หัวข้อ   “ความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการปรองดอง”
                 นักเศรษฐศาสตร์สนับสนุนหลักการ “รัฐสวัสดิการ” เพื่อการปรองดอง พร้อมเสนอ 5 ข้อฝ่าวิกฤติ
การเมืองหลังเลือกตั้งครั้งใหม่

                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ที่ทำงาน
อยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 23 แห่ง เรื่อง “ความเป็นธรรมทาง
เศรษฐกิจเพื่อการปรองดอง
” ซึ่งเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 7-12 พ.ค. พบว่า

                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 56.3 เชื่อว่าสังคมไทยโดยทั่วไปนั้นมี 2 มาตรฐานจริง
ตามที่กลุ่ม นปช. ใช้กล่าวอ้างในการชุมนุม ดังนั้น การสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมไทยจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการ
แก้ไข โดยนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 33.1 เห็นว่าควรแก้ไขเรื่องความเป็นธรรมด้านสวัสดิการทางสังคม
ให้เท่าเทียมกัน
รองลงมาควรแก้ไขเรื่องความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ และด้านกระบวนการยุติธรรม คิดเป็นร้อยละ 30.1
และ 22.6 ตามลำดับ ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 60.9 เห็นว่า หลักการ “รัฐสวัสดิการ” สามารถ
ช่วยลดช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยได้และช่วยให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงความจำเป็นพื้นฐาน เกิดความ
เท่าเทียมกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้


                 อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงความเห็นที่มีต่อกระบวนการปรองดองของนายกรัฐมนตรีว่าจะสามารถแก้
วิกฤติทางการเมืองในปัจจุบันและในอนาคตหลังการเลือกตั้งได้หรือไม่ พบว่า นักเศรษฐศาสตร์มากถึงร้อยละ 73.4
เชื่อว่ากระบวนการปรองดองดังกล่าวจะสามารถแก้วิกฤติได้เฉพาะในปัจจุบันเท่านั้น แต่ไม่มั่นใจว่าจะสามารถ
แก้วิกฤติอนาคต
หลังการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้ จึงเสนอความเห็น 5 ข้อเพื่อการปรองดองหลังการเลือกตั้ง ดังนี้
                       1. เสนอให้ร่างกระบวนการปรองดองทั้ง 5 ข้อที่ครอบคลุมทุกประเด็น ชัดเจนเป็นรูปธรรมและ
                           มีกำหนดเวลาที่แน่นอน โดยคำนึงถึงความถูกต้องและเหมาะสมกับสังคมไทย
                       2. ประกาศร่างกระบวนการปรองดองให้สาธารณชนรับทราบ
                       3. ลงสัตยาบันในร่างกระบวนการปรองดองดังกล่าวต่อสาธารณชน
                       4. เคารพผลการเลือกตั้ง เคารพคำตัดสินของ กกต. เคารพคำตัดสินของศาล
                       5. จริงใจและเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเท็จจริงจากฝ่ายตรงข้าม ด้วยใจเป็นธรรม
                           และยึดประโยชน์ของประเทศและส่วนรวมเป็นสำคัญ

                 (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ความเห็นต่อประเด็น สังคมไทยโดยทั่วไปมี 2 มาตรฐานจริงตามที่กลุ่ม นปช. กล่าวอ้างหรือไม่

 
ร้อยละ
เห็นว่า สังคมไทยมี 2 มาตรฐานจริง
56.3
เห็นว่า สังคมไทยมีเพียงมาตรฐานเดียว
20.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
23.4
 
 
             2. ความเห็นต่อประเด็น ความเป็นธรรมในสังคมไทยที่ควรได้รับการแก้ไข

 
ร้อยละ
คิดว่าควรแก้ไขความเป็นธรรมด้านสวัสดิการทางสังคมให้
เท่าเทียมกัน (เช่นด้านการศึกษา สาธารณสุข)
33.1
คิดว่าควรแก้ไขความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจ (เช่น การเข้าถึงโอกาส
การมีอาชีพ การมีรายได้)
30.1
คิดว่าควรแก้ไขความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม (กระบวนการ
ยุติธรรมที่พึ่งพิงได้)
22.6
คิดว่าควรแก้ไขความเป็นธรรมด้านการเข้าถึงสาธารณูปโภคพื้นฐาน
10.5
คิดว่าควรแก้ไขความเป็นธรรมด้านอื่นๆ เช่น ภาษี การบังคับใช้กฎหมาย
1.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.4
 
 
             3. ความเห็นต่อประเด็น การนำหลัก “รัฐสวัสดิการ” มาใช้กับสังคมไทยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
                 และสร้างความเป็นธรรมให้กับสังคม


 
ร้อยละ
เห็นด้วย
เพราะ
  • ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวยมีระยะห่างมากขึ้นไม่ว่า
    จะเป็นช่องว่างด้านรายได้ ด้านโอกาสทางสังคม
    ด้านคุณภาพชีวิต ด้านอำนาจต่อรอง เป็นต้น
  • รัฐสวัสดิการจะช่วยให้คนส่วนใหญ่เข้าถึงความจำเป็น
    พื้นฐาน เกิดความเท่าเทียมกัน และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • เป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการสร้างโอกาส สร้างงาน
    ส่งเสริมและพัฒนาคนให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่าง
    ยั่งยืน
60.9
ไม่เห็นด้วย
เพราะ
  • ต้องใช้งบประมาณสูงเป็นภาระผูกพัน ขณะที่รัฐยังพึ่งพา
    ภาษีทางอ้อมเป็นสัดส่วนสูง การขึ้นภาษีก็ทำได้ลำบาก
    อีกทั้งคนชนชั้นกลางปัจจุบันก็ แบกรับภาระภาษีมาก
    อยู่แล้ว ดังนั้นจึงควรแก้ที่โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลก่อน
  • จะทำให้ประชาชนมีประสิทธิภาพในการพึ่งพาตัวเอง
    ที่ลดลง นำมาสู่ความอ่อนแอของภาคประชาชน
    รวมทั้งสังคมยังขาดความโปร่งใสและคุณธรรมจริยธรรม
  • อาจเป็นเครื่องมือหลักในการหาเสียงของนักการเมือง
    และเสี่ยงต่อการทุจริตคอร์รัปชั่น
18.8
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
20.3
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็น กระบวนการปรองดองทั้ง 5 ข้อที่นายกรัฐมนตรีเสนอ จะสามารถแก้วิกฤติ
                 ทางการเมืองในปัจจุบันและในอนาคตหลังการเลือกตั้งครั้งใหม่ ได้หรือไม่

 
ร้อยละ
เห็นว่า สามารถแก้วิกฤติในปัจจุบันได้ แต่ไม่มั่นใจว่าจะสามารถ
แก้วิกฤติในอนาคตได้หรือไม่
73.4
เห็นว่า ไม่สามารถแก้ได้ทั้งวิกฤติในปัจจุบันและในอนาคต
9.4
เห็นว่า สามารถแก้วิกฤติในปัจจุบันและในอนาคตได้
6.3
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
10.9
 
 
             5. ข้อเสนอของนักเศรษฐศาสตร์ต่อรัฐบาลและกลุ่มผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้กระบวนการปรองดอง
                 สามารถแก้วิกฤติทางการเมืองได้จริงทั้งในปัจจุบันและในอนาคตหลังการเลือกตั้งครั้งใหม่

 
  1. เสนอให้ร่างกระบวนการปรองดองทั้ง 5 ข้อที่ครอบคลุมทุกประเด็น ชัดเจน เป็นรูปธรรม
      มีกำหนดเวลาที่แน่นอน โดยคำนึงถึงความถูกต้องและเหมาะสมกับสังคมไทย
  2. ประกาศร่างกระบวนการปรองดองให้สาธารณชนรับทราบ
  3. ลงสัตยาบันในร่างกระบวนการปรองดองดังกล่าวต่อสาธารณชน
  4. เคารพผลการเลือกตั้ง เคารพคำตัดสินของ กกต. เคารพคำตัดสินของศาล
  5. จริงใจและเปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเท็จจริงจากฝ่ายตรงข้าม ด้วยใจเป็นธรรม
      และยึดประโยชน์ของประเทศและส่วนรวมเป็นสำคัญ
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้ เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:
                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง  จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี)  ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 23 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักงาน
               เศรษฐกิจอุตสาหกรรม   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
               ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารไทยพาณิชย์   ธนาคารธนชาต   ธนาคารเพื่อการ
               ส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   บริษัททริสเรทติ้ง   บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส
               บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน  บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน  บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า
               บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัย
               สงขลานครินทร์   และอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนักวิจัยประจำศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                        รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
               ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 7 - 12 พฤษภาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 13 พฤษภาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่าง
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
32
50.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
34.4
             สถาบันการศึกษา
10
15.6
รวม
64
100.0
เพศ:    
             ชาย
36
56.2
             หญิง
28
43.8
รวม
64
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
2
3.0
             26 – 35 ปี
36
56.3
             36 – 45 ปี
14
21.9
             46 ปีขึ้นไป
12
18.8
รวม
64
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.6
             ปริญญาโท
49
76.6
             ปริญญาเอก
12
18.8
รวม
64
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
18
28.1
             6 - 10 ปี
20
31.3
             11 - 15 ปี
6
9.4
             16 - 20 ปี
7
10.9
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
13
20.3
รวม
64
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776