หน้าเว็บไซต์หลัก
หัวข้อ การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในสายตาคนกรุงเทพฯ
                  ความนิยมสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยนับวันจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ   สาเหตุ
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีเทคโนโลยีในการปลอมแปลงสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น  ซีดี  ดีวีดีเพลงและ
ภาพยนตร์ รวมถึงสินค้าแบรนด์เนมต่างๆ  อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะทัศนคติและค่านิยมของคนไทยที่มีต่อเรื่องการซื้อสินค้า
ละเมิดลิขสิทธิ์ ดังนั้น แม้ว่าจะมีความพยายามในการปราบปรามจากภาครัฐ แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวจะยังไม่ลดลง
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจเรื่อง “การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมาย
การค้าในสายตาคนกรุงเทพฯ
”   ขึ้นเพื่อสะท้อนมุมมองของประชาชนต่อเรื่องดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้
รับทราบ   โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร อายุ 18 ปีขึ้นไป  ในทุกสาขาอาชีพ   จำนวนทั้งสิ้น
1,104 คน เป็นเพศชายร้อยละ 48.8 และเพศหญิงร้อยละ 51.2 เมื่อวันที่ 27 – 29 กรกฎาคมที่ผ่านมา สรุปผลได้ดังนี้
 
             1. พฤติกรรมการซื้อหรือเช่าสินค้าลอกเลียนแบบหรือละเมิดลิขสิทธิ์ พบว่า

 
ร้อยละ
ไม่เคยซื้อหรือเช่า
( โดยให้เหตุผลว่า คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ผิดกฎหมาย ฯลฯ)
20.1
เคยซื้อหรือเช่า
โดยในจำนวนนี้ระบุว่าสินค้าที่เคยซื้อหรือเช่า ได้แก่
  ซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์ ร้อยละ 40.4
  กระเป๋า รองเท้า แว่นตา นาฬิกา ร้อยละ  20.7
  เสื้อผ้า ร้อยละ  17.2
  อื่นๆ อาทิ เครื่องสำอาง โปรแกรมและ
   เกมคอมพิวเตอร์
ร้อยละ  1.6
79.9
 
 
             2. การรับทราบว่าเป็นสินค้าลอกเลียนแบบหรือสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ในตอนที่ตัดสินใจซื้อหรือเช่า                  (ถามเฉพาะผู้ที่เคยซื้อหรือเช่า)

 
ร้อยละ
ไม่ทราบ
7.3
ทราบ
โดยเหตุผลที่ตัดสินใจซื้อ คือ
  ราคาถูก ร้อยละ 48.6
  หาซื้อได้ง่าย ร้อยละ  26.4
  คุณภาพดีใกล้เคียงกับของแท้ ร้อยละ  15.7
  อื่นๆ อาทิ สินค้าบางตัวไม่มีในประเทศไทย
   ลองดูเพราะอยากรู้ ฯลฯ
ร้อยละ  2.0
92.7
 
 
             3. เมื่อถามถึงความรู้สึกผิดที่ไปซื้อหรือเช่าสินค้าดังกล่าว (ถามเฉพาะผู้ที่เคยซื้อหรือเช่า) พบว่า

 
ร้อยละ
รู้สึกผิด
48.0
ไม่รู้สึกผิด
52.0
 
 
             4. ความคิดเห็นต่อสาเหตุหลักที่ประเทศไทยยังคงมีปัญหาเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และ
                 เครื่องหมาย การค้า


 
ร้อยละ
สินค้าลิขสิทธิ์มีราคาแพงเกินไป
40.1
เจ้าหน้าที่รัฐปล่อยปละละเลยหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง
19.6
คนไทยขาดจิตสำนึกเรื่องการเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น
18.1
กฎหมายมีช่องโหว่
10.8
คนไทยขาดความรู้ความเข้าใจและไม่เห็นความสำคัญของเรื่องดังกล่าว
9.3
อื่นๆ อาทิ ค่านิยมการใช้ของนอก หาซื้อได้ง่ายกว่าของแท้
2.1
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อการแก้ปัญหาในเรื่องสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย

 
ร้อยละ
เห็นว่าไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าว
4.6
เห็นว่าควรแก้ปัญหา
โดยแนวทางในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมที่สุดคือ
  ลดราคาสินค้ามีลิขสิทธิ์ให้ถูกลง ร้อยละ 38.9
  เพิ่มบทลงโทษผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ให้รุนแรงขึ้น ร้อยละ  18.9
  ปลูกจิตสำนึกให้ละอายต่อการละเมิดทรัพย์สิน
   ทางปัญญาของผู้อื่น
ร้อยละ  17.4
  ปรับกฎหมายให้ทันสมัยและครอบคลุมมากขึ้น ร้อยละ  14.2
  ปรับปรุงกระบวนการดำเนินคดีให้กระชับ
   รวดเร็วขึ้น
ร้อยละ   8.6
  อื่นๆ อาทิ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ ต้องดำเนินการ
   ควบคู่กันไปทุกหน่วยงาน ไม่ผลักภาระหน้าที่
   ไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น
ร้อยละ   2.0
95.4
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อประเด็นเรื่องการออกกฎหมายเพื่อเอาผิดกับผู้ซื้อและผู้เช่าสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์  

 
ร้อยละ
ไม่เห็นด้วย
38.2
เห็นด้วยเฉพาะสินค้าประเภทซีดี ดีวีดีเพลงและภาพยนตร์
13.7
เห็นด้วยที่จะใช้กับสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ทุกประเภท
48.1

                      ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรรยา สิงห์สงบ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
             ได้ให้ความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ของประเทศไทยคือ การขาดการส่งเสริม
             ให้คนมีจิตสำนึกและเคารพต่องานสร้างสรรค์ของบุคคลอื่น นอกจากนี้การขาดความเข้าใจในเรื่อง
             ของการละเมิดลิขสิทธิ์ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งดำเนินการเพื่อสร้างความ
             เข้าใจที่ถูกต้อง เพราะบางครั้งผู้ละเมิดไม่คิดว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนชาวกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับการใช้ ซื้อ หรือเช่า สินค้า
ลอกเลียนแบบ และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า ตลอดจนสาเหตุและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทั้งนี้เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกสาขาอาชีพ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มเขตการปกครองทั้งเขตชั้นนอก ชั้นกลาง และชั้นใน
จำนวนทั้งสิ้น 21 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางกะปิ บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก
บึงกุ่ม ปทุมวัน ป้อมปราบฯ พญาไท พระนคร ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ วังทองหลาง สวนหลวง สะพานสูง และสาทร
จากนั้นจึงสุ่มถนนและประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,104 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 48.8  และเพศหญิงร้อยละ 51.2
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ สอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 27 - 29 กรกฎาคม 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 13 สิงหาคม 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
538
48.8
             หญิง
566
51.2
รวม
1,104
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
330
30.2
             26 – 35 ปี
354
32.6
             36 – 45 ปี
230
20.2
            46 ปีขึ้นไป
190
17.0
รวม
1,104
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
507
45.9
             ปริญญาตรี
507
45.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
90
8.2
รวม
1,104
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
83
7.5
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
420
38.0
             ค้าขาย / อาชีพส่วนตัว
238
21.6
             รับจ้างทั่วไป
112
10.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน/ เกษียณอายุ
47
4.3
             อื่นๆ อาทิ นักศึกษา อาชีพอิสระ เป็นต้น
204
18.5
รวม
1,104
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776