หัวข้อ   “ โอกาสและข้อจำกัดของไทยในวิกฤติหนี้ยุโรป ”
 
นักเศรษฐศาสตร์คาดวิกฤติครั้งนี้จะยืดเยื้อ แม้ในอีก 2-3 ปีข้างหน้าการส่งออกก็จะ
ยังมีปัญหา การปกป้องสินค้าของประเทศผู้นำเข้าจะมากขึ้นโดยเฉพาะในยุโรป
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 20 แห่ง จำนวน 40 คน เรื่อง “โอกาสและข้อจำกัด
ของไทยในวิกฤติหนี้ยุโรป
” โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 27 มิ.ย. – 3 ก.ค. 2555 ที่ผ่านมา
พบว่า นักเศรษฐศาสตร์มีความคิดเห็นต่อการปรับตัวของประเทศไทยเพื่อลดผลกระทบจาก
วิกฤติหนี้ในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกด้วยการ ขยายความเชื่อมโยงใน
ภูมิภาคอาเซียน / ขยายการค้าในตลาดอื่นๆ นอกเหนือจากตลาด EU และตลาด
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นตลาดเก่า (ร้อยละ 41.9)
และเห็นว่าควรใช้วิกฤติหนี้ของยุโรป
เป็นบทเรียนในเรื่องการบริหารหนี้ บริหารการเงินของรัฐ โครงการรัฐสวัสดิการต่างๆ และ
ควรเร่งปฏิรูปการคลังอย่างจริงจัง (ร้อยละ 25.8)
 
                 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 37.5 เห็นว่าความขัดแย้งทางการเมือง
เป็นปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญของไทยที่อาจทำให้เศรษฐกิจของประเทศ
ได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในระดับ
ที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น รองลงมาร้อยละ 20.9 เห็นว่าต้นทุนการผลิตสูง ประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำ ข้อจำกัดของโครงสร้าง
พื้นฐาน เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อระดับผลกระทบที่อาจจะ
ได้รับ
                 โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอันเป็นผลมาจากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของ
เศรษฐกิจโลกในระยะสั้น (ปัจจุบันถึงปีหน้า) คือ การส่งออกที่จะลดลง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอัญมณีและ
เครื่องประดับ สิ่งทอ รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยส่งออกอื่นๆ (ร้อยละ 88.9)
  รองลงมาเป็นความผันผวนในอัตรา
แลกเปลี่ยน/ค่าเงินบาท (ร้อยละ 25.0) ส่วนผลกระทบในระยะยาว (อีก 2-3 ปีข้างหน้า) คือ การส่งออกที่จะยัง
ลดลง / การปกป้องสินค้าของประเทศตนจากประเทศผู้นำเข้า (ร้อยละ 33.3)
รองลงมาเป็นเสถียรภาพทางด้าน
การคลังจากการก่อหนี้ เพื่อกระตุ้นหรือประคองเศรษฐกิจในประเทศซึ่งนักเศรษฐศาสตร์คาดว่าหนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้น
(ร้อยละ 18.2) และการลงทุนของภาคเอกชน การลงทุนจากต่างประเทศ ที่จะน้อยลง(ร้อยละ 18.2)
 
                 สำหรับข้อเสนอต่อรัฐบาลในการนำพาเศรษฐกิจของประเทศฝ่าวิกฤติหนี้ในยุโรปและความอ่อนแอของ
เศรษฐกิจโลก มีดังนี้
                 1. รัฐควรใช้นโยบายการคลังที่มุ่งประสิทธิภาพ ลดรายจ่ายประชานิยม มีการจัดลำดับความสำคัญ
ของโครงการ (ร้อยละ 38.7)
                 2. สร้างกำลังซื้อ ขยายตลาดในประเทศ เพื่อทดแทนตลาดต่างประเทศ (ร้อยละ 19.4)
                 3. วิกฤติครั้งนี้คงจะยืดเยื้อ ขอให้รัฐบาลเตรียมพร้อมแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดเสมอ (ร้อยละ 16.1)
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. จากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ประเทศไทยควรมีการดำเนินการ
                 หรือปรับตัวอย่างไรเพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรือรวมถึงสร้างโอกาสจากวิกฤติที่เกิดขึ้น

ร้อยละ
 
41.9
ขยายความเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียน / ขยายการค้าในตลาดอื่นๆ
นอกเหนือจากตลาด EU และตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดเก่า
25.8
ใช้เป็นบทเรียนในเรื่องการบริหารหนี้ บริหารการเงินของรัฐ โครงการ
รัฐสวัสดิการต่างๆ และควรเร่งปฏิรูปการคลังอย่างจริงจัง
22.6
เร่งนำเข้าสินค้าทุนเพื่อใช้ในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม การลงทุน
ในโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการซื้อกิจการการซื้อสินทรัพย์ราคาถูกใน
ต่างประเทศ และการชำระหนี้ต่างประเทศ
22.6
ส่งเสริมการท่องเที่ยวและการค้าในประเทศ ขยายอุปสงค์มวลรวมใน
ประเทศเพื่อทดแทนตลาดต่างประเทศ
16.1
เป็นบทเรียน และเป็นแนวทางในการพัฒนาอาเซียน
12.9
พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่ยั่งยืน / สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า
9.7
การลงทุนทางตรงในไทยอาจจะเพิ่มขึ้น หากไม่มีปัญหาด้านอื่นๆ
3.2
ทำประเทศให้พร้อมอยู่เสมอแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด
                  หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น
 
 
             2. ท่านคิดว่าอะไรเป็นปัญหาอุปสรรคหรือข้อจำกัดที่สำคัญของไทยที่อาจทำให้เศรษฐกิจของ
                 ประเทศไทยรับผลกระทบจากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของเศรษฐกิจโลกในระดับที่
                 สูงกว่าที่ควรจะเป็น

ร้อยละ
 
37.5
ความขัดแย้งทางการเมือง
20.9
ต้นทุนการผลิตสูง ประสิทธิภาพการผลิตที่ต่ำ ข้อจำกัดของโครงสร้าง
พื้นฐาน ทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับต่ำ
20.8
การพึ่งพาเศรษฐกิจโลกมากกว่าเศรษฐกิจในประเทศ การส่งออกที่พึ่งพิง
ประเทศอื่นๆ อีกต่อหนึ่ง
12.5
นโยบายของรัฐที่ไม่ชัดเจน/ นโยบายที่ไม่ถูกทางในบางโครงการ
โดยเฉพาะโครงการประชานิยมต่างๆ
12.5
ภัยธรรมชาติ หรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดอื่นๆ
8.3
การวางแผนตั้งรับของภาคธุรกิจและภาครัฐจากผลกระทบจากวิกฤติ
ในยุโรปแทนที่จะเป็นแผนเชิงรุก รวมถึงความพร้อมของหน่วยงาน
ราชการที่ยังน้อยอยู่
8.3
การขาดแคลนเงินทุนทำให้มีข้อจำกัดในการซื้อสินทรัพย์ราคาถูกใน
ประเทศที่ประสบวิกฤติ หรือ ทำให้มีข้อจำกัดในการนำเข้าสินค้าทุน
หรือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
8.3
ขาดข้อมูลที่แท้จริงและการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ยังไม่ชัดเจน
ไม่ครอบคลุม
4.2
ระบบราชการที่ไม่เอื้อ
                  หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น
 
 
             3. ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอันเป็นผลมาจากวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของ
                 เศรษฐกิจโลก

                 3.1 ระยะสั้น (ปัจจุบันถึงปีหน้า)
ร้อยละ
 
88.9
การส่งออกที่จะลดลง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มอัญมณีและเครื่อง
ประดับ สิ่งทอ รวมถึงสินค้าฟุ่มเฟือยส่งออกอื่นๆ
25.0
ความผันผวนในอัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาท
22.2
การท่องเที่ยวที่จะลดลง
5.6
การลงทุนที่จะลดลง
5.6
ความผันผวนในตลาดหลักทรัพย์
2.8
การขาดดุลการค้า
2.8
การว่างงาน
2.8
การเก็บภาษีได้น้อยลง/ขาดดุลงบประมาณมากขึ้น
                  หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น

                 3.2 ระยะยาว (อีก 2-3 ปีข้างหน้า)
ร้อยละ
 
33.3
การส่งออกที่จะยังลดลง / การปกป้องสินค้าของประเทศตนจาก
ประเทศผู้นำเข้า
18.2
เสถียรภาพทางด้านการคลังจากการก่อหนี้เพื่อกระตุ้นหรือประคองเศรษฐกิจ
ในประเทศ / หนี้สาธารณะที่จะเพิ่มขึ้น
18.2
การลงทุนของภาคเอกชน การลงทุนจากต่างประเทศ จะน้อยลง
15.2
ความผันผวนในตลาดการเงินและตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
15.2
เศรษฐกิจของประเทศจะซบเซายาวนาน (นานกว่าวิกฤติ sub-prime)
12.1
การจ้างงานจะลดลง/เริ่มมีปัญหาว่างงาน
3.0
โครงสร้างการผลิตและการส่งออกจะปรับเปลี่ยน
                  หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น
 
 
             4. ข้อเสนอแนะหรือข้อคิดเห็นอื่นๆ ในประเด็นที่เกี่ยวกับวิกฤติในยุโรปและความอ่อนแอของ
                 เศรษฐกิจโลกที่ต้องการบอกไปยังรัฐบาลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ร้อยละ
 
38.7
รัฐควรใช้นโยบายการคลังที่มุ่งประสิทธิภาพ ลดรายจ่ายประชานิยม
มีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
19.4
สร้างกำลังซื้อ ขยายตลาดในประเทศ เพื่อทดแทนตลาดต่างประเทศ
16.1
วิกฤติคงจะยืดเยื้อ ขอให้รัฐบาลเตรียมพร้อมแม้ในสถานการณ์ที่เลวร้าย
ที่สุดเสมอ
12.9
นำบทเรียนจากวิกฤติที่เกิดขึ้นกับยุโรปมาปรับใช้กับประเทศไทยและ
อาเซียน
6.5
ดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่าให้ผันผวน
3.2
สร้างความได้เปรียบจากวิกฤติที่เกิดขึ้น เช่น การซื้อสินทรัพย์ราคาถูก
ในประเทศที่ประสบวิกฤติ
3.2
สร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
3.2
นำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้
3.2
สร้างความชัดเจนในนโยบายรัฐบาล เพื่อเอกชนจะได้ปรับตัวอย่างมี
ทิศทาง
                  หมายเหตุ : ข้อคำถามปลายเปิด นักเศรษฐศาสตร์ตอบเองตามอิสระ และสามารถตอบได้มากกว่า 1 ประเด็น
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
                  2. เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเตรียมการและวางแผนงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์
                      สูงสุดกับประเทศไทย
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 20 แห่ง ได้แก่   ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
               การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
               ประเทศไทย(TDRI)   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออก
               และนำเข้าแห่งประเทศไทย   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน
               บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส  บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร  คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยทักษิณ   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   สำนักวิชา
               เศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  27 มิถุนายน - 3 กรกฎาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 กรกฎาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
20
50.0
             หน่วยงานภาคเอกชน
13
32.5
             สถาบันการศึกษา
7
17.5
รวม
40
100.0
เพศ:    
             ชาย
20
50.0
             หญิง
20
50.0
รวม
40
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
14
35.0
             36 – 45 ปี
12
30.0
             46 ปีขึ้นไป
14
35.0
รวม
40
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
10.0
             ปริญญาโท
28
70.0
             ปริญญาเอก
8
20.0
รวม
40
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
3
7.5
             6 - 10 ปี
10
25.0
             11 - 15 ปี
10
25.0
             16 - 20 ปี
5
12.5
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
12
30.0
รวม
40
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776