หัวข้อ   “ นโยบายประชานิยมส่งผลดีหรือเสียต่อประเทศไทย
นักเศรษฐศาสตร์ประเมินนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดปัจจุบันพบ 7 โครงการเป็นโครงการประชานิยม
ที่ไม่ดี 4 โครงการเป็นโครงการประชานิยมที่ดี และ 5 โครงการเป็นโครงการประชานิยมที่ดีแต่มีวิธีดำเนินการ
ไม่ถูกต้อง พร้อมระบุนโยบายประชานิยมไม่ช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ไม่ช่วยลดความ
เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ไม่ช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้นอย่างยั่งยืน แต่ซ้ำร้ายเชื่อว่า
คนไทยเริ่มเสพติดนโยบายประชานิยมแล้ว
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 27 แห่ง จำนวน 70 คน  เรื่อง “นโยบายประชานิยม
ส่งผลดีหรือเสียต่อประเทศไทย
”  โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 21 - 28 ส.ค. ที่ผ่านมา
พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 58.6 เห็นว่าโครงการประชานิยมไม่ช่วยสร้าง
ขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ
  รองลงมาร้อยละ 38.6 คิดว่าช่วยสร้าง
ขีดความสามารถในการแข่งขันได้บ้างแต่ไม่ยั่งยืน และเมื่อถามต่อว่าโครงการประชานิยม
จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้หรือไม่   ร้อยละ 50.0 คิดว่าช่วยลดความ
เหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้บ้างแต่ไม่ยั่งยืนกว่านี้
  รองลงมาร้อยละ 47.1 คิดว่าไม่ช่วย
 
                 ด้านความเห็นต่อโครงการประชานิยมจะนำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ที่สมดุลมีความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Demand) มากขึ้นได้หรือไม่
ร้อยละ 52.9 คิดว่าช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้นได้บ้าง
แต่ไม่ยั่งยืน  รองลงมาร้อยละ 40.0 คิดว่าไม่ช่วย
 
                 ในส่วนของโครงการประชานิยมที่มีการแทรกแซงกลไกราคาผ่านโครงการรับจำนำสินค้าเกษตร
ต่างๆ ของรัฐบาลจะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญ (โดยเฉพาะในระยะยาว) คือ ร้อยละ 77.1 เชื่อว่าจะเป็นช่องทาง
ให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การโก่งราคาเกษตรกร
 รองลงมาร้อยละ 68.6 เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่สามารถกำหนดราคา
ขายในตลาดโลกได้  เนื่องจากสินค้าเกษตรจะเก็บไว้นานไม่ได้ และจะขาดทุนจากการดำเนินโครงการ ร้อยละ 65.7
เห็นว่าจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาด ราคารับจำนำที่สูงจะทำให้เกษตรกรขยายการเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น และร้อยละ 60.0
เชื่อว่าประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจะลดลง
 
                 ทั้งนี้นักเศรษฐศาสตร์ได้ทำการประเมินผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมกับงบประมาณที่ใช้ไป ว่าสิ่งใด
จะมากกว่ากัน   ร้อยละ 77.1 เห็นว่าผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมจะน้อยกว่างบประมาณที่ใช้ไป และมีเพียง
ร้อยละ 5.7 เท่านั้นที่เห็นว่าผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมจะมากกว่างบประมาณที่ใช้ไป
 
                 สุดท้ายเมื่อถามนักเศรษฐศาสตร์ในประเด็นว่าปัจจุบันนี้ “คนไทยเสพติดนโยบายประชานิยมหรือไม่”
ร้อยละ 48.6 เชื่อว่าประชาชนเสพติดโครงการประชานิยมแล้ว
  รองลงมาร้อยละ 47.1 เชื่อว่าประชาชนเริ่มเสพติด
โครงการประชานิยม (ไม่มีนักเศรษฐศาสตร์คนใดเลยที่เห็นว่าคนไทยยังไม่เสพติดโครงการประชานิยม)   นอกจากนี้
นักเศรษฐศาสตร์ยังได้ทำการประเมินนโยบายประชานิยมของรัฐบาลชุดปัจจุบันจำนวน 16โครงการ ว่าโครงการใดถือเป็น
โครงการประชานิยมที่ดีหรือไม่ดี ผลสำรวจพบว่า
 
                 มีโครงการประชานิยมที่ไม่ดีจำนวน 7 โครงการ โดยโครงการที่มีค่าร้อยละมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
                        • โครงการโครงการรับจำนำข้าวเปลือก (ร้อยละ 65.7)
                        • โครงการแจกแท็บเลต พีซี (ร้อยละ 65.7)
                        • โครงการรถยนต์คันแรก (ร้อยละ 58.6)
 
                 มีโครงการประชานิยมที่ดีแต่ใช้วิธีดำเนินโครงการที่ไม่ถูกต้องจำนวน 5 โครงการ โดยโครงการที่มี
ค่าร้อยละมากที่สุด 2 ลำดับแรก คือ
                        • โครงการการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน (ร้อยละ 50.0)
                        • โครงการจบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท (ร้อยละ 45.7)
 
                 มีโครงการประชานิยมที่ดีจำนวน 4 โครงการ โดยโครงการที่มีค่าร้อยละมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ
                        • โครงการเบี้ยยังชีพคนชราแบบขั้นบันได (ร้อยละ 80.0)
                        • โครงการอินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ (ร้อยละ 78.6)
                        • โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง (ร้อยละ 71.4)
 
                 โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ความคิดเห็นต่อ โครงการประชานิยมจะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                 หรือไม่


 
ร้อยละ
คิดว่าไม่ช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
58.6
คิดว่าช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้บ้าง แต่ไม่ยั่งยืน
38.6
คิดว่าจะช่วยสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
0.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.8
 
 
             2. ความคิดเห็นต่อ โครงการประชานิยมจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้หรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่าไม่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ
47.1
คิดว่าช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจได้บ้าง แต่ไม่ยั่งยืน
50.0
คิดว่าจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
0.0
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
2.9
 
 
             3. ความเห็นต่อ โครงการประชานิยมจะนำไปสู่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลมีความเข้มแข็ง
                 ของเศรษฐกิจในประเทศ (Domestic Demand) มากขึ้นได้หรือไม่

 
ร้อยละ
คิดว่าไม่ช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้น
40.0
คิดว่าช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้นได้บ้าง
แต่ไม่ยั่งยืน
52.9
คิดว่าจะช่วยทำให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีความเข้มแข็งขึ้นอย่างยั่งยืน
1.4
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
5.7
 
 
             4. ความคิดเห็นที่มีต่อ โครงการประชานิยมที่มีการแทรกแซงกลไกราคาผ่านโครงการรับจำนำ
                 สินค้าเกษตรต่างๆ ของรัฐบาลจะก่อให้เกิดปัญหาที่สำคัญอย่างไรบ้างโดยเฉพาะในระยะยาว
                 (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

 
ร้อยละ
เป็นช่องทางให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น การโก่งราคาเกษตรกร
77.1
รัฐบาลจะไม่สามารถกำหนดราคาขาย(ในตลาดโลกได้) เนื่องจากสินค้า
เกษตรจะเก็บไว้นานไม่ได้ และจะขาดทุนจากการดำเนินโครงการ
68.6
เป็นการส่งสัญญาณที่ผิดพลาด ราคารับจำนำที่สูงจะทำให้เกษตรกร
ขยายการเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น
65.7
ประสิทธิภาพการผลิตที่จะลดลง
60.0
ประชาชนได้ประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และประโยชน์ตกอยู่กับกลุ่มอื่น
เช่น ผู้ส่งออก โรงสี เป็นต้น
54.3
อันดับข้อจำกัดของพื้นที่เก็บรักษาสินค้าเกษตร
34.3
การดำเนินนโยบายที่ขาดความร่วมมือกับประเทศอื่นๆ จะทำให้ประเทศอื่น
ได้ประโยชน์
22.9
อื่นๆ คือ ไม่ได้แก้ปัญหาสินค้าเกษตรอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ไม่ช่วยแก้ทั้งปัญหา
ความยากจนของเกษตรกรและการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ นอกจากนี้ การบิดเบือนกลไก
ตลาดจะยิ่งทำให้เกษตรกรอ่อนแอ ประเทศสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน
ซึ่งจะเป็นปัญหาในระยะยาวโดยเฉพาะการเปิดเสรีอาเซียนที่กำลังจะมาถึง
10.0
 
 
             5. ความคิดเห็นต่อ ผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยมกับงบประมาณที่ใช้ไป (ซึ่งบางครั้งต้อง
                 แลกมาด้วยหนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น) อะไรมากกว่ากัน

 
ร้อยละ
ผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยม มากกว่า งบประมาณที่ใช้ไป
5.7
ผลได้สุทธิจากนโยบายประชานิยม น้อยกว่า งบประมาณที่ใช้ไป
77.1
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
17.2
 
 
             6. ความคิดเห็นในประเด็น ปัจจุบันนี้คนไทยเสพติดนโยบายประชานิยมหรือไม่

 
ร้อยละ
เชื่อว่าประชาชนยังไม่เสพติดโครงการประชานิยม
0.0
เชื่อว่าประชาชนเริ่มเสพติดโครงการประชานิยม
47.1
เชื่อว่าประชาชนเสพติดโครงการประชานิยมแล้ว
48.6
ไม่ตอบ/ไม่มั่นใจ/ไม่ทราบ
4.3
 
 
             7. ความคิดเห็นที่มีต่อนโยบายประชานิยมของรัฐบาลว่าโครงการใดถือเป็นโครงการประชานิยมที่ดี
                 หรือไม่ดี

โครงการประชานิยม
คิดว่าเป็นโครงการประชานิยม
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ที่ดี
ที่ดี
แต่วิธีไม่ถูกต้อง
ที่ไม่ดี
1) ชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง บางประเภทชั่วคราวเพื่อ
ให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงทันที
14.3
37.1
42.9
5.7
2) บัตรเครดิตพลังงานสำหรับผู้ประกอบการอาชีพ
รถรับจ้างขนส่งผู้โดยสารสาธารณะ
20.0
17.1
51.4
11.5
3) โครงการพักหนี้ครัวเรือนของเกษตรกรรายย่อย
และผู้มีรายได้น้อย
27.1
40.0
30.0
2.9
4) การขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน
21.4
50.0
25.7
2.9
5) จบปริญญาตรี เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท
25.7
45.7
24.3
4.3
6) โครงการเบี้ยยังชีพคนชราแบบขั้นบันได
80.0
7.1
4.3
8.6
7) โครงการบ้านหลังแรก (คืนภาษี-เพิ่มค่าลดหย่อน)
47.1
31.4
15.7
5.8
8) โครงการรถยนต์คันแรก (คืนภาษีสรรพสามิต)
21.4
18.6
58.6
1.4
9) เพิ่มเงินทุนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
อีกแห่งละ 1 ล้านบาท
15.7
40.0
40.0
4.3
10) กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีวงเงินจังหวัดละ
100 ล้านบาท
15.7
32.9
37.1
14.3
11) กองทุนพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน
(SML)
ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็น
จำนวนเงิน 3-5 แสนบาทต่อหมู่บ้าน
34.3
40.0
17.1
8.6
12) โครงการรับจำนำข้าวเปลือกเจ้าเกวียนละ
15,000 บาท และ ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000
บาท
5.7
25.7
65.7
2.9
13) โครงการบัตรเครดิตเกษตรกรเพื่อซื้อปัจจัย
การผลิต
25.7
24.3
45.7
4.3
14) โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรคได้จริง
71.4
24.3
2.9
1.4
15) โครงการแจกแท็บเลต พีซี ให้เด็กนักเรียน
ชั้น ป.1
12.9
17.1
65.7
4.3
16) โครงการอินเทอร์เน็ตฟรีในที่สาธารณะ โรงเรียน
สถาบันการศึกษา
78.6
14.3
4.3
2.8
      หมายเหตุ: เป็นนโยบายหรือโครงการที่รัฐบาลได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 และคัดเลือก
                     โดยกรุงเทพโพลล์
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์:
                  1. เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำข้อมูลผลสำรวจมาใช้ประกอบการทำนโยบาย
                  2. เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายประชานิยม
                      ที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนโดยตรง
                  3. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 27 แห่ง ได้แก่ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการ
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
               มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
               ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารธนชาต
               บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
               บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ   สำนักวิชาการ
               จัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น   คณะวิทยาการจัดการ
               และสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัย
               ศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
               และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  21 - 28 สิงหาคม 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 29 สิงหาคม 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
33
47.2
             หน่วยงานภาคเอกชน
22
31.4
             สถาบันการศึกษา
15
21.4
รวม
70
100.0
เพศ:    
             ชาย
35
50.0
             หญิง
35
50.0
รวม
70
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
23
32.9
             36 – 45 ปี
22
31.4
             46 ปีขึ้นไป
25
35.7
รวม
70
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.7
             ปริญญาโท
49
70.0
             ปริญญาเอก
17
24.3
รวม
70
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
10
14.3
             6 - 10 ปี
17
24.3
             11 - 15 ปี
10
14.3
             16 - 20 ปี
9
12.9
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
24
34.2
รวม
70
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776