หัวข้อ   “ การแสดงออกทางการเมืองในยุคสังคมออนไลน์
คนกรุงเทพฯ เกือบ 70% แสดงออกทางการเมืองผ่านสังคมออนไลน์ โดยกดไลค์มากสุด 68.2%ชี้สังคม
ออนไลน์ทำให้การเมืองใกล้ตัวมากขึ้น ยกชูวิทย์มีผู้ติดตามการแสดงความเห็นผ่านสังคมออนไลน์มากที่สุด
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “การแสดงออกทางการเมืองในยุคสังคมออนไลน์” โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน พบว่า อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์
มากที่สุดคือ สมาร์ทโฟน (ร้อยละ 70.8)
รองลงมาคือ คอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊ค
(ร้อยละ 19.1) และ แท็บเล็ต (ร้อยละ 10.1)
 
                 สำหรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนใช้มากที่สุดคือ เฟซบุ๊ก (ร้อยละ 93.8) รองลงมาคือ ไลน์ (ร้อยละ 76.0) และอินสตาร์แกรม (ร้อยละ 27.3) โดยไลน์
เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ประชาชนใช้ต่อสัปดาห์ (6-7 วัน) มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 85.5
รองลงมาคือ เฟซบุ๊ก (ร้อยละ 76.8) และอินสตาร์แกรม (ร้อยละ 63.6)
 
                 เมื่อถามว่าเคยเห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โพสต์ แชร์
กดไลค์ หรือคอมเมนต์ประเด็นทางการเมืองบ่อยเพียงใด ผู้ตอบส่วนใหญ่ร้อยละ 57.8
เคยเห็นเกือบทุกวันที่เข้าใช้
 ขณะที่ร้อยละ 31.1 เคยเห็นน้อยครั้ง และร้อยละ 11.1 ไม่เคย
เห็นเลย โดยเมื่อถามต่อว่าเคยอ่านความคิดเห็นทางการเมือง ที่มีการโพสต์อยู่ใน
เครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างหรือไม่ ประชาชนร้อยละ 87.8 บอกว่า“อ่าน”
โดยอ่าน
เฉพาะประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุด (ร้อยละ 47.2) รองลงมา เป็นการอ่านแบบผ่านๆไม่สนใจ
มาก (ร้อยละ 32.2) และ อ่านเกือบทุกประเด็น (ร้อยละ 8.4) ขณะที่ร้อยละ 12.2 บอกว่า
“ไม่อ่านเลย”
 
                 ทั้งนี้ประชาชนร้อยละ 69.6 มีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดย
ร้อยละ 34.6 จะกดไลค์/ถูกใจ
 รองลงมา ร้อยละ 11.2 จะแชร์หรือแบ่งปันข้อมูล และร้อยละ 9.5 จะร่วมแสดงความเห็น/
คอมเมนต์ ขณะที่ร้อยละ 30.4 ไม่มีส่วนร่วม/อ่านอย่างเดียว
 
                  ด้านความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ท่านรู้สึกว่าเรื่องการเมือง
เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใช่หรือไม่” ร้อยละ 68.2 คิดว่าใช่
 ขณะที่ร้อยละ 12.5 คิดว่าไม่ใช่ และร้อยละ 19.4 ไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนความเห็นต่อรัฐบาลว่าควรวางตัวอย่างไรต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ ผู้ตอบส่วนใหญ่ร้อยละ
51.1 เห็นว่าควรให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
 ขณะที่ร้อยละ 33.8 เห็นว่าควรรณรงค์ สื่อสาร ทำความ
เข้าใจกับผู้ใช้ถึงสิ่งที่ทำได้ทำไม่ได้ และการใช้อย่างสร้างสรรค์ และร้อยละ 15.1 เห็นว่าควรดูแลผู้ใช้ตามอำนาจที่กฎหมาย
ให้ไว้ ไม่ควรลุแก่อำนาจ
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่านักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองคนใดที่ผู้ตอบติดตามการแสดง
ความเห็นผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุดอันดับแรกคือ นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ (ร้อยละ 46.0)
 รองลงมาคือ
พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร (ร้อยละ 17.5) และนายกรณ์ จาติกวณิช (ร้อยละ 9.0)
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด คือ

 
ร้อยละ
สมาร์ทโฟน
70.8
คอมพิวเตอร์ / โน๊ตบุ๊ค
19.1
แท็บเล็ต
10.1
 
 
             2. การเป็นสมาชิกเครือข่ายสังคมออนไลน์และความถี่ในการเข้าใช้

เครือข่ายสังคมออนไลน์
การเป็นสมาชิก (ร้อยละ)
(ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)
ความถี่ในการใช้ต่อสัปดาห์
1-2 วัน (ร้อยละ)
3-5 วัน
( ร้อยละ)
6-7 วัน
( ร้อยละ)
เฟซบุ๊ก
93.8
8.8
14.4
76.8
ไลน์
76.0
4.8
9.7
85.5
อินสตาร์แกรม
27.3
14.0
22.4
63.6
วอทส์แอพพ์
16.8
20.5
19.0
60.5
ทวิตเตอร์
9.7
23.5
25.2
51.3
วีแชต
7.9
26.9
15.1
58.0
 
 
             3. ท่านเคยเห็นเพื่อนๆ ที่อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ โพสต์ แชร์ กดไลค์ หรือคอมเมนต์
                 ประเด็นทางการเมืองบ่อยเพียงใด

 
ร้อยละ
เคยเห็นเกือบทุกวันที่เข้าใช้
57.8
เคยเห็นน้อยครั้ง
31.1
ไม่เคยเห็นเลย
11.1
 
 
             4. ท่านอ่านความคิดเห็นทางการเมือง ที่มีการโพสต์อยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์บ้างหรือไม่

 
ร้อยละ
อ่าน
โดย
อ่านเกือบทุกประเด็น
ร้อยละ 8.4
 
อ่านเฉพาะประเด็นที่น่าสนใจ
ร้อยละ 47.2
 
อ่านแบบผ่านๆไม่สนใจมาก
ร้อยละ 32.2
87.8
ไม่อ่านเลย
12.2
 
 
             5. การมีส่วนร่วมแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
                
 
ร้อยละ
มีส่วนร่วม
โดย
กดไลค์/ถูกใจ
ร้อยละ 34.6
 
แชร์หรือแบ่งปันข้อมูล
ร้อยละ 11.2
 
ร่วมแสดงความเห็น/คอมเมนต์
ร้อยละ 9.5
 
แชตหรือคุยกันในกลุ่ม
ร้อยละ 9.0
 
โพสต์ความเห็นของตัวเอง
ร้อยละ 5.3
69.6
ไม่มีส่วนร่วม/ อ่านอย่างเดียว
30.4
 
 
             6. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “เครือข่ายสังคมออนไลน์มีส่วนช่วยให้ท่านรู้สึกว่าเรื่องการเมือง
                 เป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ใช่หรือไม่”

 
ร้อยละ
คิดว่าใช่
68.2
คิดว่าไม่ใช่
12.5
ไม่แน่ใจ
19.4
 
 
             7. ความเห็นต่อรัฐบาลควรวางตัวอย่างไรต่อผู้ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

 
ร้อยละ
ควรให้สิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
51.1
ควรรณรงค์ สื่อสาร ทำความเข้าใจกับผู้ใช้ถึงสิ่งที่ทำได้ทำไม่ได้
และการใช้อย่างสร้างสรรค์
33.8
ควรดูแลผู้ใช้ตามอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ ไม่ควรลุแก่อำนาจ
15.1
 
 
             8. นักการเมืองหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเมืองที่ผู้ตอบติดตามการแสดงความเห็นผ่านเครือข่าย
                 สังคมออนไลน์มากที่สุด (5 อันดับแรก) (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์
46.0
พ.ต.ท.ดร. ทักษิณ ชินวัตร
17.5
นายกรณ์ จาติกวณิช
9.0
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์
3.5
นายพานทองแท้ ชินวัตร
3.0
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการแสดงออกทางการเมืองผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปในทุกสาขาอาชีพ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน
21 เขต จาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย ดอนเมือง ดินแดง ทวีวัฒนา ทุ่งครุ บางกอกน้อย
บางกะปิ บางเขน บางแค บางซื่อ บางนา บางรัก ปทุมวัน พญาไท พระนคร ภาษีเจริญ ราชเทวี ราษฎร์บูรณะ ลาดกระบัง
สะพานสูง สาทร และปริมณฑล ได้แก่ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน
(Multi-Stage Sampling) จากนั้นใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบพบตัว ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นจำนวน 1,188 คน
เป็นชายร้อยละ 48.9 และหญิงร้อยละ 51.1
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) และข้อคำถามแบบปลายเปิด (Open Form) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  16 - 19 สิงหาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 21 สิงหาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
581
48.9
             หญิง
607
51.1
รวม
1,188
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
468
39.4
             26 – 35 ปี
383
32.2
             36 – 45 ปี
231
19.4
             46 ปีขึ้นไป
106
9.0
รวม
1,188
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
519
43.7
             ปริญญาตรี
571
48.1
             สูงกว่าปริญญาตรี
98
8.2
รวม
1,188
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
113
9.5
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
419
35.5
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
212
17.8
             เจ้าของกิจการ
75
6.3
             รับจ้างทั่วไป
78
6.6
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
29
2.4
             นักศึกษา
235
19.8
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
27
2.3
รวม
1,188
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776