หัวข้อ   “ ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย
นักเศรษฐศาสตร์ 64.3% ชี้การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรวดเดียว 300 บาททั่วประเทศเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกทาง
แนะต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติมโดยเฉพาะ SMEs (นอกเหนือจากการลดภาษี)
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความเห็น
นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน 70 คนเรื่อง “ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท
ทั่วประเทศ ส่งผลอย่างไรต่อเศรษฐกิจไทย
”  โดยเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 11-19 ก.ย.
ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 64.3 เห็นว่าการปรับขึ้น
ค่าจ้างขั้นต่ำรวดเดียว 300 บาททั่วประเทศใน 70 จังหวัดที่เหลือแล้วคงที่ไว้เป็น
เวลา 2 ปี (ปี 2557-2558) เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกทาง
โดยให้เหตุผลที่สำคัญว่า
ธุรกิจจะไม่สามารถปรับตัวได้ทันโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าได้ตาม
ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงศักยภาพทางธุรกิจในแต่ละพื้นที่ก็แตกต่างกัน   ขณะที่ร้อยละ 18.6
เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกทางแล้ว โดยให้เหตุผลที่สำคัญว่า เป็นการเพิ่มอำนาจซื้อ
เพิ่มการกระจายรายได้ และกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค   เมื่อถามต่อว่าการปรับขึ้นค่าจ้าง
ขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศที่ 300 บาทต่อวันเป็นการดำเนินการที่เหมาะสมหรือไม่
ร้อยละ 72.9 เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม
  ขณะที่ร้อยละ 17.1 เห็นว่าเป็น
การดำเนินการที่เหมาะสมแล้ว
 
                 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ารัฐบาลควรดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปให้อยู่ในระดับต่ำไม่เกินร้อยละ 3.45
ต่อปี และเห็นว่าหากเงินเฟ้อทั่วไปปรับเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับที่สูงกว่าร้อยละ 4.56 ต่อปี รัฐบาลควรมีการทบทวน
ค่าจ้างขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้
(ที่กำหนดให้คงที่ 2 ปี)
 
                 ส่วนผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาและส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นผลมาจากการปรับ
ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ทั่วประเทศ คือ
                          อันดับ 1 ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้น/เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 85.7)
                          อันดับ 2 การเลิกกิจการของผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs ที่จะเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 68.6)
                          อันดับ 3 การจ้างแรงงานต่างด้าวที่จะเพิ่มขึ้น (ร้อยละ 62.9)
                          อันดับ 4 การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นของผู้ประกอบการ (ร้อยละ 61.4)
 
                  นอกจากนี้ นักเศรษฐศาสตร์เสนอให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs เพิ่มเติม
(นอกเหนือจากการลดภาษีนิติบุคคล) เช่น การช่วยเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้กับผู้ประกอบการ การพัฒนาสินค้าและ
ด้านตลาด มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีปัญหา การจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือ เป็นต้น
 
                  (โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้)
 
             1. ความคิดเห็นต่อการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรวดเดียว 300 บาททั่วประเทศใน 70 จังหวัดที่เหลือ
                 แล้วคงที่ไว้เป็นเวลา 2 ปี (ปี 2557-2558) เป็นการดำเนินการที่ถูกทางหรือไม่


 
ร้อยละ
เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ถูกทางแล้ว
เพราะ
1.
เป็นการเพิ่มอำนาจซื้อ เพิ่มการกระจายรายได้ กระจายความเจริญ
สู่ภูมิภาค
2.
ค่าครองชีพขณะนี้สูงขึ้นไปแล้วตั้งแต่เริ่มประกาศนโยบายจึงจำเป็น
ต้องดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้กับประชาชน
3.
ช่วยกระตุ้นให้อุตสาหกรรมได้ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิต
ให้ดีขึ้น และการคงที่ค่าจ้างขั้นต่ำไว้เป็นเวลา 2 ปีก็จะช่วยให้
ผู้ประกอบการปรับตัวได้
18.6
เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกทาง
เนื่องจาก
1.
ธุรกิจไม่สามารถปรับตัวได้ทันโดยเฉพาะ SMEs ที่ไม่สามารถปรับ
ราคาสินค้าได้ตามต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ศักยภาพทางธุรกิจในแต่ละ
พื้นที่แตกต่างกัน อีกทั้งผลิตภาพของแรงงานก็เพิ่มในระดับที่น้อย
กว่าค่าจ้าง   (แม้จะได้ประโยชน์จากการลดอัตราภาษีนิติบุคคล
ก็ตาม)
2.
การเพิ่มค่าจ้างรวดเดียวจะก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลต่อ
รายได้ที่แท้จริงของแรงงาน รวมถึงส่งผลกระทบต่อผู้ที่ไม่มีได้
ประจำ เช่น เกษตรกร
3.
ค่าครองชีพในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันจึงไม่ควรปรับให้ค่าจ้าง
ขั้นต่ำเท่ากัน
4.
การปรับเพิ่มค่าจ้างควรใช้วิธีการทยอยขึ้นน่าจะดีกว่า การปรับเพิ่ม
ลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการเพิ่มจากเหตุผลทางการเมืองไม่ใช่
ทางเศรษฐกิจ
64.3
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
17.1
 
 
             2. การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้เท่ากันทั่วประเทศที่ 300 บาทต่อวัน เป็นการดำเนินการที่เหมาะสมหรือไม่

 
ร้อยละ
เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่เหมาะสมแล้ว
17.1
เห็นว่าเป็นการดำเนินการที่ไม่เหมาะสม
72.9
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
10.0
 
 
             3. การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรวดเดียว 300 บาททั่วประเทศใน 70 จังหวัดที่เหลือ และหากรัฐบาล
                 ต้องการให้รายได้ของผู้ใช้แรงงานที่เพิ่มขึ้นหมายถึงอำนาจซื้อที่เพิ่มขึ้นด้วย รัฐบาลต้องดูแล
                 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ไม่ควรให้เกินร้อยละเท่าไรต่อปี

 
ร้อยละ
เห็นว่ารัฐบาลต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไม่ให้เกินร้อยละ 1.1-2.0 ต่อปี
2.8
เห็นว่ารัฐบาลต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไม่ให้เกินร้อยละ 2.1-3.0 ต่อปี
25.8
เห็นว่ารัฐบาลต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไม่ให้เกินร้อยละ 3.1-4.0 ต่อปี
31.4
เห็นว่ารัฐบาลต้องดูแลอัตราเงินเฟ้อทั่วไปไม่ให้เกินร้อยละ 4.1-5.0 ต่อปี
7.1
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
32.9
              (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยที่นักเศรษฐศาสตร์ต้องการให้รัฐบาลดูแลไม่เกินร้อยละ 3.45 ต่อปี)
 
 
             4. เงินเฟ้อทั่วไป (Headline Inflation) ปรับเพิ่มร้อยละเท่าไรที่รัฐบาลควรจะมีการทบทวนค่าจ้าง
                 ขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้

 
ร้อยละ
เห็นว่าหากเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกินร้อยละ 2.0-3.0 ต่อปี รัฐบาลควรมีการ
ทบทวน ค่าจ้างขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้
17.1
เห็นว่าหากเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกินร้อยละ 3.1-4.0 ต่อปี รัฐบาลควรมีการ
ทบทวน ค่าจ้างขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้
12.8
เห็นว่าหากเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกินร้อยละ 4.1-5.0 ต่อปี รัฐบาลควร
มีการทบทวน ค่าจ้างขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้
22.9
เห็นว่าหากเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเกินร้อยละ 5.1 ขึ้นไปต่อปี รัฐบาลควรมีการ
ทบทวนค่าจ้างขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้
7.1
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
40.1
              (อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยที่ร้อยละ 4.56 ต่อปี เป็นระดับที่นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่ารัฐบาลควรมีการ ทบทวน
               ค่าจ้างขั้นต่ำก่อนเวลาที่กำหนดไว้)
 
 
             5. ผลกระทบใดที่จะเกิดขึ้นตามมาอย่างมีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย อันเป็นผลมาจากการปรับ
                 ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ

 
ร้อยละ
เห็นว่ามีผลต่อ ราคาสินค้าจะเพิ่มขึ้น/เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้น
85.7
เห็นว่ามีผลต่อ การเลิกกิจการของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะในกิจการขนาดกลางและขนาดเล็กที่จะเพิ่มขึ้น
68.6
เห็นว่ามีผลต่อ การจ้างแรงงานต่างด้าวที่จะเพิ่มขึ้น
62.9
เห็นว่ามีผลต่อ การย้ายฐานการผลิตไปประเทศอื่นของผู้ประกอบการ
61.4
เห็นว่ามีผลต่อ การตัดสินใจลงทุนในประเทศไทยของนักลงทุนต่างชาติ
(เฉพาะการลงทุนทางตรง หรือ FDI)
50.0
เห็นว่ามีผลต่อ ปัญหาการว่างงานที่จะเพิ่มขึ้น
44.3
เห็นว่ามีผลต่อ การส่งออกที่จะลดลง/ขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้า
ในตลาดต่างประเทศ
32.9
เห็นว่ามีผลต่อ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวลดลง
12.9
เห็นว่ามีผลทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นและกระจายรายได้
ที่ไม่เป็นธรรม
5.7
เห็นว่ามีผลต่อด้านอื่นๆ คือ รายได้ของแรงงานอาจไม่เพิ่มขึ้นจริงเพราะราคาสินค้า
เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ คุณภาพสินค้าที่บริโภคภายในประเทศทั่วไปจะลดลง
นายทุนโดยเฉพาะบริษัทใหญ่ๆ อาจฉวยโอกาสปรับเพิ่มอัตรากำไรให้กับสินค้า
และบริการของตัวเอง รวมถึงการหันไปใช้เครื่องจักรแทนแรงงาน
4.3
เห็นว่ามีผลด้านบวกที่สำคัญด้วย คือ รายได้ที่แท้จริงของแรงงานที่มีงานเพิ่มขึ้น
หากรัฐบาลสามารถคุมอัตราเงินเฟ้อ ช่วยเพิ่มกำลังซื้อ และการบริโภค ซึ่งจะทำให้
การบริโภคภาคเอกชนน่าจะยังขยายตัวได้ในเกณฑ์ดีต่อไป ช่องว่างการกระจาย
รายได้ระหว่างผู้มีรายได้ต่ำและปานกลางปรับดีขึ้น ถ้ามีการเพิ่มผลิตภาพการผลิต
จะส่งผลให้แรงงานมีฝีมือได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและจูงใจ การพัฒนาฝีมือแรงและ
การบริหารงานภายในองค์กร เนื่องจากต้องแข่งขันกับต่างประเทศ
28.6
 
 
             6. ข้อเสนอแนะรัฐบาล หากมีการดำเนินการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำรวดเดียว 300 บาททั่วประเทศ
                 ใน 70 จังหวัด ที่เหลือในวันที่ 1 ม.ค. 2556 เพื่อให้นโยบายรัดกุมขึ้นหรือเพื่อลดผลกระทบ
                 ที่จะเกิดขึ้นตามมา

1) รัฐบาลต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs เพิ่มเติม (นอกเหนือจากการ
    ลดภาษีนิติบุคคล) เช่น การช่วยเพิ่มผลิตภาพของแรงงานให้กับผู้ประกอบการ การพัฒนาสินค้า
    และด้านตลาด มีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการที่มีปัญหา การตั้งกองทุน
    ช่วยเหลือ เป็นต้น
2) รัฐบาลควรทบทวนวิธีการขึ้นค่าจ้างอีกครั้งหนึ่ง โดยอาจเป็นการทยอยปรับขึ้น การปรับขึ้น
    ค่าจ้างตามผลิตภาพการผลิต รวมถึงควรมีการศึกษาผลกระทบต่างๆ ให้รอบคอบ
3) รัฐบาลควรถือโอกาสนี้ปฏิรูปโครงสร้างค่าจ้างให้เป็นระบบ มีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานใน
    พื้นที่ที่ขาดแคลน มีการศึกษาผลกระทบต่อการย้ายฐานการผลิต รวมถึงต้องควบคุมราคาสินค้า
    ไม่ให้สูงขึ้นจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  1. เพื่อเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาล เอกชน รวมถึงประชาชนผู้ใช้แรงงาน ในการเตรียมความพร้อมรองรับผลที่จะ
                      เกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบาย
                  2. เพื่อกระตุ้นให้สังคมมีความตระหนักถึงผลกระทบจากการดำเนินนโยบาย  อันจะช่วยลดผลกระทบต่างๆ
                      ที่จะเกิดขึ้น  อีกทั้งอาจช่วยส่งผลให้การดำเนินนโยบายมีความรัดกุมขึ้น
                  3. เพื่อสะท้อนความเห็นในประเด็นด้านเศรษฐกิจจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
                      ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปี) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจ
               ระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการ
               พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
               สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย  
               มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)
               ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   ธนาคารกรุงไทย
               ธนาคารไทยพาณิชย์   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารธนชาต   บริษัทหลักทรัพย์
               พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
               บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงศรี  คณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยทักษิณ   สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัย
               ขอนแก่น   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์
               มหาวิทยาลัยนเรศวร   สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  รวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  11 - 19 กันยายน 2555
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 กันยายน 2555
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
30
42.9
             หน่วยงานภาคเอกชน
23
32.9
             สถาบันการศึกษา
17
24.2
รวม
70
100.0
เพศ:    
             ชาย
37
52.9
             หญิง
33
47.1
รวม
70
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
28
40.0
             36 – 45 ปี
18
25.7
             46 ปีขึ้นไป
23
32.9
             ไม่ระบุ
1
1.4
รวม
70
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
5.7
             ปริญญาโท
48
68.6
             ปริญญาเอก
18
25.7
รวม
70
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
12
17.1
             6 - 10 ปี
16
22.9
             11 - 15 ปี
13
18.6
             16 - 20 ปี
6
8.6
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
22
31.4
             ไม่ระบุ
1
1.4
รวม
70
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776