หัวข้อ   “ วัฏจักรเศรษฐกิจกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
        นักเศรษฐศาสตร์ 62.9% เชื่อเศรษฐกิจไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย 61.2% หนุนให้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วย
การเร่งการลงทุนภาครัฐในโครงการต่างๆ ตามที่ได้วางแผนไว้ และ 69.4% เชื่อสามเดือนข้างหน้ามีข่าวทางลบ
มากกว่าทางบวก
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 32 แห่ง
จำนวน 62 คน เรื่อง
“วัฏจักรเศรษฐกิจกับการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย” โดยเก็บข้อมูล
ระหว่างวันที่ 15 –24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 62.9 เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันอยู่ใน
ช่วงเศรษฐกิจถดถอย(Contraction / Recession)
ซึ่งเป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจ
เริ่มลดลง GDP และความต้องการสินค้าโดยรวมลดลงธุรกิจเริ่มขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน การผลิตและการจ้างงานลดลง มีเพียงร้อยละ 12.9 ที่เห็นว่าอยู่ในช่วงเศรษฐกิจ ขยายตัว เมื่อถามต่อว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจมีความจำหรือไม่ ร้อยละ 61.2 เห็นว่ามีความจำเป็น (ในจำนวนนี้ร้อยละ 17.7 เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง) ขณะที่ร้อยละ 30.6 เห็นว่าไม่มีความจำเป็น
 
                 อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลมีแนวคิดที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 51.6 เสนอให้กระตุ้นด้วยการเร่งการลงทุนภาครัฐในโครงการต่างๆ ตามที่
ได้วางแผนไว้
ร้อยละ41.9 เสนอให้กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน
 
               สำหรับประเด็นข่าวบริษัทสหฟาร์มขาดสภาพคล่องนั้น นักเศรษฐศาสตร์ ร้อยละ 59.7 ไม่ถือเป็นสัญญาณ บ่งชี้วิกฤติเศรษฐกิจแต่เป็นที่ลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรมหรือลักษณะเฉพาะของบริษัทที่ใช้แรงงาน
เข้มข้นในการผลิตมากกว่า ขณะที่ร้อยละ 32.3 ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้วิกฤติเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะรัฐบาลต้อง
จับตาอย่างใกล้ชิด
 
                 สุดท้ายเมื่อถามว่า “ในระยะสามเดือนข้างหน้าข่าวเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจไทยข่าวทางบวก
กับข่าวทางลบข่าวใดจะมากกว่ากันและจะมีประเด็นข่าวอะไรบ้างที่หน่วยงานเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าจับตาเป็นพิเศษ”
ร้อยละ 69.4 เชื่อว่ามีข่าวทางลบมากกว่าทางบวก โดยประเด็นข่าวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้น นักเศรษฐศาสตร์ 29 จาก 37 คน
ที่แสดงความเห็นยังคงเป็นห่วงประเด็นข่าวเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะประเด็นทางการเมืองที่จะส่งผลต่อบรรยากาศ
การลงทุนและความเชื่อมั่นต่อการดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐ มีเพียงร้อยละ 8.1 เท่านั้นที่เชื่อว่ามีข่าวทางบวก
มากกว่าทางลบ
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม “จากสถานะเศรษฐกิจในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้าท่านคิดว่า เศรษฐกิจไทย
                 กำลังอยู่ในช่วงใดของ “วัฏจักรเศรษฐกิจ” (Economic Cycle)"


ร้อยละ
 
12.9
เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว (Expansion / Recovery) ซึ่งเป็น
ช่วงที่การผลิตและการจ้างงานเริ่มเพิ่มขึ้น รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนสูงขึ้น ทิศทาง
การลงทุนมีแนวโน้มดีขึ้น
8.1
เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak) เป็นจุดสูงสุดของวัฏจักร ณ จุดนี้
ระบบเศรษฐกิจจะมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งการผลิตและการบริโภค เริ่มมีการขาดแคลนแรงงาน
และวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ระดับราคาสินค้าสูง ธุรกิจมีกำไรสูงตามไปด้วย
62.9
เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย (Contraction / Recession) เป็นช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มลดลง GDP และความต้องการสินค้าโดยรวม
ลดลงธุรกิจเริ่มขาดแคลนเงินทุนหมุนเวียน การผลิตและการจ้างงานลดลง
3.2
เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (Trough) ช่วงเวลานี้การว่างงานสูง
ความต้องการสินค้าโดยรวมลดลง สินค้าที่ผลิตขึ้นมาไม่สามารถขายได้ กำไรของธุรกิจลดลง
การขยายตัวทางธุรกิจจะอยู่ในอัตราต่ำ เนื่องจากความเสี่ยงในการขาดทุนสูง
12.9
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             2. ข้อคำถาม “จากที่หน่วยงานเศรษฐกิจหลายๆ หน่วยงานได้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวทาง
                 เศรษฐกิจในปี 2556 นั้น ท่านคิดว่าจากสถานะเศรษฐกิจในปัจจุบัน
มีความจำเป็นหรือไม่ในการ
                 กระตุ้นเศรษฐกิจ"


ร้อยละ
 
17.7
เห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะ เศรษฐกิจยังไม่ได้อยู่ในภาวะปกติคือ การส่งออกยัง
ลดลง จีดีพีมีแนวโน้มขยายตัวลดลง เศรษฐกิจจึงยังต้องการแรงส่ง โดยเฉพาะจากการลงทุน
ในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว
43.5
เห็นว่ามีความจำเป็น เพราะ ปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลายตัวมีปัญหา ไม่ว่าจะเป็น
การบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน การส่งออก(เศรษฐกิจโลกไม่ดี) ดังนั้นการ
กระตุ้นเศรษฐกิจจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ควรเป็นการกระตุ้นที่ช่วยเพิ่ม
ผลิตภาพการผลิต (Productivity) ด้วย
30.6
เห็นว่าไม่มีความจำเป็น เพราะ ปัจจุบันเศรษฐกิจอยู่ในช่วงพักฐานเท่านั้นเป็นการปรับตัว
ตามวัฎจักรเศรษฐกิจ เป็นอย่างนี้ทั่วโลก และระบบเศรษฐกิจยังคงมีแรงผลักดันให้เดินหน้าได้ ภาคเอกชนและภาคครัวเรือนก็สามารถปรับตัวได้ ดังนั้น รัฐควรบริหารเศรษฐกิจตามแผน
การลงทุนที่ได้วางไว้ เน้นการสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ การกระตุ้นเพิ่ม
อาจทำให้เศรษฐกิจ shock และนำมาสู่ความเสี่ยงได้
8.2
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             3. ข้อคำถาม “หากรัฐบาลมีแนวคิดที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจ ท่านคิดว่ารัฐบาลควรกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน
                 ภาคเศรษฐกิจใดมากที่สุด”


ร้อยละ
 
51.6
เร่งการลงทุนภาครัฐในโครงการต่างๆ ตามที่ได้วางแผนไว้
41.9
กระตุ้นการลงทุนภาคเอกชน (เช่น การเพิ่มมาตรการส่งเสริมการลงทุน เอาใจใส่ดูแล
ภาคการผลิตให้มากขึ้น)
33.9
กระตุ้นการส่งออก (เช่น ร่วมมือกับภาคเอกชนขยายตลาดใหม่)
25.8
กระตุ้นการท่องเที่ยวจากต่างประเทศโดยออกนโยบายใหม่ๆ (เช่น เที่ยวประเทศไทย
ไม่ต้องทำ Visa)
6.5
อัดฉีดเงินเข้าสู่ภาคครัวเรือนโดยตรง (ซึ่งอาจอยู่ในลักษณะเพิ่มเงินในกระเป๋าให้กับภาค
ครัวเรือน เช่น การจ่ายเช็คเงินสดให้กับผู้ที่มีรายได้น้อย การลดเงินสมทบประกันสังคม เป็นต้น)
6.5
วิธีอื่นๆ คือ เน้นการดูแล SMEs ในด้านต่างๆ, ให้ความสำคัญกับภาคการศึกษา, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, สร้างงานให้เพิ่มขึ้น, ดูแลภาคเกษตรให้มากขึ้น
0.0
เสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก
4.8
ไม่ต้องมีมาตรการอะไรเสริม ดำเนินกิจกรรมไปตามปกติ
3.2
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             4. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าข่าวบริษัทสหฟาร์มขาดสภาพคล่องถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ต่อวิกฤติเศรษฐกิจ
                 หรือไม่"


ร้อยละ
 
59.7
ไม่ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้วิกฤติเศรษฐกิจเพราะเป็นลักษณะเฉพาะของ อุตสาหกรรม
หรือลักษณะเฉพาะของบริษัทที่ใช้แรงงานเข้มข้นในการผลิต ซึ่งอาจได้รับผล
กระทบจากค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท
32.3
ถือเป็นสัญญาณบ่งชี้วิกฤติเศรษฐกิจที่ทุกฝ่ายโดยเฉพาะรัฐบาลต้องจับตาอย่าง ใกล้ชิด
8.0
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 
             5. ข้อคำถาม “ท่านคิดว่าในระยะสามเดือนข้างหน้าข่าวเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจไทย
                 ข่าวทางบวกกับข่าวทางลบข่าวใดจะมากกว่ากันและจะมีประเด็นข่าวอะไรบ้าง
ที่หน่วยงานเศรษฐกิจ
                 ที่เกี่ยวข้องต้องเฝ้าจับตาเป็นพิเศษ"

ร้อยละ
 
69.4
เชื่อว่ามีข่าวทางบวกมากกว่าทางลบ โดยประเด็นข่าวที่คาดว่าจะเกิดขึ้นนั้น
นักเศรษฐศาสตร์ 29 จาก 37 คนที่แสดงความเห็นยังคงเป็นห่วงประเด็นข่าวเศรษฐกิจ
ในประเทศ ได้แก่
   (1) ประเด็นทางการเมืองที่จะส่งผลต่อบรรยากาศการลงทุนและความเชื่อมั่นต่อการ
        ดำเนินโครงการต่างๆ ของภาครัฐ
   (2) ประเด็นการดำเนินโครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่จะนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆ ตามมาไม่ว่า
        จะเป็นการคอร์รัปชั่น การขาดทุน การดำเนินโครงการที่ไม่มีประสิทธิภาพ
   (3) กำลังซื้อภาคครัวเรือนที่คาดว่าจะลดลงจากปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน
   (4) ประเด็นการปิดกิจการของ SMEs ยอดขายที่ลดลง การว่างงานที่จะเพิ่มขึ้น
        โดยเฉพาะแรงงานระดับล่าง ส่วนประเด็นเศรษฐกิจต่างประเทศนักเศรษฐศาสตร์
        เป็นห่วงการชะลอตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าโดยเฉพาะประเทศจีน
        นอกจากนี้ก็จะมีประเด็นการผ่อนคลาย QE3 ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
8.1
เชื่อว่ามีข่าวทางบวกมากกว่าทางลบ โดยประเด็นข่าวที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ เริ่มเห็น
สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจกลุ่ม G3 ที่ชัดขึ้น และโครงการรับจำนำข้าวเริ่มมีทาง
ออกมากขึ้น
22.5
ไม่ตอบ/ไม่แน่ใจ
 
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสำรวจความคิดเห็นนักเศรษฐศาสตร์ต่อสถานะทางเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันว่าอยู่ในช่วงใดของวัฎจักร
เศรษฐกิจ และการกระตุ้นเศรษฐกิจมีความจำเป็นมากน้อยหรือไม่ รวมถึงประเด็นเศรษฐกิจที่นักเศรษฐศาสตร์จับตามอง ทั้งนี้เพื่อ
สะท้อนความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                        เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
               (กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใด
               อย่างหนึ่ง จะต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้
               ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน) ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์
               วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 32 แห่ง ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย   สำนักงาน
               คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ   สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง   สำนักงานเศรษฐกิจ
               อุตสาหกรรม  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร   สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์   สถาบันวิจัย
               เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI)   มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง   ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
               ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย   สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์                          ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ธนาคารกรุงไทย  ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย  
               ธนาคารธนชาต   ธนาคารทหารไทย   ธนาคารกรุงศรีอยุธยา   บริษัททริสเรทติ้ง   บริษัทหลักทรัพย์ เอเชียพลัส
               บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ   บริษัทหลักทรัพย์เกียรตินาคิน   บริษัทหลักทรัพย์ภัทร   บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน
               บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย   คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์  
               คณะมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา   สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  
               คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง   คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
               สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ   คณะวิทยาการจัดการ
               มหาวิทยาลัยขอนแก่น   และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลา
ที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  15 – 24 กรกฎาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 กรกฎาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
25
40.3
             หน่วยงานภาคเอกชน
24
38.7
             สถาบันการศึกษา
13
21.0
รวม
62
100.0
เพศ:    
             ชาย
32
51.6
             หญิง
30
48.4
รวม
62
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.6
             26 – 35 ปี
19
30.6
             36 – 45 ปี
20
32.3
             46 ปีขึ้นไป
21
33.9
             ไม่ระบุ
1
1.6
รวม
62
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
3
4.8
             ปริญญาโท
45
72.6
             ปริญญาเอก
14
22.6
รวม
62
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
11
17.7
             6 - 10 ปี
14
22.6
             11 - 15 ปี
10
16.1
             16 - 20 ปี
8
12.9
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
18
29.0
             ไม่ระบุ
1
1.7
รวม
62
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776