หัวข้อ   “ โอกาสและที่ยืนของเยาวชนในสังคมไทย ”
 
                 เยาวชนเกือบร้อยละ 60 ระบุว่า ได้รับโอกาสและความสำคัญจากรัฐบาลน้อยถึงน้อยที่สุด
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ด้วยวันที่ 20 กันยายน นี้ เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
(กรุงเทพโพลล์) จึงได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชน เรื่อง “โอกาสและที่ยืนของ
เยาวชนในสังคมไทย
” พบว่า เรื่องที่เยาวชนไทยถูกละเมิดสิทธิมากที่สุดในปัจจุบันคือ ปัญหา
ยาเสพติดและการมั่วสุม ร้อยละ 30.8  รองลงมาคือปัญหาเรื่องเพศ (การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัย
อันควร ถูกข่มขืน ถูกถ่ายคลิป) ร้อยละ 29.4  และปัญหาการถูกปิดกั้นทางความคิด การไม่รับฟัง
ความคิดเห็นจากผู้ใหญ่ในสังคม ร้อยละ 14.5  เมื่อจำแนกข้อมูลตามเพศ พบว่า เยาวชนชายถูก
ละเมิดสิทธิเรื่องปัญหายาเสพติดและการมั่วสุมมากที่สุด (ร้อยละ 34.5)  ขณะที่เยาวชนหญิงถูก
ละเมิดสิทธิเรื่องเพศมากที่สุด (ร้อยละ 36.5)
 
                 สำหรับการเปิดโอกาสของสังคมเพื่อให้เยาวชนได้แสดงออกและแสดงความ
สามารถในเรื่องต่างๆ พบว่า เยาวชนร้อยละ 52.0 ระบุว่า ปัจจุบันสังคมให้โอกาสตัวเยาวชนเอง
และเพื่อนเยาวชนคนอื่นๆ ได้แสดงออกและแสดงความสามารถในเรื่องต่างๆ ค่อนข้างมากถึง
มากที่สุด  ขณะที่ร้อยละ 48.0 ระบุว่าค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
 
                 โดยเยาวชน ร้อยละ 58.7 ระบุว่า ตนเองได้รับโอกาสและความสำคัญจากรัฐบาล
และผู้บริหารประเทศในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด  ในขณะที่ร้อยละ 89.6 ระบุว่าได้รับโอกาส
และความสำคัญในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นจากครอบครัวมากถึงมากที่สุด
 
                 ส่วนเรื่องที่เยาวชนอยากให้สังคมเปิดโอกาสให้แสดงออกและรับฟังความคิดเห็นมากที่สุด คือ เรื่องของปัญหา
เยาวชน (เช่น ปัญหายาเสพติด เด็กแว้น วัยรุ่นตีกัน เด็กกำพร้า) ร้อยละ 29.1  รองลงมาคือ เรื่องการศึกษา ร้อยละ 24.3
และเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ ร้อยละ 12.2
 
                 ดังรายละเอียดในต่อไปนี้
 
             1. เรื่องที่เยาวชนไทยถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
ปัญหายาเสพติดและการมั่วสุม
30.8
ปัญหาเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ถูกข่มขืน ถูกถ่ายคลิป
29.4
ปัญหาการถูกปิดกั้นทางความคิด การไม่รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใหญ่
ในสังคม
14.5
ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัวทำให้เยาวชนเลียนแบบ
8.0
ปัญหาการศึกษาเช่น อุปกรณ์การเรียนไม่เพียงพอ การได้รับการเรียน
การสอนที่ไม่เท่าเทียมกัน
6.1
อื่นๆ อาทิ การใช้วาจาที่ไม่สุภาพและรุนแรงกับเยาวชน การใช้แรงงาน
การนำเสนอข่าวด้านลบเกินจริงของเยาวชน ฯลฯ
11.2

         เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศชายกับเพศหญิง พบว่า

เพศชาย
เพศหญิง
ปัญหาที่ถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด
ร้อยละ
ปัญหาที่ถูกละเมิดสิทธิมากที่สุด
ร้อยละ
ปัญหายาเสพติดและการมั่วสุม
34.5
ปัญหาเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควร ถูกข่มขืน ถูกถ่ายคลิป
36.5

ปัญหาเรื่องเพศ การมีเพศสัมพันธ์
ก่อนวัยอันควร ถูกข่มขืน ถูกถ่ายคลิป

22.5
ปัญหายาเสพติดและการมั่วสุม
27.0
ปัญหาการถูกปิดกั้นทางความคิด
การไม่รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใหญ่
ในสังคม
15.0
ปัญหาการถูกปิดกั้นทางความคิด
การไม่รับฟังความคิดเห็นจากผู้ใหญ่
ในสังคม
13.9
ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
ทำให้เยาวชนเลียนแบบ
7.1
ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว
ทำให้เยาวชนเลียนแบบ
8.8
ปัญหาการศึกษา อุปกรณ์การเรียน
ไม่เพียงพอ การได้รับการเรียนการสอน
ที่ไม่เท่าเทียมกัน
6.3
ปัญหาการศึกษา อุปกรณ์การเรียน
ไม่เพียงพอ การได้รับการเรียนการสอน
ที่ไม่เท่าเทียมกัน
6.0
อื่นๆ อาทิ การใช้วาจาที่ไม่สุภาพและ
รุนแรงกับเยาวชน การนำเสนอข่าว
ด้านลบเกินจริงของเยาวชน ฯลฯ
14.6
อื่นๆ อาทิการใช้วาจาที่ไม่สุภาพและ
รุนแรงกับเยาวชน การนำเสนอข่าว
ด้านลบเกินจริงของเยาวชน ฯลฯ
7.8
 
 
             2. ปัจจุบันสังคมให้โอกาสตัวเยาวชนเองและเพื่อนเยาวชนคนอื่นๆ ได้แสดงออกและแสดง
                 ความสามารถในเรื่องต่างๆ พบว่า

 
ร้อยละ
สังคมให้โอกาสค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
( โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมากร้อยละ 47.4 และมากที่สุดร้อยละ 4.6 )
52.0
สังคมให้โอกาสค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
( โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อยร้อยละ 45.1 และน้อยที่สุดร้อยละ 2.9 )
48.0
 
 
             3. ความเห็นต่อการได้รับโอกาสและความสำคัญในการแสดงออกและความคิดเห็นจากสถาบัน
                 ต่างๆ พบว่า

สถาบัน
ได้รับโอกาสและความสำคัญ
ค่อนข้างมาก
ถึงมากที่สุด
(ร้อยละ)
ค่อนข้างน้อย
ถึงน้อยที่สุด
(ร้อยละ)
ไม่มีเลย
(ร้อยละ)
จากครอบครัว
89.6
10.2
0.2
จากสถาบันการศึกษา
74.2
24.6
1.2
จากชุมชน
47.2
50.2
2.6
จากจังหวัดที่อาศัยอยู่
40.5
54.9
4.6
จากประเทศ
39.9
54.2
5.9
จากรัฐบาลและผู้บริหารประเทศ
31.9
58.7
9.4
 
 
             4. เรื่องที่เยาวชนอยากให้สังคมเปิดโอกาสให้แสดงออกและรับฟังความคิดเห็นมากที่สุด
                 5 อันดับแรก คือ

 
ร้อยละ
เรื่องปัญหาเยาวชน
( เช่น ปัญหายาเสพติด เด็กแว้น วัยรุ่นตีกัน เด็กกำพร้า ฯลฯ)
29.1
เรื่องการศึกษา
( เช่น การให้ทุนการศึกษา ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การเรียน
  การสอนเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งในเมืองและชนบท ฯลฯ )
24.3
เรื่องการละเมิดทางเพศ
( เช่น การป้องกันตัวเมื่อถูกละเมิดทางเพศ การข่มขืน การถูกลวนลาม
  เรื่องโรคเอดส์ เรื่องเพศที่3 ฯลฯ )
12.2
เรื่องเศรษฐกิจ
( เช่น ค่าแรงงาน รายได้ต่อเดือน น้ำมันแพง ของแพง การทำงาน
  ระหว่างเรียน อาชีพหลังเรียนจบ ฯลฯ )
8.6
เรื่องสิทธิประโยชน์ต่างๆ
( เช่น การรักษาพยาบาลฟรี ความเท่าเทียมกันในสังคมไม่แบ่งรวยจน
  ประกันสังคม ฯลฯ )
7.4
 

 
รายละเอียดในการสำรวจ
 
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของเยาวชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เกี่ยวกับเรื่องโอกาสและที่ยืน
ของเยาวชนในสังคมไทย ในโอกาสวันเยาวชนแห่งชาติ วันที่ 20 กันยายน เพื่อสะท้อนมุมมองความคิดเห็นของเยาวชน
ให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาให้เกิดประโยชน์กับประเทศต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากเยาวชนอายุ 15 -25 ปี ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) โดยสุ่มจากเขตการปกครองทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง
และชั้นนอก จำนวนทั้งสิ้น 27 เขต ได้แก่ คลองเตย คลองสาน จตุจักร จอมทอง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางเขน
บางขุนเทียน บางคอแหลม บางนา บางบอน บางพลัด บางรัก บึงกุ่ม ปทุมวัน ประเวศ พญาไท พระโขนง ยานนาวา ราชเทวี
วังทองหลาง วัฒนา สวนหลวง หนองแขมและหลักสี่ และปริมณฑล 3 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ
จากนั้นจึงสุ่มถนน และประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ  ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,171 คน เป็นเพศชาย
ร้อยละ 49.5 และเพศหญิงร้อยละ 50.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview)  โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบ
สอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน  ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal)  คำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบ
ระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Form)  และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  14 - 18   กันยายน   2554
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 20 กันยายน 2554
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
580
49.5
             หญิง
591
50.5
รวม
1,171
100.0
อายุ:
 
 
             15 – 18 ปี
410
35.0
             19 – 22 ปี
427
36.5
             23 – 25 ปี
334
28.5
รวม
1,171
100.0
ประเภทของสถานศึกษา:
 
 
             มัธยมปลาย / ปวช.
360
30.7
             ปวส. / อนุปริญญา
44
3.8
             ปริญญาตรี
495
42.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
19
1.6
             จบแล้ว
214
18.3
             ไม่ระบุ
39
3.3
รวม
1,171
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776