หัวข้อ   “การเมืองไทยจะเป็นอย่างไรหากพรรคประชาธิปัตย์ถูกยุบ”
                 จากการที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดแถลงปิดคดีด้วยวาจา  ในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์
กรณีเงินอุดหนุน 29 ล้านบาท  ในวันที่ 29 พฤศจิกายน นี้   ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์)  จึงได้สำรวจความคิดเห็นประชาชนจากทั่วทุกภาคของประเทศ  พบว่า
ประชาชนร้อยละ 30.3 ไม่แน่ใจว่าทิศทางการเมืองของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไรหากพรรค
ประชาธิปัตย์ถูกยุบ  ส่วนร้อยละ 25.0 เชื่อว่าจะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  โดยจะมีผลทำให้
การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงักเพราะต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ เกิดการแย่งชิงอำนาจใน
การบริหารประเทศ  แต่ขณะเดียวกันก็จะช่วยลดภาพความเป็น 2 มาตรฐานลง
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 สำหรับรัฐบาลใหม่ที่ประชาชนอยากได้หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และ
นายกฯ อภิสิทธิ์ถูกเว้นวรรค ทางการเมือง  พบว่า ร้อยละ 45.4 ต้องการรัฐบาลที่มาจากการ
เลือกตั้งใหม่ทั้งชุด  ขณะที่ร้อยละ 43.7 ต้องการรัฐบาลที่มาจาก ส.ส. ชุดเดิมในปัจจุบัน
รวมกับ ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้งซ่อมแทน ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกตัดสิทธิ์  และ
ร้อยละ 10.9 ต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลเฉพาะกิจมาบริหารประเทศจน
ครบเทอม
 
                 บุคคลที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หากมีการยุบพรรค
ประชาธิปัตย์ และนายกฯ อภิสิทธิ์ ถูกเว้นวรรคทางการเมือง  พบว่า  อันดับแรกคือนายอานันท์ ปันยารชุน  ร้อยละ 12.0
รองลงมาคือนายชวน หลีกภัย  ร้อยละ 11.4   และนายกรณ์ จาติกวณิช  ร้อยละ 8.0  ตามลำดับ
 
                 ส่วนความเห็นต่อประเด็นที่ว่า ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ จะตัดสินใจยุบสภา ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
เรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ประชาชนร้อยละ 56.0 ไม่เห็นด้วย ขณะที่ร้อยละ 44.0 เห็นด้วย
   
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อทิศทางการเมืองไทยต่อจากนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรค
                 ประชาธิปัตย์ คือ

 
ร้อยละ
ดีขึ้น
20.4
เหมือนเดิม
25.0
แย่ลง
24.3
ไม่แน่ใจ ไม่ชัดเจน
30.3
 
 
             2. ผลกระทบที่มีต่อการเมืองไทยถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ คือ

 
ร้อยละ
ทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงักเพราะต้องมีการจัดตั้ง
รัฐบาลชุดใหม่
24.1
ทำให้เกิดการแย่งชิงอำนาจในการบริหารประเทศ
21.5
ลดภาพความเป็น 2 มาตรฐานลง
18.4
เกิดการต่อรองทางการเมืองเพิ่มขึ้น
12.8
ความขัดแย้งทางการเมืองลดลง
12.7
เกิดการสลับขั้วทางการเมือง
8.7
อื่นๆ อาทิ เหมือนเดิม และไม่ออกความเห็น
1.8
 
 
             3. รัฐบาลใหม่ที่ประชาชนต้องการได้ หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์ และนายกฯ อภิสิทธิ์
                 ถูกเว้นวรรคทางการเมือง คือ


 
ร้อยละ
รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่ทั้งชุด
45.4
รัฐบาลที่มาจาก ส.ส.ชุดเดิมในปัจจุบันรวมกับ ส.ส.ที่มาจากการ
เลือกตั้งซ่อม แทน ส.ส.ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ถูกตัดสิทธิ์
  โดยต้องการให้เป็น
     - รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เดิมเป็นแกนนำและี
     มีพรรคร่วมรัฐบาลชุดเดิม
ร้อยละ 15.8
     - รัฐบาลที่มีพรรคประชาธิปัตย์เดิมเป็นแกนนำแต่
     เปลี่ยนพรรคร่วมรัฐบาลใหม่
ร้อยละ 12.6
     - รัฐบาลที่มีพรรคร่วมรัฐบาลชุดเดิมแต่เปลี่ยนพรรค
     แกนนำใหม่
ร้อยละ 8.4
     - เปลี่ยนขั้วรัฐบาลใหม่โดยให้พรรคเพื่อไทยเป็น
     แกนนำจัดตั้งรัฐบาล
ร้อยละ 6.9
43.7
จัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติหรือรัฐบาลเฉพาะกิจมาบริหารประเทศจนครบเทอม
10.9
 
 
             4. บุคคลที่ประชาชนต้องการให้เป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ หากมีการยุบพรรคประชาธิปัตย์
                 และนายกฯ อภิสิทธิ์ ถูกเว้นวรรคทางการเมือง คือ

 
ร้อยละ
บุคคลภายนอกที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมือง
  บุคคลที่ต้องการ 3 อันดับแรก ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุเอง)
     - นายอานันท์ ปันยารชุน ร้อยละ 12.0
     - ร.ต.อ. ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ร้อยละ 1.9
     - นายวิกรม กรมดิษฐ์ ร้อยละ 1.5
40.1
บุคคลในพรรคอื่นที่ไม่ใช่พรรคพรรคประชาธิปัตย์เดิม
  บุคคลที่ต้องการ 3 อันดับแรก ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุเอง)
     - ร.ต.อ. เฉลิม อยู่บำรุง ร้อยละ 3.5
     - พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ร้อยละ 3.0
     - พล.อ สนธิ บุญยรัตกลิน ร้อยละ 1.5
30.4
บุคคลในพรรคประชาธิปัตย์เดิม
  บุคคลที่ต้องการ 3 อันดับแรก ได้แก่ (เป็นคำถามปลายเปิด
ให้ผู้ตอบระบุเอง)
     - นายชวน หลีกภัย ร้อยละ 11.4
     - นายกรณ์ จาติกวณิช ร้อยละ 8.0
     - นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ร้อยละ 4.8
29.5
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อประเด็นที่ว่า ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์ จะตัดสินใจยุบสภา ก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญ
                 จะมีคำวินิจฉัยเรื่องการยุบพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
44.0
ไม่เห็นด้วย
56.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ
ในทุกภาคของประเทศ  โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการ
สัมภาษณ์แบบพบตัว  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,203 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 51.5  และเพศหญิงร้อยละ 48.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วย
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และคำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถาม
ทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล: 18 - 22   พฤศจิกายน 2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 พฤศจิกายน 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
619
51.5
             หญิง
584
48.5
รวม
1,203
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
295
24.5
             26 – 35 ปี
337
28.0
             36 – 45 ปี
298
24.8
             46 ปีขึ้นไป
273
22.7
รวม
1,203
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
571
47.5
             ปริญญาตรี
549
45.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
83
6.9
รวม
1,203
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ
161
13.4
             พนักงานบริษัทเอกชน
390
32.4
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
310
25.7
             รับจ้างทั่วไป
127
10.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
69
5.8
             อื่นๆ อาทิ นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
146
12.1
รวม
1,203
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776