หัวข้อ   “คะแนนนิยมโค้งแรกสู่การชิงชัยผู้ว่าฯ กทม.
คะแนนนิยมผู้ว่าฯ กทม.โค้งแรกยังสูสี พล.ต.อ. พงศพัศ นำ ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ 23.9% ต่อ 23.6%
พร้อมระบุ อยากให้ผู้ว่าฯ คนใหม่ช่วยลดค่าครองชีพ แก้ปัญหารถติด
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจ
ความคิดเห็นเรื่อง “คะแนนนิยมโค้งแรกสู่การชิงชัยผู้ว่าฯ กทม.” โดยเก็บข้อมูลจาก
ประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,607 คน
เมื่อวันที่ 21 - 23 มกราคม ที่ผ่านมา พบว่า  คนกรุงเทพฯ ร้อยละ 88.8 ทราบถึง
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 มีนาคมนี้
  ขณะที่ร้อยละ 11.2 ไม่ทราบ
ทั้งนี้เมื่อถามต่อว่าจะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. หรือไม่ ร้อยละ 89.3 คิดว่าจะไป
ขณะที่ร้อยละ 7.0 ยังไม่แน่ใจ  มีเพียงร้อยละ 3.7 ที่คิดว่าจะไม่ไป
 
                 ส่วนเกณฑ์ที่คนกรุงเทพฯ ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครผู้ว่าฯ
กทม. อันดับแรก คือ เลือกที่ตัวผู้สมัคร/ความรู้ความสามารถ/ผลงานที่ผ่านมา
(ร้อยละ 47.8)
  รองลงมาคือ นโยบายของผู้สมัคร (ร้อยละ 27.3)   พรรคการเมือง
ที่สังกัด (ร้อยละ 15.8)  และผู้สมัครอิสระ/ไม่สังกัดพรรค (ร้อยละ 3.4)
 
                 สำหรับสิ่งที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มาแก้ปัญหาหรือทำอะไร
ให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุดอันดับแรกคือ ลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง
สินค้าราคาแพง (ร้อยละ 31.1)   รองลงมาคือ แก้ปัญหารถติด (ร้อยละ 27.7)  สร้างอาชีพ สร้างรายได้ (ร้อยละ 13.4)
และใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน (ร้อยละ 11.7)
 
                  เมื่อถามความเห็นที่มีต่อตัวผู้สมัครด้วยข้อคำถามที่ว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกใคร
เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร” อันดับแรกพบว่าคือ เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ (ร้อยละ 23.9)
รองลงมาคือเบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร (ร้อยละ 23.6)
  และเบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
(ร้อยละ 6.5)  ขณะที่ร้อยละ 42.1 ยังไม่ตัดสินใจ
 
                  ด้านความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพ
และบริสุทธิ์ยุติธรรมพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 54.6 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
  ขณะที่ร้อยละ 45.4 เชื่อมั่น
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
 
                  รายละเอียดดังต่อไปนี้
 
 
             1. การรับทราบถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ในวันที่ 3 มีนาคม 2556

 
ร้อยละ
ทราบ
88.8
ไม่ทราบ
11.2
 
 
             2. ความตั้งใจที่จะไปเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3 มี.ค. 2556 นี้

 
ร้อยละ
คิดว่าจะไป
89.3
คิดว่าจะไม่ไป
โดยให้เหตุผลว่า
       - เบื่อหน่ายการเมือง
ร้อยละ 1.6
       - ทำงาน ติดธุระ ไป ต่างจังหวัด
ร้อยละ 1.0
       - ไม่เคยไปเลือกอยู่แล้ว
ร้อยละ 0.7
       - เลือกไปก็ไม่เห็นทำประโยชน์ให้เลย
ร้อยละ 0.3
       - ไม่มีผู้สมัครที่สนใจจะเลือก
ร้อยละ 0.1
3.7
ไม่แน่ใจ
7.0
 
 
             3. เกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินใจเลือกผู้สมัครผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่จะถึงนี้

 
ร้อยละ
ตัวผู้สมัคร/ความรู้ความสามารถ/ผลงานที่ผ่านมา
49.5
นโยบายของผู้สมัคร
28.2
พรรคการเมืองที่สังกัด
16.3
ผู้สมัครอิสระ/ไม่สังกัดพรรค
6.0
 
 
             4. สิ่งที่อยากให้ผู้ว่าฯ กทม. คนใหม่มาแก้ปัญหาหรือทำอะไรให้กับคนกรุงเทพฯ มากที่สุด

 
ร้อยละ
ลดค่าครองชีพ แก้ปัญหาปากท้อง สินค้าราคาแพง
31.1
แก้ปัญหารถติด
27.7
สร้างอาชีพ สร้างรายได้
13.4
ใส่ใจเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
11.7
แก้ปัญหาความสะอาดของถนน ตลาด แม่น้ำ คูคลอง
8.8
ขยายเส้นทางรถไฟฟ้าให้ครอบคลุมพื้นที่ กทม.
7.3
 
 
             5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง ท่านจะเลือกใครเป็นผู้ว่าราชการ
                 กรุงเทพมหานคร”

 
ร้อยละ
เบอร์ 9 พลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ
23.9
เบอร์ 16 ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร
23.6
เบอร์ 11 พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส
6.5
เบอร์ 17 คุณสุหฤท สยามวาลา
1.3
เบอร์ 10 คุณโฆสิต สุวินิจจิต
0.5
ผู้สมัครคนอื่นๆ
1.0
งดออกเสียง
1.1
ยังไม่ตัดสินใจ
42.1
 
 
             6. ความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งให้มีประสิทธิภาพและ
                 บริสุทธิ์ยุติธรรม

 
ร้อยละ
ค่อนข้างมากถึงมากที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างมากร้อยละ 33.2 และมากที่สุดร้อยละ 12.2)
45.4
ค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด
(โดยแบ่งเป็น ค่อนข้างน้อยร้อยละ 45.0 และน้อยที่สุดร้อยละ 9.6)
54.6
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  - เพื่อสะท้อนความเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี 2556
                  - เพื่อสะท้อนความเชื่อมั่นต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในการควบคุมดูแลการเลือกตั้งครั้งนี้
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปจากทุกสาขาอาชีพ ที่มีทะเบียนบ้านอยู่ในเขตกรุงเทพ
มหานครทั้ง 50 เขต ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) จากนั้นจึงสุ่มประชากรเป้าหมาย
ที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว และการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่ม
ตัวอย่างทั้งสิ้น 1,607 คน เป็นเพศชายร้อยละ 49.0 และเพศหญิงร้อยละ 51.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัวและสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็นข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุด
มาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  21 - 23 มกราคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 25 มกราคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
787
49.0
             หญิง
820
51.0
รวม
1,607
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
366
22.8
             26 – 35 ปี
337
21.0
             36 – 45 ปี
394
24.5
             46 ปีขึ้นไป
510
31.7
รวม
1,607
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
1,046
65.1
             ปริญญาตรี
498
31.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
63
3.9
รวม
1,607
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
138
8.6
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
285
17.7
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
543
33.8
             รับจ้างทั่วไป
223
13.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
204
12.7
             นักศึกษา
177
11.0
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
37
2.3
รวม
1,607
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776