หัวข้อ   “ ชาวพุทธกับเทศกาลเข้าพรรษาในปีพุทธชยันตี
ชาวพุทธ 73.5% ตั้งใจจะตื่นเช้าทำบุญตักบาตรในช่วงเข้าพรรษา เพื่อให้กับพ่อแม่และขอให้ในหลวงทรง
หายประชวรโดยเร็ว

นักดื่ม 73.5% คิดว่าจะงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา  ในจำนวนนี้กว่าครึ่งจะดื่มลดลงหลังออกพรรษา
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 เนื่องในวันที่ 3 สิงหาคมที่จะถึงนี้เป็นวันเข้าพรรษา ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัย
กรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) จึงได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง
ชาวพุทธกับเทศกาลเข้าพรรษาในปีพุทธชยันตี” โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนอายุ
18 ปีขึ้นไปในช่วงวันที่ 27 - 30 กรกฎาคม ที่ผ่านมาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,205 คน พบว่า
 
                 ชาวพุทธส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 59.9 เชื่อว่าปัจจุบัน พุทธศาสนิกชน
ห่างไกลจากการเข้าวัดและการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา
ขณะที่
ร้อยละ 40.1 เชื่อว่าไม่ใช่ และเมื่อถามต่อว่า “ให้ความสำคัญกับเทศกาลเข้าพรรษาในปีนี้
มากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา” ร้อยละ 83.6 ระบุว่าให้ความสำคัญ
พอๆ กับปีที่ผ่านมา
  ขณะที่ร้อยละ 14.2 ให้ความสำคัญมากกว่าปีที่ผ่านมา  และร้อยละ
2.2 ให้ความสำคัญน้อยกว่าปีที่ผ่านมา
 
                 สำหรับสิ่งที่ชาวพุทธตั้งใจจะทำมากที่สุดในช่วงเข้าพรรษาคือ
การตื่นเช้าเพื่อทำบุญตักบาตร (ร้อยละ 73.5
)  รองลงมาคือ การถวายเทียนพรรษา
ผ้าอาบน้ำฝน (ร้อยละ 36.3)  การเข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม (ร้อยละ 28.5)  การปล่อยนกปล่อยปลา (ร้อยละ 26.8)
และการสวดมนต์ นั่งสมาธิ (ร้อยละ 26.6)   ซึ่งการทำความดีดังกล่าวในช่วงเทศกาลเข้าพรรษานั้น ชาวพุทธตั้งใจ
จะทำเพื่อให้กับพ่อแม่มากที่สุด (ร้อยละ 23.9)
  รองลงมาตั้งใจจะทำเพื่อขอให้ในหลวงทรงหายประชวรโดยเร็ว
(ร้อยละ 21.2)  และเพื่อตนเอง (ร้อยละ 20.4)
 
                 เมื่อถามชาวพุทธที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ว่า “ในช่วงเข้าพรรษานี้ คิดจะงดดื่มหรือไม่”
ร้อยละ 73.5 ระบุว่าจะงดดื่ม
  (ในจำนวนนี้ ร้อยละ 27.0 ตั้งใจจะงดดื่มตลอดทั้ง 3 เดือน  และร้อยละ 46.5 ตั้งใจจะงด
แต่อาจไม่ครบทั้ง 3 เดือน)  ที่เหลือร้อยละ 26.5 ระบุว่าจะดื่มตามปกติ ทั้งนี้เมื่อถามกลุ่มตัวอย่างที่คิดจะงดดื่ม
เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ต่อว่า  หลังจากออกพรรษาแล้วจะดื่มลดลงหรือไม่ ร้อยละ 52.8 คิดว่าจะดื่มลดลง

ขณะที่ร้อยละ 45.6 คิดว่าจะดื่มเหมือนเดิม  และร้อยละ 1.6 คิดว่าจะดื่มเพิ่มขึ้น
 
                  สุดท้ายเมื่อถามความเห็นชาวพุทธเกี่ยวกับหลักธรรมในราชสังคหวัตถุ 4 หรือ หลักธรรมในการ
วางนโยบายปกครองบ้านเมือง ว่า ในขณะนี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ควรยึดหลักธรรมข้อใดมากที่สุด  กลุ่มตัวอย่าง
ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.7 เห็นว่าควรยึดหลักธรรมข้อ สะสะเมธัง คือ การบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทาง
เศรษฐกิจ คนมีงานทำมากที่สุด
  รองลงมาร้อยละ 25.3 เห็นว่า ควรยึดหลักธรรมข้อ วาจาเปยยัง คือ การพูดตามความ
เป็นจริงด้วยเหตุผล และตามความเป็นธรรม
 
                 รายละเอียดต่อไปนี้
 
             1. ท่านคิดว่าปัจจุบันพุทธศาสนิกชนห่างไกลจากการเข้าวัด และการปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของ
                 พุทธศาสนาหรือไม่


 
ร้อยละ
เชื่อว่าใช่
59.9
เชื่อว่าไม่ใช่
40.1
 
 
             2. ท่านให้ความสำคัญกับเทศกาลเข้าพรรษาในปีนี้มากน้อยเพียงใด เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา

 
ร้อยละ
มากกว่าปีที่ผ่านมา
14.2
พอๆ กับปีที่ผ่านมา
83.6
น้อยกว่าปีที่ผ่านมา
2.2
 
 
             3. สิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษา คือ (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
การตื่นเช้าเพื่อทำบุญตักบาตร
73.5
การถวายเทียนพรรษา ผ้าอาบน้ำฝน
36.3
การเข้าวัด ฟังเทศน์ ฟังธรรม
28.5
การปล่อยนกปล่อยปลา
26.8
การสวดมนต์ นั่งสมาธิ
26.6
การรักษาศีล 5
24.2
กินเจ/มังสวิรัติ/งดกินสัตว์ใหญ่
8.7
ทำตัวปกติ
11.0
 
 
             4. ท่านตั้งใจจะปฏิบัติตน (ในข้อข้างต้น) ในช่วงเข้าพรรษาเพื่อใคร

 
ร้อยละ
เพื่อพ่อแม่
23.9
เพื่อให้ในหลวงหายประชวนโดยเร็ว
21.2
เพื่อตนเอง
20.4
เพื่อให้คนไทยเลิกแตกแยก
12.5
เพื่อคนรัก
12.0
เพื่อพุทธศาสนา เป็นปีพุทธชยันตี
10.0
 
 
             5. ในช่วงเข้าพรรษา ท่านคิดจะงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์หรือไม่ พบว่า
                 (ถามเฉพาะผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์)

 
ร้อยละ
คิดว่าจะงด
โดย  - จะงดตลอดทั้ง 3 เดือน ร้อยละ 27.0
       - จะงด แต่อาจไม่ครบทั้ง 3 เืดือน ร้อยละ 46.5
73.5
คิดว่าจะดื่มตามปกติ
26.5
 
 
             6. หลังจากออกพรรษา ท่านคิดจะดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ลดลงหรือไม่
                 (ถามเฉพาะผู้ที่งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ในช่วงเข้าพรรษา)

 
ร้อยละ
คิดว่าจะดื่มเพิ่มขึ้น
1.6
คิดว่าจะดื่มเหมือนเดิม
45.6
คิดว่าจะดื่มลดลง
52.8
 
 
             7. ท่านคิดว่า ในขณะนี้ นายกฯ ยิ่งลักษณ์ ควรยึดหลักธรรมข้อใดในราชสังคหวัตถุ 4 เพื่อใช้ใน
                 การวางนโยบายในการปกครองบ้านเมืองมากที่สุดในเวลานี้

 
ร้อยละ
สะสะเมธัง คือ การบำรุงบ้านเมืองให้เจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ คนมีงานทำ
50.7
วาจาเปยยัง คือ การพูดตามความเป็นจริงด้วยเหตุผล และตามความเป็นธรรม
25.3
สะสะมาปะลัง คือ ฉลาดในการแก้ปัญหาสังคมและการสงเคราะห์
12.9
ปุริสะเมธัง คือ รู้จักเลือกใช้คน ให้ตรงกับตำแหน่งที่เหมาะสม
11.1
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อต้องการทราบความเห็นของประชาชนต่อการให้ความสำคัญ และสิ่งที่ตั้งใจจะทำในช่วงเข้าพรรษา
                  2. เพื่อสะท้อนพฤติกรรมของประชาชนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ต่อการงดเหล้าในช่วงเข้าพรรษา และ
                      หลังออกพรรษา
                  3. เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ว่าหลักธรรม ข้อใดในราชสังคหวัตถุ 4 ที่ควรยึด
                      ในการปกครองและบริหารบ้านเมืองมากที่สุดในเวลานี้
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
30 เขต จากทั้งหมด 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย จตุจักร ดอนเมือง ดินแดง ดุสิต ตลิ่งชัน
ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย บางกะปิ บางขุนเทียน บางเขน บางคอแหลม บางแค บางซื่อ บางนา ปทุมวัน ประเวศ
ป้อมปราบ พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ มีนบุรี ราชเทวี ลาดกระบัง สวนหลวง สะพานสูง สาทร สายไหม และหลักสี่  ด้วยวิธี
การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,205 คน เป็นชายร้อยละ 49.6 และหญิงร้อยละ 50.4
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  27 - 30 กรกฎาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 1 สิงหาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
598
49.6
             หญิง
607
50.4
รวม
1,205
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
306
25.4
             26 – 35 ปี
320
26.5
             36 – 45 ปี
285
23.7
             46 ปีขึ้นไป
294
24.4
รวม
1,205
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
829
68.8
             ปริญญาตรี
342
28.4
             สูงกว่าปริญญาตรี
34
2.8
รวม
1,205
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
103
8.5
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
302
25.1
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
394
32.6
             รับจ้างทั่วไป
196
16.3
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
84
7.0
             นักศึกษา
101
8.4
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
25
2.1
รวม
1,205
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776