หัวข้อ   “ความเห็นประชาชนต่อสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบัน”
                 คนกรุงเทพฯ และปริมณฑลมั่นใจรัฐบาลสามารถควบคุมสถานการณ์ได้และจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ
ทางการเมือง   พร้อมฝากผู้มีอำนาจยึดแนวทางการแก้ปัญหาภายใต้กรอบประชาธิปไตย

                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)   เปิดเผยผลสำรวจความเห็นประชาชนที่มีต่อสถานการณ์
ทางการเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเด็นการชุมนุมใหญ่ของกลุ่ม นปช.  โดยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8 เชื่อว่า
รัฐบาลจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้และจะไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทางการเมือง

                 สำหรับแนวโน้มสถานการณ์การเมืองในปีหน้า (พ.ศ. 2553)  ส่วนใหญ่ร้อยละ 67.3  เชื่อว่าจะร้อนแรงกว่า
ปี 2552  โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 19.6 เชื่อว่าเหตุการณ์จะรุนแรงถึงขั้นสงครามกลางเมือง ขณะที่ร้อยละ 47.7 เชื่อว่าแม้ว่า
สถานการณ์จะร้อนแรงขึ้นแต่จะไม่ถึงขั้นสงครามกลางเมือง โดยเสียงส่วนใหญ่ร้อยละ 73.1 เห็นว่า ไม่ว่าเหตุการณ์จะรุนแรง
เพียงใดก็ยังควรยึดแนวทางการแก้ปัญหาภายใต้กรอบประชาธิปไตยเป็นหลัก

                 ส่วนแนวคิดที่คนไทยควรยึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์การเมืองในปัจจุบัน   ส่วนใหญ่
ร้อยละ 77.2 เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อแดงหรือเสื้อเหลืองก็เป็นคนไทยเหมือนกัน   มีความเห็นต่างกันได้แต่ก็ไม่ควร
แตกแยก และควรแสดงออกโดยยึดหลักไม่ใช้ความรุนแรง

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายในการชุมนุมของกลุ่ม นปช. (คนเสื้อแดง) พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อให้มีการยุบสภาฯ แล้วเลือกตั้งใหม่
36.0
เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อหวังกดดันให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ลาออก
24.0
เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อหวังผลในคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท. ทักษิณ
11.2
เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อสะท้อนความคิดเห็นทางการเมืองของกลุ่ม นปช.
7.7
เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อลดความน่าเชื่อถือของรัฐบาล
7.2
เห็นว่า มีเป้าหมายเพื่อสร้างความสนใจ/สร้างผลงานให้เป็นข่าว
6.5
ไม่แน่ใจ ไม่แสดงความเห็น
7.4
 
 
             2. ความเห็นเกี่ยวกับผลการชุมนุมเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่ม นปช. พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่า รัฐบาลจะสามารถควบคุมได้โดยไม่เกิดความสูญเสียและ
ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงใดๆทางการเมือง
57.8
เห็นว่า รัฐบาลจะสามารถควบคุมได้แต่ความสูญเสียน่าจะมากกว่าเหตุการณ์
การชุมนุมเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
24.1
เห็นว่า รัฐบาลจะไม่สามารถควบคุมได้และจะเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
การเมืองที่สำคัญคือการยุบสภาฯ
12.2
ไม่แน่ใจ ไม่แสดงความเห็น
5.9
 
 
             3. ความเห็นเกี่ยวกับทางออกที่เหมาะสมในกรณีที่เหตุการณ์ชุมนุมรุนแรงบานปลายถึงขั้น
                 เกิดการนองเลือด


 
ร้อยละ
เห็นว่าควรแก้ปัญหาภายใต้กรอบประชาธิปไตย
73.1
เห็นว่าควรใช้การรัฐประหาร
14.8
เห็นว่าควรใช้วิธีการอื่นๆ เช่น การเจรจาต่อรอง การจับตัวกลุ่มแกนนำ
ที่ทำผิด เป็นต้น
12.1
 
 
             4. การคาดการณ์ของประชาชน เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองโดยรวมในปีหน้า (พ.ศ. 2553)
                 เมื่อเปรียบเทียบกับปีนี้ (พ.ศ. 2552) พบว่า

 
ร้อยละ
เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงมากขึ้น
โดยในจำนวนนี้
  ร้อยละ 19.6 เชื่อว่าจะถึงขั้นสงครามกลางเมือง
  ร้อยละ 47.7 เชื่อว่าจะไม่ถึงขั้นสงครามกลางเมือง
67.3
เชื่อว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะร้อนแรงน้อยลง
25.2
ไม่แน่ใจ ไม่แสดงความเห็น
7.5
 
 
             5. การคาดการณ์ของประชาชน เกี่ยวกับการสิ้นสุดของปัญหาการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายทางการเมือง
                 ของไทย พบว่า

 
ร้อยละ
คาดว่าปัญหาจะสิ้นสุดลงภายใน 3 ปี (ภายในปี พ.ศ. 2555)
16.1
คาดว่าปัญหาจะสิ้นสุดลงภายใน 1 ปี (ภายในปี พ.ศ. 2553)
13.9
คาดว่าปัญหาจะสิ้นสุดลงภายใน 5 ปี (ภายในปี พ.ศ. 2557)
5.4
คาดว่าปัญหาจะยังไม่สิ้นสุดภายใน 10 ปีนี้ (ไม่สิ้นสุดภายในปี พ.ศ. 2562)
3.9
คาดว่าปัญหาจะสิ้นสุดภายใน 10 ปี (ภายในปี พ.ศ. 2562)
2.4
ไม่แน่ใจ/ไม่สามารถตอบได้
58.3
 
 
             6. แนวคิดที่เห็นว่า คนไทยควรยึดถือปฏิบัติในการดำเนินชีวิตภายใต้สถานการณ์การเมืองใน
                 ปัจจุบัน พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่าไม่ว่าจะเป็นคนเสื้อแดงหรือเสื้อเหลืองก็เป็นคนไทยเหมือนกัน
มีความเห็นต่างกันได้ แต่ก็ไม่ควรแตกแยก และควรแสดงออก
โดยยึดหลักไม่ใช้ความรุนแรง
77.2
เห็นว่าควรมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องธรรมดาของโลก ไม่ต้องคิดมาก
หรือกังวลเกินเหตุ
13.6
เห็นว่าแต่ละฝ่ายควรเดินหน้าทำทุกวิถีทางเพื่อให้เห็นผลแพ้ชนะกันไป
ข้างหนึ่ง
3.9
ไม่แสดงความเห็น
5.3
 
 
             7. เปรียบเทียบฐานเสียงสนับสนุนของประชาชนที่มีต่อ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ กับ
                 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (หากมี การเลือกตั้งในปี 2553) พบว่า

 
ร้อยละ
สนับสนุนฝ่ายนายอภิสิทธิ์
30.1
สนับสนุนฝ่าย พ.ต.ท. ทักษิณ
24.6
ไม่สนับสนุนทั้งสองฝ่าย/ยังไม่ตัดสินใจ
45.3
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร
จำนวน 26 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ ธนบุรี คลองสามวา บางกอกใหญ่ บางซื่อ ประเวศ
ภาษีเจริญ สะพานสูง สัมพันธวงศ์ คลองเตย คันนายาว จตุจักร จอมทอง ดินแดง บางกะปิ บางขุนเทียน บางคอแหลม
บางแค บางนา พญาไท พระนคร ราชเทวี ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง และหนองจอก และจังหวัดในเขต
ปริมณฑลรวม 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,121 คน
เป็นชายร้อยละ 49.9 และหญิงร้อยละ 50.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน
ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบ
ความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 21 – 22 พฤศจิกายน 2552
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 พฤศจิกายน 2552
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
559
49.9
             หญิง
562
50.1
รวม
1,121
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
286
25.5
             26 – 35 ปี
332
29.6
             36 – 45 ปี
261
23.3
             46 ปีขึ้นไป
242
21.6
รวม
1,121
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
635
56.7
             ปริญญาตรี
425
37.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
61
5.4
รวม
1,121
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
97
8.7
             พนักงาน / ลูกจ้างบริษัทเอกชน
362
32.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
321
28.6
             รับจ้างทั่วไป
133
11.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
61
5.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน นักศึกษา
147
13.1
รวม
1,121
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776