดังนี้ (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

 
คะแนนเฉลี่ย
ความพึงพอใจต่อครูผู้สอน
7.79
ความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมหลักสูตร
7.63
ความพึงพอใจต่อเนื้อหาที่เรียน
7.45
ความพึงพอใจต่ออุปกรณ์การเรียน
7.43
ความพึงพอใจต่อหนังสือที่ใช้เรียน
7.33



                 ทั้งนี้ เมื่อพิจารณารายละเอียดของความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้

                      
(1) ความพึงพอใจต่อครูผู้สอน จำแนกเป็น

 
คะแนน
ความตั้งใจและทุ่มเทในการสอน
7.94
ความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
7.84
ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้และเทคนิคการสอน
7.60

                       (2) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมเสริมหลักสูตรของโรงเรียน จำแนกเป็น
 
คะแนน
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม
7.70
ความน่าสนใจของกิจกรรมที่จัด
7.62
การมีส่วนร่วมของนักเรียน
7.56

                       (3) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาที่เรียนในโรงเรียน จำแนกเป็น
 
คะแนน
ความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในชีวิตจริง
7.60
ความยากง่ายเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
7.38
ความน่าสนใจ ชวนให้ติดตาม
7.36

                       (4) ความพึงพอใจต่ออุปกรณ์การเรียน จำแนกเป็น
 
คะแนน
ความทันสมัยและเหมาะสมกับเนื้อหาที่เรียน
7.70
ความเพียงพอกับจำนวนนักเรียน
7.32
การดูแลรักษาอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพดีพร้อมใช้งาน
7.26

                       (5) ความพึงพอใจต่อหนังสือที่ใช้เรียน จำแนกเป็น
 
คะแนน
ความถูกต้องทันสมัยของเนื้อหา
7.54
ความสวยงามของรูปเล่มและภาพประกอบ
7.24
ความเข้าใจง่าย
7.22
 
             4. ข้อเสนอแนะที่เด็กนักเรียนต้องการฝากถึงผู้รับผิดชอบในการจัดการเรียนการสอน คือ

 
ร้อยละ
ปรับรูปแบบการสอน / เทคนิคการสอน และสร้างบรรยากาศ ที่เอื้อต่อการเรียน
41.7
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน สนามกีฬา ตัวอาคาร โต๊ะ เก้าอี้
14.7
ปรับตารางการเรียนไม่ให้แน่นเกินไป ลดเวลาเรียนต่อคาบลง และขยายเวลาพัก
11.6
เพิ่มกิจกรรมเสริมการเรียนรู้ ทัศนศึกษา (ออกไปดูของจริง)
11.1
ปรับเนื้อหาการเรียนให้ทันสมัย และสามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
9.3
ลดความเข้มงวดของกฎระเบียบบางเรื่อง เช่น เรื่องทรงผม
7.5
อื่นๆ เช่น อย่าเปลี่ยนรูปแบบการเรียนบ่อยๆ ปรับสัดส่วนครูต่อจำนวนนักเรียน
ให้เหมาะสม ฯลฯ
4.1
 
             ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข้อเสนอแนะระหว่างนักเรียนโรงเรียนรัฐบาลกับโรงเรียนเอกชน  พบว่าข้อเสนอแนะในเรื่อง
การปรับรูปแบบการสอน  เทคนิคการสอนและการสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนเป็นข้อเสนอแนะที่มาจากนักเรียนใน
โรงเรียนรัฐบาลเป็นส่วนใหญ่


            
ขณะที่ข้อเสนอแนะเรื่องการเพิ่มกิจกรรมเสริมหลักสูตร  และลดความเข้มงวดของกฎระเบียบลงเป็นข้อเสนอแนะ
ที่มาจากนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นส่วนใหญ


            
ส่วนข้อเสนอแนะเรื่องการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียน การปรับตารางเรียนไม่ให้แน่นเกินไป และการปรับ
เนื้อหาการเรียนให้ทันสมัย  สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง  เป็นข้อเสนอแนะที่มาจากนักเรียน โรงเรียนรัฐบาลและเอกชน
ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมต้นและมัธยมปลายจากโรงเรียนทั้งของรัฐและ
เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 แห่ง  ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ได้แก่
การสุ่มโรงเรียนของรัฐบาลจำนวน 21 แห่ง และเอกชนจำนวน 9 แห่ง  จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์
อย่างเป็นระบบ  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,146 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 44.9 และเพศหญิง ร้อยละ 55.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีรวบรวมเก็บข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form)
จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 18 – 20 พฤษภาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 พฤษภาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางที่ 1: ข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
514
44.9
             หญิง
632
55.1
รวม
1,146
100.0
ระดับการศึกษา:
 
 
             มัธยมต้น
590
51.5
             มัธยมปลาย
556
48.5
รวม
1,146
100.0
ประเภทของโรงเรียน:
 
 
             รัฐบาล
802
70.0
             เอกชน
344
30.0
รวม
1,146
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: research@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776