หัวข้อ   “ความเห็นต่อปัญหาเนื้อหมูราคาแพงและความเชื่อมั่นในการแก้ปัญหาของรัฐบาลชุดใหม่”
 
                 กรุงเทพโพลล์ ระบุ ราคาเนื้อหมูเพิ่มสูงขึ้นทำคนกรุงเทพฯ เดือดร้อน
พร้อมเชื่อมั่นว่ารัฐบาลชุดใหม่จะสามารถแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้นได้
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)  เปิดเผยผลสำรวจข้อมูลของ
ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 8 - 9 สิงหาคม ที่ผ่านมา  พบว่า
คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 72.5 ได้รับความเดือดร้อนจากการที่เนื้อหมูราคาเพิ่มสูงขึ้น  โดยวิธีการ
รับมือกับปัญหาเนื้อหมูราคาแพงของคนกรุงเทพฯ  พบว่า  ร้อยละ 60.1 จะลดการบริโภคลง
และหันไปบริโภคเนื้อสัตว์อย่างอื่นแทน เช่น ไก่ เนื้อ ปลา และผัก   ร้อยละ 6.2 จะหยุดการ
บริโภค จนกว่าราคาเนื้อหมูจะกลับสู่ภาวะปกติ   ขณะที่ร้อยละ 33.7 จะยังคงบริโภคเหมือนเดิม
เมื่อถามถึงสาเหตุสำคัญที่ทำให้เนื้อหมูมีราคาแพง   คนกรุงเทพฯ เห็นว่าเป็นเพราะ ระบบนายทุน
พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ (ร้อยละ 33.5)  รองลงมาคือ ราคาอาหารสัตว์แพงขึ้น (ร้อยละ 25.2)
และสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้หมูเป็นโรค (ร้อยละ 20.4)  ส่วนราคาเนื้อหมูที่คนกรุงเทพฯ
เห็นว่าพอที่จะจ่ายได้อยู่ที่กิโลกรัมละ 138 บาท
 
                 สำหรับความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้น
พบว่า คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 54.5 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก  ขณะที่ร้อยละ 45.5
ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย ทั้งนี้สิ่งที่คนกรุงเทพฯ อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่มากที่สุดในการแก้ปัญหาปากท้องของ
ประชาชนพบว่า อันดับแรก ได้แก่  อยากให้ช่วยลดค่าครองชีพ  ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค  บริโภคให้เหมาะสม ไม่ทำให้
ประชาชนเดือดร้อน (ร้อยละ 57.9)  รองลงมาคือ อยากให้ช่วยทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและการเพิ่มเงินเดือน (ร้อยละ 29.2)  และอยากให้รัฐบาลช่วยดูแลเรื่องการกักตุนสินค้า ไม่ให้
กลุ่มนายทุนและพ่อค้าคนกลางเอาเปรียบผู้บริโภค (ร้อยละ 1.9)
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ความเดือดร้อนจากปัญหาเนื้อหมูราคาเพิ่มสูงขึ้น พบว่า

 
ร้อยละ
เดือดร้อน
72.5
ไม่เดือดร้อน
27.5
 
 
             2. วิธีการรับมือกับปัญหาเนื้อหมูราคาแพง คือ

 
ร้อยละ
ลดการบริโภคลง และหันไปบริโภคเนื้อสัตว์อย่างอื่นแทน
เช่น ไก่ เนื้อ ปลา และ ผัก
60.1
ยังคงบริโภคเหมือนเดิม
33.7
หยุดการบริโภค จนกว่าราคาเนื้อหมูจะกลับสู่ภาวะปกติ
6.2
 
 
             3. ความเห็นต่อสาเหตุที่เนื้อหมูมีราคาเพิ่มสูงขึ้น คือ

 
ร้อยละ
ระบบนายทุน พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบ
33.5
ราคาอาหารสัตว์แพงขึ้น
25.2
สภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้หมูเป็นโรค
20.4
เกิดพายุ / น้ำท่วม
15.4
อื่นๆ อาทิเช่น ค่าขนส่ง ค่าน้ำมันแพง
5.5
 
 
             4. จากข่าวที่ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกรคาดว่าภายในไม่เกินเดือนกันยายนนี้ ราคาเนื้อหมูจะขยับ
                 เพิ่มสูงขึ้นไปถึงกิโลกรัมละ 200 บาท ราคาเนื้อหมูที่ประชาชนพอที่จะจ่ายได้ อยู่ที่
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ราคา 100 - 120 บาท
34.5
ราคา 121 - 140 บาท
19.5
ราคา 141 - 160 บาท
37.2
ราคา 161 - 180 บาท
7.7
ราคา 181 - 200 บาท
1.1
                   * หมายเหตุ ราคาของเนื้อหมูที่ประชาชนพอที่จะจ่ายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138 บาท
 
 
             5. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลชุดใหม่ว่าจะสามารถแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้นได้ พบว่า 

 
ร้อยละ
เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงเชื่อมั่นมาก
โดยแบ่งเป็น - เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ  34.2
  - เชื่อมั่นมาก ร้อยละ  20.3
54.5
ไม่ค่อยเชื่อมั่นถึงไม่เชื่อมั่นเลย
โดยแบ่งเป็น - ไม่ค่อยเชื่อมั่น ร้อยละ  37.1
  - ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ   8.4
45.5
 
 
             6. สิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน (3 อันดับแรก) คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
อยากให้ช่วยลดค่าครองชีพ ควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภค
ให้เหมาะสม ไม่ทำให้ประชาชนเดือดร้อน
57.9
อยากให้ช่วยทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่ง การเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำและการเพิ่มเงินเดือน
29.2
อยากให้รัฐบาลช่วยดูแลเรื่องการกักตุนสินค้า ไม่ให้กลุ่มนายทุนและ
พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบผู้บริโภค
1.9
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อให้ทราบถึงความเดือดร้อนจากปัญหาที่เนื้อหมูราคาเพิ่มสูงขึ้น
                  2. เพื่อให้ทราบถึงวิธีการรับมือกับปัญหาเนื้อหมูราคาแพง
                  3. เพื่อให้ทราบถึงความเห็นต่อสาเหตุที่ราคาเนื้อหมูเพิ่มสูงขึ้น

                  4. เพื่อให้ทราบถึงระดับราคาเนื้อหมูที่ประชาชนสามารถจะจ่ายได้
                  5. เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลใหม่ในการแก้ปัญหาราคาเนื้อหมูที่เพิ่มสูงขึ้น
                  6. เพื่อสะท้อนถึงสิ่งที่อยากฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ในการแก้ปัญหาปากท้องของประชาชน
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่ไปจับจ่ายซื้อของในตลาด
ขนาดใหญ่จำนวน 10 แห่ง  ในเขตกรุงเทพมหานคร  ได้แก่ ตลาดคลองเตย (เขตคลองเตย)  ตลาดบางเขน (เขตจตุจักร)
ตลาดเทวราช (เขตดุสิต)  ตลาดบางกะปิ (เขตบางกะปิ)  ตลาดยิ่งเจริญ (เขตบางเขน)  ตลาดกรุงธน (เขตบางพลัด)
ตลาดอ่อนนุช (เขตวัฒนา)  ตลาดหัวตะเข้ (เขตลาดกระบัง)  ตลาดเอี่ยมสมบัติ (เขตสวนหลวง)  และตลาดห้วยขวาง
(เขตห้วยขวาง)   ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบบเป็นระบบ (Systematic Sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
แบบพบตัว  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 808 คน  เป็นเพศชายร้อยละ 48.5  และเพศหญิงร้อยละ 51.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างสำหรับผลสำรวจในภาพรวมมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4%
ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ
สอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  และข้อคำถามปลายเปิด
และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  8 - 9 สิงหาคม 2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 10 สิงหาคม 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
392
48.5
             หญิง
416
51.5
รวม
808
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
182
22.5
             26 – 35 ปี
218
27.0
             36 – 45 ปี
192
23.8
             46 ปีขึ้นไป
216
26.7
รวม
808
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
532
65.8
             ปริญญาตรี
248
30.7
             สูงกว่าปริญญาตรี
22
2.7
             ไม่ระบุระดับการศึกษา
6
0.8
รวม
808
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสาหกิจ / ลูกจ้างราชการ
102
12.6
             พนักงาน / ลูกจ้่างบริษัทเอกชน
208
25.7
             เจ้าของกิจการ
60
7.5
             พ่อค้า / แม่ค้า / อาชีพอิสระ
148
18.3
             รับจ้างทั่วไป
130
16.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ / ว่างงาน
74
9.2
             นักเรียน / นิสิต / นักศึกษา
86
10.6
รวม
808
100.0
รายได้ต่อเดือน:
 
 
             ไม่มีรายได้
64
7.9
             ไม่เกิน 10,000 บาท
280
34.7
             10,001 – 20,000 บาท
308
38.1
             20,001 – 30,000 บาท
94
11.6
             30,001 – 40,000 บาท
34
4.3
             40,001 – 50,000 บาท
14
1.7
             มากกว่า 50,000 บาท
14
1.7
รวม
808
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776