หัวข้อ   “วิชาภาษาไทยในความเห็นของวัยรุ่นยุคใหม่”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  ระบุ วัยรุ่นยุคใหม่ให้ความสนใจวิชาภาษาไทยพอๆ กับ
วิชาอื่น ทั้งนี้วัยรุ่นร้อยละ 40.4  เห็นว่าหากมีวิธีการเรียนการสอนที่สนุก  ไม่น่าเบื่อ  และมีหลักการจำให้เข้าใจเนื้อหา
ได้ง่ายเหมือนโรงเรียนกวดวิชา จะสามารถดึงดูดใจให้นักเรียนหันมาสนใจเรียนวิชาภาษาไทยได้มากขึ้น  รองลงมา
ร้อยละ 19.8  เสนอให้มีกิจกรรม  เช่น  เกมทายคำศัพท์  และ  ทอล์คโชว์ประกอบการเรียนเพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วม
และ   ร้อยละ 19.7 เสนอให้นำสื่อและเทคโนโลยีสมัยใหม่  เช่น การ์ตูนแอนนิเมชัน และอินเทอร์เน็ตมาใช้ประกอบ
การเรียนการสอน

                 สำหรับประเด็นเรื่องการใช้คำสแลง หรือภาษาแปลกๆ ใหม่ๆ ที่วัยรุ่นนิยมใช้พูดคุย หรือส่งข้อความถึงกัน
อยู่ในขณะนี้  พบว่ามีวัยรุ่นถึงร้อยละ 92.9  ที่ใช้ภาษาในลักษณะดังกล่าวโดยส่วนใหญ่จะใช้ในการแชทพูดคุย  ผ่าน
อินเทอร์เนต  และพูดคุยในกลุ่มเพื่อน  โดยให้เหตุผลว่าง่าย สะดวก รวดเร็ว และสื่อความหมายได้ชัดเจนตรงตามความ
ต้องการ   อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นส่วนใหญ่ยังเห็นว่าความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องและเหมาะสม นั้น
จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองอย่างมาก

                 ส่วนความรู้สึกที่มีต่อการโพสต์ข้อความด้วยถ้อยคำที่รุนแรง หยาบคาย  หรือผิดหลักภาษาไทยลงบน
บล็อก หรือเว็บบอร์ดทางอินเทอร์เน็ตนั้น วัยรุ่นส่วนใหญ่ระบุว่าไม่ชอบการโพสต์ข้อความในลักษณะดังกล่าว เพราะเป็น
การทำลายภาษาไทย ทำให้เกิดการจดจำแบบผิดๆ และไม่เคารพคนอ่าน

                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. เมื่อพูดถึงวิชาภาษาไทย สิ่งที่วัยรุ่นนึกถึง 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบ
                 ระบุเอง)


 
ร้อยละ
พยัญชนะ ก - ฮ และ ตัวสะกดแม่ต่างๆ
18.6
วรรณคดีไทย เช่น พระอภัยมณี รามเกียร์ติ ขุนช้างขุนแผน
16.1
บทกลอน บทกวี ทำนองเสนาะ
15.8
ครูสอนวิชาภาษาไทย
9.7
การพูด อ่าน เขียนภาษาไทยที่ถูกต้องไพเราะ
9.6
 
 
             2. ความสนใจที่มีต่อการเรียนวิชาภาษาไทยเมื่อเปรียบเทียบกับวิชาอื่น พบว่า่

 
ร้อยละ
ให้ความสนใจพอๆ กันกับวิชาอื่น
72.3
ให้ความสนใจน้อยกว่าวิชาอื่น
18.7
ให้ความสนใจมากกว่าวิชาอื่น
9.0
 
 
             3. วิธีการเรียนการสอนที่เหมาะสมและดึงดูดให้วัยรุ่นสนใจเรียนวิชาภาษาไทยมากที่สุด
                 5 อันดับแรก คือ
(เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
สอนให้สนุก ไม่น่าเบื่อ ไม่เครียด มีหลักการจำให้เข้าใจง่าย
เหมือนอาจารย์ที่โรงเรียนกวดวิชา (เช่น อาจารย์ปิง และ ครูลิลลี่)
40.4
มีกิจกรรมระหว่างการสอน เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วม เช่น เล่นเกมคำศัพท์
ภาษาไทย โต้วาที ทอล์กโชว์ ฯลฯ
19.8
ใช้สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ ประกอบการสอน เช่น การ์ตูนแอนนิเมชั่น
PowerPoint การสอนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต ฯลฯ
19.7
ครูผู้สอนมีความคิดที่ทันสมัย เข้าใจนักเรียน และสามารถประยุกต์ เนื้อหา
ให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และยกตัวอย่างได้
14.4
ให้มีการจัดการเรียนนอกห้องเรียน หรือ นอกสถานที่บ้าง
2.8
 
 
             4. การใช้ศัพท์สแลง หรือภาษาเฉพาะในหมู่วัยรุ่นในการพูดคุย เขียน หรือส่งข้อความถึงกัน พบว่า

 
ร้อยละ
ใช้
โดยใช้ถ้อยคำเหล่านั้นเมื่อ
  • ใช้ในการแชท พูดคุยผ่านอินเทอร์เนต
  • ใช้ในการพูดคุยกับกลุ่มเพื่อน
  • ใช้ในการส่ง SMS ผ่านมือถือ
  • ใช้ในชีวิตประจำวันตลอดเวลา
ร้อยละ  37.2
ร้อยละ  28.2
ร้อยละ  17.6
ร้อยละ  9.9
92.9
ไม่ใช้
( โดยให้เหตุผลว่า ต้องการอนุรักษ์ภาษาไทย ภาษาวัยรุ่นอ่านยาก
   และไม่ได้เล่นอินเทอร์เน็ต ฯลฯ )
7.1
 
 
             5. สาเหตุหลักที่ทำให้วัยรุ่นใช้ถ้อยคำภาษาเหล่านั้น คือ (ถามเฉพาะผู้ที่ระบุว่าใช้ในข้อ 4)

 
ร้อยละ
ง่าย สะดวด รวดเร็ว
68.2
สื่อความหมายได้ชัดเจนตรงตามความต้องการ
11.4
เท่ห์ อินเทรนด์ ตามกระแส
8.5
ใช้ตามเพื่อน
8.2
สะกดคำที่ถูกต้องไม่เป็น
2.4
ใช้ตามดารา นักร้อง ที่พูดผ่านสื่อต่างๆ
0.4
อื่นๆ อาทิ ตลกดี อยากลองใช้ดูบ้าง เคยชิน ฯลฯ
0.9
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่ตนเองจะได้รับหากสามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้อง คือ

 
ร้อยละ
เห็นว่าจะได้ประโยชน์มาก
63.9
เห็นว่าได้ประโยชน์ปานกลาง
33.6
เห็นว่าจะได้ประโยชน์น้อย
2.0
เห็นว่าจะไม่ได้ประโยชน์เลย
0.5
 
 
             7. ความรู้สึกต่อการโพสต์ข้อความด้วยถ้อยคำที่รุนแรง หยาบคาย หรือผิดหลักภาษาไทย ลงบน
                 บล็อก หรือ เว็บบอร์ด ทางอินเทอร์เนต


 
ร้อยละ
รู้สึกชอบ
( โดยให้เหตุผลว่า สะใจดี อ่านแล้วเข้าใจง่าย ฯลฯ )
1.9
รู้สึกเฉยๆ
( โดยให้เหตุผลว่า ภาษาเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ไม่เกี่ยว
   อะไรด้วย เป็นเรื่องปกติ เป็นภาษาที่ใช้พูดคุยกันทั่วไป ฯลฯ )
32.6
รู้สึกไม่ชอบ
( โดยให้เหตุผลว่า เป็นการทำลายภาษาไทย ทำให้เกิดการ
   จดจำแบบผิดๆ ไม่เคารพคนอ่าน และทำให้ดูเป็นคนมีการ
   ศึกษาน้อย ฯลฯ )
65.5
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของวัยรุ่นที่ใช้ชีวิตอยู่ในกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับการเรียนและการใช้ภาษาไทย
ในปัจจุบัน เพื่อสะท้อนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อประโยชน์ต่อประเทศชาติ
และสังคมส่วนรวมต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างวัยรุ่นอายุ 13-22 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ
หลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น
28 เขต ได้แก่ เขตคลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ทุ่งครุ ธนบุรี บางกอกน้อย บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม
บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง มีนบุรี ยานนาวา ราชเทวี ลาดพร้าว วัฒนา
สวนหลวง สาทร สายไหม และหนองจอก จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ
ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,259 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.4 และเพศหญิง ร้อยละ 49.6
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ
สอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิดให้
ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน
บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 15 - 18 กรกฎาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 กรกฎาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
635
50.4
             หญิง
624
49.6
รวม
1,259
100.0
อายุ:
 
 
             13 – 15 ปี
359
28.5
             16 – 18 ปี
456
36.2
             19 – 22 ปี
444
35.3
รวม
1,259
100.0
การศึกษา:
 
 
             มัธยมศึกษาตอนต้น
310
24.6
             มัธยมศึกษาตอนปลาย / ปวช.
442
35.1
             อุดมศึกษา / ปวส.
468
37.2
             จบการศึกษา / ไม่ได้ศึกษา
39
3.1
รวม
1,259
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776