หัวข้อ   “ประเมินผลงาน 2 ปี รัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์”
                 ด้วยวันที่ 20 ธันวาคม 2553   เป็นวันครบรอบ 2 ปี การทำงานของรัฐบาล
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “
ประเมินผลงาน 2 ปี รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์” ขึ้น  โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกภาคของประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,448 คน เมื่อวันที่ 10-14
ธันวาคม ที่ผ่านมา พบว่า
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ประชาชนให้คะแนนความพึงพอใจการทำงานของรัฐบาล  3.82  คะแนน
จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน   ซึ่งลดลงจากผลสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ  1  ปี
0.05 คะแนน  โดยให้คะแนนความพึงพอใจผลงานด้านสังคมและคุณภาพชีวิตมากที่สุด
แต่พึงพอใจผลงานด้านการบริหารจัดการและการบังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด
 
                 สำหรับผลงานและโครงการของรัฐบาลที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด คือ โครงการ
เรียนฟรี 15 ปี   โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา  และ โครงการประกันราคาสินค้าเกษตร ตามลำดับ
 
                 ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคประชาธิปัตย์
ซึ่งเป็นแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน พบว่า  พรรคประชาธิปัตย์ได้ 4.11 คะแนน พรรคร่วมรัฐบาลได้
3.42 คะแนน  และพรรคฝ่ายค้าน ได้ 3.85 คะแนน  จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน
 
                 สำหรับคะแนนการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรี ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้คะแนนเฉลี่ย  4.44
คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน  ซึ่งลดลงจากผลการประเมินเมื่อตอนที่ทำงานครบ  1 ปี  0.26 คะแนน  โดยได้คะแนน
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อแก้ปัญหาของประเทศมากที่สุด  แต่ได้คะแนนด้านความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจน้อยที่สุด
   
                 ส่วนเรื่องที่ต้องการให้รัฐบาลทำอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนคือ ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น
เพื่อจะได้ให้คนมีงานทำ มีรายได้ ร้อยละ 19.9 รองลงมาคือ ทำให้บ้านเมืองสงบ มีความสามัคคี เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
ให้คนในชาติ ร้อยละ 12.8 และให้ยุบสภาแล้วลือกตั้งใหม่ ร้อยละ 11.6
 
                 ดังรายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. คะแนนความพึงพอใจผลงานของรัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อทำงานครบ 2 ปี
                 ได้คะแนนเฉลี่ย 3.82 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

                          ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยจากการสำรวจเมื่อตอนที่รัฐบาลทำงานครบ 1 ปี พบว่า
                 มีคะแนน เพิ่มขึ้น ดังตารางต่อไปนี้


 
ครบ 1 ปี
(คะแนนได้)
ครบ 2 ปี
(คะแนนได้)
เพิ่มขึ้น
/ ลดลง
ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต
3.76
4.12
+ 3.36
ด้านการต่างประเทศ
3.75
3.90
+ 0.15
ด้านเศรษฐกิจ
4.41
3.78
- 0.63
ด้านความมั่นคงของประเทศ
3.73
3.74
+ 0.01
ด้านการบริหารจัดการและการบังคับ
ใช้กฎหมาย
3.71
3.53
- 0.18
เฉลี่ยรวม
3.87
3.82
- 0.05
              หมายเหตุ   การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                             แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             2. ผลงาน หรือ โครงการ ของรัฐบาลชุดปัจจุบันที่ประชาชนชื่นชอบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
โครงการเรียนฟรี 15 ปี
23.5
โครงการเบี้ยยังชีพคนชรา
13.9
โครงการประกันราคาสินค้าเกษตร (เช่น ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฯลฯ)
9.9
การต่ออายุโครงการค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ฟรี
9.5
การต่ออายุโครงการรถเมล์ รถไฟ ฟรี
8.2
 
 
             3. คะแนนความพึงพอใจต่อการทำงานของพรรคแกนนำรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน                  (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน)

 
ครบ 1 ปี
(คะแนนได้)
ครบ 2 ปี
(คะแนนได้)
เพิ่มขึ้น
/ ลดลง
พรรคแกนนำรัฐบาล
       ( พรรคประชาธิปัตย์ )
4.23
4.11
- 0.12
พรรคร่วมรัฐบาล
       ( พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทย
         พัฒนา พรรคเผื่อแผ่นดิน ฯลฯ )
3.44
3.42
- 0.02
พรรคฝ่ายค้าน
       ( พรรคเพื่อไทย พรรคประชาราช
         ฯลฯ )
3.37
3.85
+ 0.48
              หมายเหตุ   การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                             แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             4. คะแนนความพึงพอใจการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีของ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
                 ได้คะแนนเฉลี่ย 4.44 จากคะแนนเต็ม 10  โดยมีคะแนนความพึงพอใจในด้านต่างๆ ดังนี้

 
ครบ 1 ปี
(คะแนนได้)
ครบ 2 ปี
(คะแนนได้)
เพิ่มขึ้น
/ ลดลง
ความขยันทุ่มเทในการทำงานเพื่อ
แก้ปัญหาของประเทศ
5.35
5.02
- 0.33
ความซื่อสัตย์สุจริต
5.44
4.86
- 0.58
การรักษาผลประโยชน์ส่วนรวมของ
ประเทศชาติ
4.83
4.53
- 0.30
ความสามารถสร้างสรรค์ผลงานหรือ
โครงการใหม่ๆ
4.62
4.30
- 0.32
ความสามารถในการบริหารจัดการตาม
อำนาจหน้าที่ ที่มี
4.25
4.18
- 0.07
ความเด็ดขาด กล้าตัดสินใจ
3.27
3.75
+ 0.03
เฉลี่ยรวม
4.70
4.44
- 0.26
              หมายเหตุ   การสุ่มตัวอย่างในการสำรวจแต่ละครั้งใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน ด้วยข้อคำถามแบบเดียวกัน
                             แต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวกัน
 
 
             5. เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังระหว่างตอนที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง
                 นายกรัฐมนตรี กับผลการทำงานในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา พบว่า

 
ร้อยละ
ดีกว่าที่คาดหวังไว้
11.3
พอๆ กับที่คาดหวังไว้
34.3
แย่กว่าที่คาดหวังไว้
25.1
ไม่ได้คาดหวังไว้
29.3
 
 
             6. เรื่องที่ต้องการให้รัฐบาล นายกฯ อภิสิทธิ์ ทำอย่างเร่งด่วนเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ประชาชน
                 มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ทำให้เศรษฐกิจดีขึ้นเพื่อจะได้ให้คนมีงานทำ มีรายได้ ไม่ว่างงาน
19.9
ทำให้บ้านเมืองสงบ มีความสามัคคี และสร้างความเชื่อมั่นให้คนในชาติ
12.8
ให้ยุบสภา แล้วเลือกตั้งใหม่
11.6
ให้ควบคุมราคาสินค้า อุปโภค บริโภค และราคาน้ำมัน
7.8
ให้เร่งแก้ปัญหา ยาเสพติด อบายมุข และโจรผู้ร้าย
5.8
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆ
ในทุกภาคของประเทศ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการ
สัมภาษณ์แบบพบตัวและการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,448 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 49.6
และเพศหญิงร้อยละ 50.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) และสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการ
เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และ
คำถามปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก
ข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  10 - 14   ธันวาคม   2553
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 ธันวาคม 2553
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
718
49.6
             หญิง
730
50.4
รวม
1,448
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
330
22.8
             26 – 35 ปี
390
26.9
             36 – 45 ปี
373
25.8
             46 ปีขึ้นไป
355
24.5
รวม
1,448
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
870
60.1
             ปริญญาตรี
500
34.5
             สูงกว่าปริญญาตรี
78
5.4
รวม
1,448
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ
150
10.4
             พนักงานบริษัทเอกชน
368
25.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
436
30.1
             รับจ้างทั่วไป
219
15.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
89
6.2
             อื่นๆ เช่น นิสิตนักศึกษา อาชีพอิสระ ว่างงาน
186
12.9
รวม
1,448
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776