หัวข้อ   “ ประชาชนคิดอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว.
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) สำรวจความคิดเห็นประชาชน
อายุ 18 ปีขึ้นไป ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 429 คน ในเรื่อง “ประชาชนคิดอย่างไร
กับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ประเด็นที่มาของ ส.ว. ”
โดยเก็บข้อมูลเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม
ที่ผ่านมา พบว่า
 
                 ความเห็นต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ในประเด็น “ให้ ส.ว.
มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน โดยไม่จำเป็น ต้องมีส.ว. สรรหาอีกต่อไป”
ประชาชนร้อยละ 59.2 ระบุว่าเห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 21.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ที่เหลือ
ร้อยละ 19.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 ส่วนประเด็น “ยกเลิกข้อความว่า คุณสมบัติของผู้สมัคร เป็น ส.ว. ห้ามเป็น
บุพการี คู่สมรส หรือบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง”
ประชาชน ร้อยละ 46.2 ระบุว่าเห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 38.0 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
ที่เหลือร้อยละ 15.8 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                 สำหรับประเด็น “ยกเลิกเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัคร ส.ว.ต้อง พ้นจาก การเป็นสมาชิกพรรค การเมือง หรือ
ส.ส. 5 ปีเสียก่อน” ประชาชนร้อยละ 55.2 ระบุว่าเห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 30.1 ระบุว่าไม่เห็นด้วย ส่วนอีกร้อยละ
14.7 ระบุว่าไม่แน่ใจ
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 35.5 ไม่แน่ใจว่าการแก้รัฐธรรมนูญดังกล่าวจะนำไปสู่การรวบอำนาจ
รัฐสภาหรือไม่
ซึ่งเป็นสัดส่วนพอๆ กับประชาชนร้อยละ 34.7 ที่เห็นว่าน่าจะเป็นการนำไปสู่การรวบอำนาจรัฐสภาจริงตาม
ที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกต ขณะที่ร้อยละ 29.8 ระบุว่าไม่จริงฝ่ายค้านคิดมากไป
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า การแก้รัฐธรรมนูญประเด็นที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวมีผลดีหรือผลเสียกับประเทศ
ไทยมากกว่ากัน ประชาชนระบุว่ามีผลดีและผลเสียพอๆ กัน (ร้อยละ 36.8)
รองลงมาคือมีผลดีมากกว่าผลเสีย
(ร้อยละ 25.4) และมีผลเสียมากกว่าผลดี (ร้อยละ 19.1)
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นเกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ ส.ว. ในประเด็นต่อไปนี้

ประเด็น
เห็นด้วย
( ร้อยละ)
ไม่เห็นด้วย
( ร้อยละ)
ไม่แน่ใจ
( ร้อยละ)
- ให้ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 200 คน คิดตาม
  จำนวน ประชากร (ประชากร 3 แสนต่อ ส.ว. 1 คน)
  โดยไม่จำเป็น ต้องมีส.ว.สรรหาอีกต่อไป

59.2

21.0

19.8
- ยกเลิกเงื่อนไขที่ผู้ลงสมัคร ส.ว.ต้อง พ้นจาก การเป็น
  สมาชิกพรรค การเมือง หรือ ส.ส. 5 ปีเสียก่อน
55.2
30.1
14.7
- ยกเลิกข้อความว่า “คุณสมบัติของผู้สมัครเป็น ส.ว.
  ห้ามเป็น บุพการี คู่สมรส หรือบุตร ของผู้ดำรงตำแหน่ง
  ส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

46.2

38.0

15.8
 
 
             2. ความเห็นที่มีต่อการตั้งข้อสังเกตของฝ่ายค้านว่า การแก้รัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาของส.ว. ว่า
                 เป็นการหวัง “รวบอำนาจรัฐสภา”

 
ร้อยละ
ไม่แน่ใจ
35.5
เป็นจริงตามที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกต
34.7
ไม่จริงฝ่ายค้านคิดมากไป
29.8
 
 
             3. ความเห็นเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของ ส.ว. ดังกล่าวมีผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทย
                 มากกว่ากัน

 
ร้อยละ
มีผลดีและผลเสียพอๆกัน
36.8
มีผลดีมากกว่าผลเสีย
25.4
มีผลเสียมากกว่าผลดี
19.1
ไม่แน่ใจ
18.7
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของประชาชน เกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของส.ว. ในด้านต่างๆ เพื่อ
สะท้อนมุมมองความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่าง
ทั้งสิ้น 429 คน เป็นเพศชายร้อยละ 55.0 และเพศหญิงร้อยละ 45.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  5% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน โดยเป็น
ข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้อง
สมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  21 สิงหาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 22 สิงหาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
236
55.0
             หญิง
193
45.0
รวม
429
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
50
11.7
             26 – 35 ปี
106
24.7
             36 – 45 ปี
120
28.0
             46 ปีขึ้นไป
153
35.6
รวม
429
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
278
64.9
             ปริญญาตรี
133
30.9
             สูงกว่าปริญญาตรี
18
4.2
รวม
429
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
58
13.6
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
87
20.3
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
81
19.0
             เจ้าของกิจการ
17
4.0
             รับจ้างทั่วไป
56
13.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
50
11.7
             นักศึกษา
18
4.2
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
62
14.1
รวม
429
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776