หัวข้อ   “ วิกฤติหนี้กรีซกับมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ไทย ”
 
นักเศรษฐศาสตร์เชื่อหากกรีซออกจาก EURO Zone จะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
ได้เร็วกว่าการยืนหยัดอยู่กับ EURO Zone แต่ท้ายที่สุดแล้วนักเศรษฐศาสตร์
40% คาดกรีซจะเลือกแนวทางยืนหยัดที่จะอยู่กับ EURO Zone ต่อไป
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 32 แห่ง จำนวน 70 คน เรื่อง “วิกฤติหนี้กรีซกับมุมมอง
นักเศรษฐศาสตร์ไทย
” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 23 – 30 พ.ค. 2555 ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 40.0 คาดว่ารัฐบาลใหม่ของกรีซจะเลือก
แนวทางยืนหยัดที่จะอยู่กับ EURO Zone ต่อไป
ขณะที่ร้อยละ 32.9 เชื่อว่ากรีซจะ
ประกาศออกจาก EURO Zone และเลิกใช้เงิน EURO ซึ่งหมายความว่า หลังจากนี้กรีซ
ก็จะมีค่าเงินเป็นของตนเองและจะสามารถลดค่าเงินของตนได้ ทำให้สามารถกระตุ้น
ภาคการส่งออกและท่องเที่ยว ทำให้คนมีงานทำ และสามารถออกจากวิกฤติได้ในที่สุด
เมื่อถามต่อว่าทั้งสองแนวทางข้างต้นดังกล่าว แนวทางใดจะใช้ระยะเวลาน้อยกว่ากัน
ในการที่จะทำให้เศรษฐกิจมีการปรับตัวดีขึ้น ผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 38.6 เชื่อว่า
แนวทางการออกจาก EURO Zone จะใช้ระยะเวลาที่น้อยกว่าแนวทางการยืนหยัดอยู่กับ EURO Zone และใช้เงิน
EURO ต่อไป โดยมีนักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 50.0 เชื่อว่าหากกรีซอยู่กับ EURO Zone กรีซต้องใช้เวลามากกว่า
5 ปีกว่าที่เศรษฐกิจจะเข้าสู่ภาวะปกติ แต่หากออกจาก EURO Zone และเลิกใช้เงิน EURO  นักเศรษฐศาสตร์ที่
เชื่อว่าจะใช้เวลามากกว่า 5 ปีเช่นกันจะลดลงเหลือ ร้อยละ 31.4
 
                 อย่างไรก็ตาม นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 42.9 เห็นว่าเงื่อนไขของ EU และ IMF ที่ให้กรีซรัดเข็มขัด
เพื่อแลกกับเงินกู้ เป็นการดำเนินการที่ถูกทางแล้ว
โดยให้เหตุผลว่า การสร้างวินัยทางการคลังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการ
แก้วิกฤติเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินกู้ และมีรายจ่ายที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงเริ่มแรก แต่หลังจากนั้นควรมีการ
ผ่อนปรนตามความเหมาะสมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  นอกจากนี้นักเศรษฐศาสตร์
ร้อยละ 67.1 เชื่อว่าปัญหาของกรีซจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปและทำให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงหรือ
แย่กว่าปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ
 
                 สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อแนวคิดการมีเงินตราที่เป็นสกุลของภูมิภาคอาเซียนเหมือนกับเงิน EURO
ของกลุ่ม EURO Zone พบว่า นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 71.4 ไม่เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลที่สำคัญว่า ประเทศต่างๆ
ในอาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจ และมีความสามารถในการแข่งขันที่แตกต่างกันซึ่งการใช้เงินสกุลเดียวกันเหมือนเงิน EORO
อาเซียนจะต้องประสบปัญหาเช่นกันอย่างแน่นอน  นอกจากนี้การมีเงินตราของอาเซียนจะทำให้ประเทศสูญเสียเครื่องมือ
ทางการเงินในการแก้ปัญหาในอนาคต ขาดความเป็นอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน อีกทั้ง อาเซียนไม่มีประเทศที่มี
ขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เพียงพอที่จะช่วยดูแลในกรณีที่เกิดวิกฤติ
 
                 สำหรับความเห็นที่มีต่อผลกระทบเศรษฐกิจไทยจากปัญหาของกรีซและยุโรปทั้งทางตรงและทางอ้อม
ร้อยละ 57.1 เชื่อว่าได้รับผลกระทบในระดับ “ปานกลาง”
  รองลงมาร้อยละ 21.4 เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ
“น้อย”  ด้านความเห็นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นจากปัญหาเศรษฐกิจโลกมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 58.6
เชื่อว่ามีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “ปานกลาง”
  รองลงมาร้อยละ 21.4 มีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “มาก”
 
                 ส่วนความเห็นต่อการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2556 นักเศรษฐศาสตร์เสนอให้รัฐบาลมีการพิจารณา
งบประมาณโดยใช้แนวทาง ดังนี้

                 1.  ควรพิจารณางบประมาณโดยเน้นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปรับปรุง
ศึกษาอย่างเป็นรูปธรรม และการวิจัยและพัฒนา (R&D) ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน  นอกจากนี้ควรมีการจัด
ลำดับความสำคัญของโครงการ  และใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

                 2.  ควรลดโครงการประชานิยม รักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด รวมถึงดูแลกำกับและติดตามการใช้
งบประมาณอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าวอาจเป็นเหตุให้นำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในภายหลังอย่างที่
ประเทศกรีซกำลังเผชิญอยู่

                 3.  ควรพิจารณางบประมาณโดยเน้นความชัดเจน โปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่น ไม่ใช้ผลประโยชน์เพื่อ
การต่อรอง
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อประเด็น รัฐบาลใหม่ของกรีซจะเลือกแนวทางใดในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจและปัญหา
                 หนี้สินที่กำลังเผชิญอยู่ (คำถามข้อนี้ออกแบบขึ้นโดยใช้บทวิเคราะห์ของ ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล)

ร้อยละ
 
40.0
แนวทางแรก คือ ยืนหยัดที่จะอยู่กับกลุ่ม EURO Zone ต่อไป
ซึ่งหมายความว่า จะต้องตัดสินใจทำตามที่ทางสหภาพยุโรปและ
กองทุนการเงินระหว่างประเทศกำหนดไว้ รัดเข็มขัดต่อไป ไม่ว่า
จะเกิดอะไรขึ้น เพื่อให้ได้เงินมาคืนหนี้ที่ตนเองไปกู้มาใช้อย่างเกินตัว
และปฏิรูปโครงสร้างของเศรษฐกิจให้สามารถแข่งขันได้ อีกครั้ง
32.9
แนวทางที่สอง คือ ประกาศออกจาก EURO Zone (เลิกใช้เงิน EURO)
ซึ่งหมายความว่า หลังจากนี้กรีซก็จะมีค่าเงินเป็นของตนเอง และจะ
สามารถลดค่าเงินของตนได้ ทำให้สามารถกระตุ้นภาคการส่งออก
และท่องเที่ยว ทำให้คนมีงานทำ และสามารถออกจากวิกฤติได้ในที่สุด
14.3
แนวทางอื่นๆ
ในจำนวนนี้ ร้อยละ 12.9 เห็นด้วยกับแนวทางแรกเช่นกันคืออยู่กับ
EURO Zone ต่อไปแต่ต้องขอให้ทาง EU รวมถึง IMF มีการผ่อนปรน
มาตรการรัดเข็มขัดให้มากขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้
ขณะที่มีเพียงร้อยละ 1.4 เห็นด้วยกับแนวทางที่สอง แต่มีเงื่อนไขเพิ่มเติม
ว่าให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซื้อพันธบัตรอย่างไม่มีขีดจำกัดเพื่อเป็น
การดึงผลตอบแทน (yield) ลงมา ซึ่งปัจจุบันอัตราผลตอบแทนพันธบัตร
รัฐบาลสเปนอายุ 10 ปี สูงถึง 6.3% ขณะที่พันธบัตรอายุ 10 ปีของ
รัฐบาลอิตาลี สูงประมาณ 5.9% รวมทั้งให้ธนาคารกลางของประเทศ
ต่างๆ อาทิ ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ)
ทำสวอป (SWAP) อัตราแลกเปลี่ยน เพื่อป้องกันปัญหาความผันผวน
ของค่าเงิน
12.8
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             2. ความเห็นต่อประเด็น แนวทางดังที่กล่าวในข้อข้างต้นแต่ละแนวทางจะใช้ระยะเวลายาวนาน
                 เพียงใดกว่าเศรษฐกิจของกรีซจะเข้าสู่ภาวะปลอดภัย

แนวทางอยู่กับ
EURO Zone ต่อไป
แนวทางออกจาก
EURO Zone
สรุประยะเวลาที่ใช้
ร้อยละ 2.9 น้อยกว่า 1 ปี
ร้อยละ 1.4 น้อยกว่า 1 ปี
ร้อยละ 17.1 แนวทางอยู่กับ EU ต่อไปจะใช้เวลาน้อยกว่า
ร้อยละ 11.4 ใช้เวลา 1-3 ปี
ร้อยละ 24.3 ใช้เวลา 1-3 ปี
ร้อยละ 38.6 แนวทางออกจาก EU จะใช้เวลาน้อยกว่า
ร้อยละ 25.7 ใช้เวลา 3-5 ปี
ร้อยละ 28.6 ใช้เวลา 3-5 ปี
ร้อยละ 27.1 ใช้เวลาเท่ากันทั้งสองแนวทาง
ร้อยละ 50.0 มากกว่า 5 ปี
ร้อยละ 31.4 มากกว่า 5 ปี
ร้อยละ 17.1 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 10.0 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
ร้อยละ 14.3 ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
 
             3. ความเห็นต่อประเด็น เงื่อนไขของสหภาพยุโรปและ IMF ที่ให้กรีซรัดเข็มขัดเพื่อแลกกับเงินกู้
                 เป็นการดำเนินการที่ถูกทางหรือไม่

ร้อยละ
 
42.9
เป็นการดำเนินการที่ถูกทางแล้ว
โดยให้เหตุผลว่า การสร้างวินัยทางการคลังเป็นสิ่งที่จำเป็นในการ
แก้วิกฤติเพื่อให้ได้มาซึ่งเงินกู้ และมีรายจ่ายที่เหมาะสมกับภาวะ
เศรษฐกิจโดยเฉพาะในช่วงเริ่มแรก แต่หลังจากนั้นควรมีการผ่อนปรน
ตามความเหมาะสมเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและจะต้องเพิ่มขีดความ
สามารถในการแข่งขัน รวมถึงดูแลผลกระทบที่จะมีต่อสวัสดิการ
ของประชาชนด้วย
22.9
เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกทาง
โดยให้เหตุผลว่า เงื่อนไขการรัดเข็มขัดที่เข้มงวดจะทำให้
เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่นน้อย ไม่เติบโต ทำให้รายได้ลดลง
(การรัดเข็มขัดแม้จะทำให้รายจ่ายลดแต่รายได้ก็ลดด้วย)
ประกอบการกับใช้เงิน EURO จึงทำให้เศรษฐกิจไม่มีความยืดหยุ่น
ทำให้นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนเชื่อว่าการออกจาก EURO Zone
น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด
34.2
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             4. ความเห็นต่อประเด็น ปัญหาของกรีซจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรปแล้วก่อปัญหา
                 ทำให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงหรือแย่กว่าปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่

ร้อยละ
 
25.7
ปัญหาจะไม่ลุกลามหรือไม่ทำให้เศรษฐกิจโลกทรุดหรือแย่กว่าปัจจุบัน
อย่างมีนัยสำคัญ
67.1
ปัญหาจะลุกลามและจะทำให้เศรษฐกิจโลกทรุดลงหรือแย่กว่า
ปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ
7.2
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             5. ความเห็นต่อประเด็น เห็นด้วยหรือไม่หากอาเซียนจะมีเงินตราของภูมิภาคเหมือนกับเงิน EURO
                 ของกลุ่ม EURO Zone

ร้อยละ
 
11.4
เห็นด้วย
โดยให้เหตุผลว่า การมีระบบเงินตราเป็นของภูมิภาคเองจะส่งผล
ต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยอนาคตหลังเปิด AEC ทำให้เกิด
ความสะดวก อีกทั้งจะสามารถช่วยบริหารความเสี่ยงด้าน
การเงินได้ระดับหนึ่ง ดังนี้โดยรวมแล้วมีผลดี มากกว่าผลเสีย
สำหรับกรณีกรีซนั้นถือเป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ยังช่วยสร้าง
อำนาจถ่วงดุลโลกได้ดีขึ้น สังคมโลกจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น
โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย
71.4
ไม่เห็นด้วย เพราะ
1. ประเทศต่างๆ ในอาเซียนมีขนาดเศรษฐกิจ และมีความสามารถ
ในการแข่งขันที่แตกต่างกันซึ่งการใช้เงินสกุลเดียวกันเหมือน
เงิน EURO อาเซียนจะต้องประสบปัญหาเช่นกันแน่นอน ดังนั้น
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจควรเป็นเรื่องอื่นๆ มากกว่า
2. การมีเงินตราของอาเซียนจะทำให้ประเทศสูญเสียเครื่องมือ
ทางการเงินในการแก้ปัญหาในอนาคต ขาดความเป็นอิสระในการ
ดำเนินนโยบายการเงิน อีกทั้ง อาเซียนไม่มีประเทศที่มีขนาด
เศรษฐกิจที่ใหญ่เพียงพอที่จะช่วยดูแลในกรณีที่เกิดวิกฤติ
3. สภาพทางสังคม การศึกษา และการเมืองที่แตกต่างกันทำให้
แต่ละประเทศมีปัญหาภายในของตนเองจึงเป็นไปได้ยากที่จะมี
การใช้เงินสกุลเดียวกัน โดยเฉพาะในบางประเทศที่วินัยทาง
การคลังไม่ดีนัก
17.2
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             6. ความเห็นต่อประเด็น เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาของกรีซและยุโรป
                 ทั้งทางตรงและทางอ้อมมากน้อยเพียงใด

ร้อยละ
 
0.0
เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ “มากที่สุด”
17.1
เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ “มาก”
57.1
เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ “ปานกลาง”
21.4
เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ “น้อย”
2.9
เชื่อว่าจะได้รับผลกระทบในระดับ “น้อยที่สุด”
1.5
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             7. ความเห็นต่อประเด็น ปัจจุบันว่าเศรษฐกิจไทยมีความยืดหยุ่นจากปัญหาเศรษฐกิจโลกมากน้อย
                 เพียงใด

ร้อยละ
 
1.4
เชื่อว่ามีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “มากที่สุด”
21.4
เชื่อว่ามีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “มาก”
58.6
เชื่อว่ามีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “ปานกลาง”
17.1
เชื่อว่ามีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “น้อย”
0.0
เชื่อว่ามีความยืดหยุ่นอยู่ในระดับ “น้อยที่สุด”
1.5
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             8. ข้อเสนอต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อการพิจารณา พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 2556
 
      1. ควรพิจารณางบประมาณโดยเน้นการลงทุนในโครงสร้างการพัฒนาทรัพยากร
          มนุษย์ การปรับปรุงศึกษาอย่างเป็นรูปธรรมหรือการวิจัย และพัฒนา (R&D)
          ที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และควรมีการจัดลำดับความสำคัญ
          ของโครงการ และใช้งบ ประมาณให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
      2.  ควรลดโครงการประชานิยม รักษาวินัยทางการคลังอย่างเคร่งครัด รวมถึงดูแลกำกับ
           และติดตามการใช้งบประมาณอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้หากไม่มีการดำเนินการดังกล่าว
           อาจเป็นเหตุให้นำไปสู่ปัญหาหนี้สาธารณะในภายหลังอย่างที่ประเทศกรีซกำลัง
           เผชิญอยู่
      3.  ควรพิจารณางบโดยเน้นความชัดเจน โปร่งใส ไม่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ใช้ผล
           ประโยชน์เพื่อการต่อรอง
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 32 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ตลาดหลักทรัพย์
               แห่งประเทศไทย   บริษัททริสเรทติ้ง   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย
               ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ
               บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส  บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า  บริษัทหลักทรัพย์
               ฟินันเซียไซรัส  บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
               คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   และคณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  23 - 30 พฤษภาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 มิถุนายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
28
40.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
26
37.1
             สถาบันการศึกษา
16
22.9
รวม
70
100.0
เพศ:    
             ชาย
37
52.9
             หญิง
33
47.1
รวม
70
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
23
32.9
             36 – 45 ปี
22
31.4
             46 ปีขึ้นไป
25
35.7
รวม
70
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.7
             ปริญญาโท
52
74.3
             ปริญญาเอก
14
20.0
รวม
70
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
11
15.7
             6 - 10 ปี
17
24.3
             11 - 15 ปี
10
14.3
             16 - 20 ปี
9
12.9
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
23
32.9
รวม
70
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776