หัวข้อ   “เยาวชนกับวันพ่อ”
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) เผยผลสำรวจ พบว่าสิ่งที่เยาวชน
ตั้งใจจะทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ
83 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม ปีนี้คือ จะเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม ไม่ทำตัวเป็นภาระ
สังคม (ร้อยละ 42.2) รองลงมาคือจะทำความดีช่วยเหลือสังคมเมื่อมีโอกาส (ร้อยละ 20.0)
และจะทำบุญปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและร่วมถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวให้มีพระวรกายที่แข็งแรงและมีพระชนมายุยืนยาว (ร้อยละ 10.3)
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ทั้งนี้เยาวชนระบุว่าพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะนำมา
เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต  คือ  การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายพอเพียง (ร้อยละ 52.4)
รองลงมาคือ การประหยัดอดออม (ร้อยละ 51.4)   และการมีความกตัญญู (ร้อยละ 37.7)
 
                 สำหรับการกระทำของพ่อที่ทำให้เยาวชนรู้สึกดีใจ สุขใจ และปลื้มใจมากที่สุด
คือ พ่อให้อภัยเสมอเมื่อลูกทำผิด รองลงมาคือ พ่อรักครอบครัว และพ่อเป็นที่ปรึกษายามทุกข์ใจ
ให้กำลังใจและคอยช่วยเหลือ ตามลำดับ
 
                 ทั้งนี้เรื่องที่เยาวชนเป็นห่วงพ่อมากที่สุดในปัจจุบันนี้คือ ห่วงเรื่องปัญหาสุขภาพ
(ร้อยละ 73.5)  รองลงมาคือ ห่วงเรื่องการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย (ร้อยละ 53.9)  และ ห่วงเรื่องอุบัติเหตุจากการเดินทาง
(ร้อยละ 38.5)
 
                 กิจกรรมที่เยาวชนอยากทำร่วมกับพ่อเนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะถึงนี้ คือ อยากไปเที่ยวกับพ่อ พาพ่อไปเที่ยว
ตามสถานที่ต่างๆ (ร้อยละ 43.1)  รองลงมาคือ อยากใช้เวลาอยู่กับพ่อ (ร้อยละ21.5)  และรับประทานอาหารร่วมกับพ่อ
พร้อมหน้าพร้อมตากัน (ร้อยละ 20.4)
   
                 อย่างไรก็ตามเยาวชนมากกว่าครึ่งระบุว่า ทุกวันนี้มีเวลาอยู่กับพ่อค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด (ร้อยละ 57.2)
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. สิ่งที่เยาวชนตั้งใจจะทำถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา
                 ครบ 83 พรรษาในปีนี้ 5 อันดับแรก คือ   (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
จะเป็นคนดีของครอบครัวและสังคม ไม่ทำตัวเป็นภาระสังคม
42.2
จะทำความดี ช่วยเหลือสังคมเมื่อมีโอกาส
20.0
จะทำบุญ ปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และถวายพระพรให้
พระเจ้าอยู่หัวมีพระวรกายแข็งแรง มีพระชนมายุยิ่งยืนนาน
10.3
จะตั้งใจเรียนหนังสือเพื่อมาพัฒนาประเทศ
10.1
จะประหยัด อดออม และใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
5.2
 
 
             2. พระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เยาวชนนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนิน
                 ชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
52.4
การประหยัดอดออม
51.4
การมีความกตัญญู
37.7
การเสียสละเพื่อส่วนรวม
35.6
การมีความเพียรพยายาม
28.6
 
 
             3. การกระทำของพ่อที่ทำให้เยาวชนดีใจ สุขใจ และ ปลื้มใจ มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
พ่อให้อภัยเสมอเมื่อลูกทำผิด
21.3
พ่อรักครอบครัว
20.4
พ่อเป็นที่ปรึกษายามทุกข์ใจ ให้กำลังใจ และช่วยเหลือ
15.3
พ่อมีเวลาให้ลูกเสมอ
10.3
พ่อเลิกอบายมุข (เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด การพนัน)
9.2
 
 
             4. เรื่องที่เยาวชนเป็นห่วงพ่อมากที่สุดในปัจจุบัน 5 อันดับแรก คือ  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
ห่วงเรื่องปัญหาสุขภาพ ร่างกาย
73.5
ห่วงเรื่องการทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
53.9
ห่วงเรื่องอุบัติเหตุจากการเดินทาง
38.5
ห่วงเรื่องเครียด คิดมาก
30.0
ห่วงเรื่องปัญหาการเงิน หนี้สิน
18.4
 
 
             5. กิจกรรมที่เยาวชนอยากทำร่วมกับพ่อมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
อยากไปเที่ยวกับพ่อ พาพ่อไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ
43.1
ใช้เวลาอยู่กับพ่ออย่างเต็มที่
21.5
ทานอาหารร่วมกับพ่อพร้อมหน้าพร้อมตากัน
20.4
พาพ่อไปทำบุญ ปฏิบัติธรรม
7.8
อยากกราบพ่อ กอดพ่อ และบอกรักพ่อ
4.0
 
 
             6. ความเห็นต่อการใช้เวลาอยู่กับพ่อของเยาวชนในปัจจุบันนี้ คือ

 
ร้อยละ
ใช้เวลาอยู่กับพ่อมาก
   ( โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมาก ร้อยละ 29.3 และมากที่สุด ร้อยละ 13.5 )
42.8
ใช้เวลาอยู่กับพ่อน้อย
   
( โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อย ร้อยละ 34.7 และน้อยที่สุด ร้อยละ 22.5 )
57.2
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล  เกี่ยวกับความรู้สึกและความในใจ
ที่มีต่อพ่อเนื่องในโอกาสวันพ่อที่จะมาถึงในปีนี้   เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชน  ตลอดจนให้สังคมและผู้ที่
เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อและลูกที่อยู่ในวัย
เยาวชนต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างเยาวชนอายุ 15-25 ปีที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล   ด้วยวิธีการ
สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling)  โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก
จำนวนทั้งสิ้น 30 เขต  ได้แก่ เขตคลองเตย  คลองสาน  คันนายาว  จตุจักร  ดอนเมือง  ดินแดง  ตลิ่งชัน  ทวีวัฒนา  ธนบุรี
บางกะปิ  บางขุนเทียน  บางเขน  บางคอแหลม  บางแค  บางซื่อ  บางบอน  บางรัก  บึงกุ่ม  ปทุมวัน  พญาไท  พระโขนง
พระนคร   มีนบุรี  ยานนาวา  ราชเทวี  วัฒนา  สวนหลวง  สาทร   หลักสี่  และห้วยขวาง   และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่
นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 1,351 คน   เป็นเพศชายร้อยละ 50.2  และเพศหญิงร้อยละ 49.8
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุ
คำตอบเองโดยอิสระ (Open Form)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและ
ประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  26 - 28   พฤศจิกายน  2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 3 ธันวาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
678
50.2
             หญิง
673
49.8
รวม
1,351
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 18 ปี
478
35.4
             19 – 22 ปี
497
36.8
             23 – 25 ปี
376
27.8
รวม
1,351
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776