หัวข้อ   “ ครึ่งทางรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์กับผลงานด้านเศรษฐกิจ
ประเมินผลงานเศรษฐกิจรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ 4.08 คะแนนจากเต็ม 10
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ด้วยรัฐบาลของนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะปฏิบัติงานครบ 2 ปี ศูนย์วิจัย
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
จึงได้ดำเนินการสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 30 แห่ง จำนวน
60 คน เรื่อง “ครึ่งทางรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์กับผลงานด้านเศรษฐกิจ” โดยเก็บ
ข้อมูลระหว่างวันที่ 11 – 17 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจในภาพรวมของ
รัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์ โดยให้คะแนน 4.08 คะแนน (จากเต็ม 10)
เพิ่มขึ้นจาก
การสำรวจในปี 2555 ที่ได้คะแนนเพียง 3.83 คะแนน โดยครั้งนี้รัฐบาลได้คะแนนด้าน
การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม (GDP) มากที่สุด 5.63 คะแนน และได้คะแนนด้าน
การบริหารจัดการหนี้สาธารณะน้อยที่สุด 3.05 คะแนน
 
                 สำหรับการประเมินผลงานของรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญ พบว่า
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้คะแนน 3.66 คะแนน (จากเต็ม 10)
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ได้ 3.86 คะแนน ส่วนรัฐมนตรี
ที่ได้คะแนนสูงสุดคือ นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา ได้ 4.67 คะแนน   ขณะที่นายบุญทรง
เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ ได้คะแนนน้อยที่สุดเพียง 2.50 คะแนน
  ทำให้ภาพรวมผลงานของรัฐมนตรีกระทรวง
เศรษฐกิจที่สำคัญได้คะแนนประเมินเพียง 3.77 คะแนน
 
                 ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยนักเศรษฐศาสตร์ให้คะแนนประเมิน
สูงถึง 7.11 คะแนน (จากเต็ม 10)
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
 
             1. ประเมินผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดปัจจุบันและที่ผ่านมา

 รัฐบาล
นายกฯ อภิสิทธิ์
นายกฯ ยิ่งลักษณ์
นายกฯ ยิ่งลักษณ์
ช่วงเวลาที่สำรวจ
พ.ค. 54
เม.ย. 55
มิ.ย. 56
คะแนน (เต็ม 10 คะแนน)
5.12
3.83
4.08
 
 
             2. ประเมินผลงานการบริหารเศรษฐกิจภาพรวมของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์

 
คะแนน
(เต็ม 10)
ผลงาน (ร้อยละ)
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ดีเยี่ยม
ดี
พอใช้
แย่
แย่มาก
1. การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวม
    (GDP)
5.63
1.7
28.3
63.3
6.7
0.0
0.0
2. การบริหารจัดการค่าเงินบาท/
    เสถียรภาพค่าเงินบาท
4.74
0.0
18.3
51.7
25.0
1.7
3.3
3. การสร้างสรรค์โครงการเศรษฐกิจ
    ต่างๆ
4.38
1.7
20.0
31.7
33.3
6.7
6.6
4. การบริหารจัดการราคาพลังงาน
3.84
0.0
11.7
43.3
26.7
15.0
3.3
5. การแก้ปัญหา/ดูแลเสถียรภาพ
    ของราคาสินค้า
3.67
0.0
15.0
31.7
38.3
15.0
0.0
6. การสร้างความเป็นธรรมในสังคม
    ลดความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ
3.23
0.0
5.0
36.7
36.7
18.3
3.3
7. การบริหารจัดการหนี้สาธารณะ
3.05
1.7
3.3
33.3
36.7
23.3
1.7
รวม
4.08
0.7
14.5
41.7
29.0
11.4
2.7
 
 
             3. ประเมินผลงานผู้บริหารหน่วยงานเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาลนายกฯ ยิ่งลักษณ์

 
คะแนน
(เต็ม 10)
ผลงาน (ร้อยละ)
ไม่ตอบ/
ไม่ทราบ
ดีเยี่ยม
ดี
พอใช้
แย่
แย่มาก
1. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
    นายกรัฐมนตรี
3.66
1.7
10.0
35.0
35.0
15.0
3.3
2. นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง
    รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง
3.86
1.7
15.0
28.3
38.3
11.7
5.0
3. นายบุญทรง เตริยาภิรมย์
    รมว.พาณิชย์
2.50
0.0
3.3
21.7
41.7
28.3
5.0
4. นายประเสริฐ บุญชัยสุข
    รมว.อุตสาหกรรม
4.33
0.0
11.7
38.3
18.3
6.7
25.0
5. นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล
    รมว.พลังงาน
3.70
0.0
6.7
43.3
26.7
13.3
10.0
6. นายยุคล ลิ้มแหลมทอง
    รมว.เกษตรและสหกรณ์
3.63
1.7
8.3
36.7
18.3
20.0
15.0
7. นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์
    รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา
4.67
1.7
10.0
46.7
13.3
5.0
23.3
รวม
3.77
1.0
9.3
35.7
27.4
14.3
12.3
8. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล
    ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
7.11
16.7
50.0
26.7
0.0
1.7
4.9
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความเห็นผลงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลจากผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจโดยตรง
ไปยังสาธารณชนโดยผ่านช่องทางสื่อมวลชน
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 30 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจ
               อุตสาหกรรม   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง
               ศูนย์วิจัยกสิกรไทย   ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย   ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
               ธนาคารกรุงไทย   ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร
               บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน  บริษัทหลักทรัพย์ไอร่า   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน   บริษัทหลักทรัพย์
               จัดการกองทุนกรุงไทย   บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนฟินันซ่า   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
               ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและพยากรณ์ทางการเกษตรมหาวิทยาลัยแม่โจ้  สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัย
               วลัยลักษณ์  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยขอนแก่น
               คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร   สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบาย
               สาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ  คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   และคณะเศรษฐศาสตร์
               มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  11 - 17 มิถุนายน 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 18 มิถุนายน 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
25
41.7
             หน่วยงานภาคเอกชน
21
35.0
             สถาบันการศึกษา
14
23.3
รวม
60
100.0
เพศ:    
             ชาย
29
48.3
             หญิง
31
51.7
รวม
60
100.0
อายุ:
 
 
             26 – 35 ปี
22
36.6
             36 – 45 ปี
19
31.7
             46 ปีขึ้นไป
19
31.7
รวม
60
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
4
6.6
             ปริญญาโท
43
71.7
             ปริญญาเอก
13
21.7
รวม
60
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
10
16.7
             6 - 10 ปี
15
25.0
             11 - 15 ปี
10
16.7
             16 - 20 ปี
8
13.3
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
17
28.3
รวม
60
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776