หัวข้อ   “คิดเห็นของเยาวชนต่อการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทย”
                 ด้วยวันที่ 7 สิงหาคมที่จะถึงนี้ตรงกับ  วันรพี  ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ
พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์  กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์  พระบิดาแห่งกฎหมายไทย   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)   จึงได้ดำเนินโครงการสำรวจเรื่อง “ความคิดเห็นของเยาวชนต่อการบังคับใช้กฎหมายใน
สังคมไทย
”  โดยเก็บข้อมูลจากเยาวชนอายุ 18 – 25 ปีในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 1,284 คน เมื่อ
วันที่ 30 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า

                 เยาวชนไทยร้อยละ 78.7 เห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยในปัจจุบันยังมีความ
ไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม
  โดยในจำนวนนี้เห็นว่าสาเหตุสำคัญที่สุดเกิดจาก ผู้รักษากฎหมายละเลย ไม่ปฏิบัติ
หน้าที่ หรือเลือกปฏิบัติ (ร้อยละ 43.3)   รองลงมาคือ ประชาชนหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้อยละ 17.3)
และตัวบทกฎหมายไม่เหมาะสม มีช่องโหว่ ล้าสมัย (ร้อยละ 14.0)

                 สำหรับการกระทำผิดกฎหมายในสังคมไทยที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดในสายตาเยาวชนอันดับ
แรกคือ เรื่องยาเสพติด (ร้อยละ 18.8)
   รองลงมาคือ เรื่องการชุมนุมประท้วงเกินขอบเขตของกฎหมาย
(ร้อยละ 18.2)   และเรื่องการทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ (ร้อยละ 17.3)

                 เมื่อสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับข่าวหรือเหตุการณ์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ที่สะท้อนถึงการ
ไม่เคารพกฎหมายในสังคมไทยมากที่สุดพบว่าอันดับแรกคือ
  การชุมนุมประท้วงทางการเมืองที่เกินขอบเขต
ของกฎหมายของกลุ่ม นปช. (ร้อยละ 61.0)   รองลงมาคือ การค้ายาเสพติด โดยเฉพาะยาบ้า (ร้อยละ 7.4)
และการล่วงละเมิดทางเพศ / ข่มขืน (ร้อยละ 5.9)

                 ส่วนความเห็นต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่สมควรจะต้องปรับปรุงตัวเองมากที่สุดเพื่อให้การ
บังคับใช้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์ เหมาะสม และเป็นธรรม พบว่าอันดับแรกคือ ประชาชนคนไทยทุกคนที่จะต้อง
ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้อยละ 54.2)
   รองลงมา คือเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รักษากฎหมาย
เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ / ศาล (ร้อยละ 23.4)    และนักการเมืองที่มีบทบาทสำคัญในการออกกฎหมายและบังคับใช้
กฎหมาย (ร้อยละ 21.4)

                 ส่วนความเห็นต่อการลดบทบาทในการออกกฎหมายของนักการเมือง  ว่าจะช่วยแก้ปัญหาความไม่
เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายของไทยได้หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 28.7 เชื่อว่าได้   ขณะที่ร้อยละ 23.9 เชื่อว่า
ไม่ได้    อย่างไรก็ตามมีถึง ร้อยละ 47.4 ที่ตอบว่าไม่แน่ใจ

                 โปรดพิจารณารายละเอียดใน รายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นว่าไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม
โดยสาเหตุสำคัญที่สุดที่ทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เหมาะสมและยัง
ไม่เป็นธรรม พบว่า
  • ผู้รักษากฎหมายละเลย ไม่ปฏิบัติหน้าที่
    หรือเลือกปฏิบัติ
ร้อยละ 43.3
  • ประชาชนหลีกเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
ร้อยละ 17.3
  • ตัวบทกฎหมายไม่เหมาะสม มีช่องโหว่
    ล้าสมัย
ร้อยละ 14.0
  • อื่นๆ เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น การรับส่วย
    การรับสินบนของผู้รักษากฎหมาย
ร้อยละ  4.1
78.7
เห็นว่าเหมาะสมและเป็นธรรมดีแล้ว
21.3
 
 
             2. การกระทำผิดกฎหมายในสังคมไทย ที่พบเห็นบ่อยครั้งที่สุดในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
เรื่องการชุมนุมประท้วงเกินขอบเขตกฎหมาย
16.7
เรื่องยาเสพติด
15.4
เรื่องการจราจร เช่น เมาแล้วขับ ขับรถฝ่าไฟแดง
13.4
เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ซื้อเทป ซีดี เถื่อน
12.8
เรื่องการโจรกรรม ลักทรัพย์ ฉกชิงวิ่งราว
11.3
เรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
8.5
เรื่องการทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ
7.9
เรื่องการใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายในการลิดรอนสิทธิของ
ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย เช่นการใช้ความรุนแรงสลาย
การชุมนุม
6.5
อื่นๆ เช่น เรื่องการพนัน เรื่องการหลีกเลี่ยงภาษี
7.5
 
 
             3. ความคิดเห็นต่อเรื่องการกระทำผิดกฎหมายในสังคมไทย ที่เป็นปัญหาน่าห่วงมากที่สุด พบว่า

 
ร้อยละ
เรื่องยาเสพติด
18.8
เรื่องการชุมนุมประท้วงเกินขอบเขตกฎหมาย
18.2
เรื่องการทำร้ายร่างกายและล่วงละเมิดทางเพศ
17.3
เรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน
16.4
เรื่องการใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายในการลิดรอนสิทธิของ
ประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย เช่นการใช้ความรุนแรงสลาย
การชุมนุม
10.7
เรื่องการโจรกรรม ลักทรัพย์ ฉกชิงวิ่งราว
6.9
อื่นๆ เช่น เรื่องการจราจร เรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์
11.7
 
 
             4. ความคิดเห็นต่อข่าวหรือเหตุการณ์ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ที่สะท้อนถึงการไม่เคารพกฎหมาย
                 ในสังคมไทยมากที่สุด พบว่า   (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง)


 
ร้อยละ
การชุมนุมประท้วงทางการเมืองที่เกินขอบเขตของกฎหมาย
ของกลุ่ม นปช.
61.0
การค้ายาเสพติด โดยเฉพาะยาบ้า
7.4
การล่วงละเมิดทางเพศ / ข่มขืน
5.9
การใช้อำนาจเกินขอบเขตของรัฐบาลในการสลายการชุมนุม
5.6
การก่อการร้าย การเผาทำลายบ้านเมือง
5.5
การทุจริตคอร์รัปชันของข้าราชการ นักการเมือง
3.6
อื่นๆ เช่น การเมาแล้วขับ การละเมิดลิขสิทธิ์ การปล้นร้านทอง
11.0
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่สมควรจะต้องปรับปรุงตัวเองมากที่สุดเพื่อให้การ
                 บังคับใช้กฎหมายมีความศักดิ์สิทธิ์ เหมาะสม และเป็นธรรม พบว่า  
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุคำตอบเอง)


 
ร้อยละ
ประชาชนคนไทยทุกคน
54.2
เจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้รักษากฎหมาย เช่น เจ้าหน้าที่
ตำรวจ  ศาล
23.4
นักการเมือง
21.4
อื่นๆ อาทิ แกนนำผู้ชุมนุมประท้วง
1.0
 
 
             6. ความคิดเห็นต่อการลดบทบาทในการออกกฎหมายของนักการเมือง จะช่วยแก้ปัญหาความ
                 ไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายได้หรือไม่ พบ่วา


 
ร้อยละ
ได้
28.7
ไม่ได้
23.9
ไม่แน่ใจ
47.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเยาวชนอายุ 18-25 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง
แบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก จำนวน
ทั้งสิ้น 34 เขต ได้แก่ เขตคลองสาน คลองสามวา จอมทอง ดอนเมือง ดินแดง บางกอกใหญ่ บางกะปิ บางขุนเทียน
บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง พระนคร มีนบุรี ยานนาวา
ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดพร้าว วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง สาทร สายไหม หนองแขม หนองจอก หลักสี่ และ
ห้วยขวาง  จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,284 คน
เป็นเพศชายร้อยละ 49.2  และเพศหญิงร้อยละ 50.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็น
แบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน
บันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 30 กรกฎาคม - 1 สิงหาคม 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 5 สิงหาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
628
49.2
             หญิง
656
50.8
รวม
1,248
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 20 ปี
480
37.4
             21 – 23 ปี
445
34.7
             24 – 25 ปี
359
27.9
รวม
1,248
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
15
43.1
             ปริญญาตรี
553
52.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
677
3.0
             ไม่ระบุการศึกษา
39
1.2
รวม
1,248
100.0
 
Vote:  ดีมาก(5) ดี (4) ปานกลาง(3) พอใช้ (2) แย่ (1)  
 ผลคะแนนVote              
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776