หัวข้อ   “ ความรู้สึกของคนไทยที่มีผลต่อพอหลวง
“รักในหลวง” เป็นความรู้สึกในใจที่คนไทยมีต่อพ่อหลวง พร้อมเสนอให้รัฐบาลน้อมนำหลักคิดของในหลวง
ด้านความพอเพียง เสียสละเพื่อส่วนรวม ยุติความขัดแย้ง เป็นแนวทางบริหารประเทศ
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
5 ธันวาคม ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ(กรุงเทพโพลล์) ได้ทำการสำรวจความเห็น
ของพสกนิกรชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,192 คน พบว่า
 
                  ในโอกาสวันพ่อแห่งชาติปีนี้ คนไทยร้อยละ 65.8 ตั้งใจจะร่วม
จุดเทียนชัยถวายพระพร ตามสถานที่ ที่จัดกิจกรรมวันพ่อ
รองลงมาร้อยละ 53.7
ตั้งใจจะชื่นชมพระบารมีผ่านทางทีวี และร้อยละ 52.9 ตั้งใจจะทำบุญตักบาตรถวาย
เป็นพระราชกุศล
 
                  เมื่อให้บอกถึงความรู้สึกที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พบว่า
คนไทยร้อยละ 42.4 บอกว่า “รักในหลวง”
รองลงมาร้อยละ 29.4 บอกว่า “อยากให้
พระองค์ทรงพระเจริญ หายพระประชวรและให้อยู่คู่คนไทยไปนานๆ” และร้อยละ 9.2 บอกว่า
“เคารพและเทิดทูนในหลวง”
 
                  ทั้งนี้ประชาชน ร้อยละ 51.4 จะเป็นคนดี และทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม เพื่อเป็นของขวัญถวาย
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
รองลงมาร้อยละ 12.6 จะทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิ บริจาคโลหิต บริจาคสิ่งของ
ถวายเป็นพระราชกุศล และร้อยละ 9.8 จะรักและสามัคคีกัน ทำให้พระองค์ทรงพระเกษมสำราญและสบายพระราชหฤทัย
 
                  สำหรับพระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่คนไทยจะน้อมนำมาใช้เป็นแบบอย่าง
ในการดำเนินชีวิตมากที่สุดคือ การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง (ร้อยละ 42.3)
รองลงมาคือ การมีความ
กตัญญู (ร้อยละ 14.3) และการประหยัดอดออม (ร้อยละ 13.3)
 
                   สุดท้ายหลักการ / แนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่คนไทยอยากให้รัฐบาล
น้อมนำมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินมากที่สุด คือ ยึดหลักความพอเพียง (ร้อยละ 22.3)
รองลงมาคือ
เสียสละเพื่อส่วนรวม เห็นประโยชน์ของประชาชนมาก่อน (ร้อยละ 22.2) และ รัก สามัคคี ยุติความขัดแย้ง (ร้อยละ 21.1)
 
                  ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. กิจกรรมที่คนไทยจะทำในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ คือ

 
ร้อยละ
ร่วมจุดเทียนชัยถวายพระพรตามสถานที่ ที่จัดกิจกรรมวันพ่อ
65.8
จะชื่นชมพระบารมีผ่านทางทีวี
53.7
จะทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล
52.9
ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
33.9
ไปเข้าเฝ้ารับเสด็จ
5.4
อื่นๆ อาทิ บริจาคสิ่งของ เลี้ยงอาหารเด็ก คนชรา ฯลฯ
4.5
 
 
             2. ความรู้สึกที่มีต่อพ่อหลวงของชาวไทย มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ
                 (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
รักในหลวง
42.4
อยากให้พระองค์ทรงพระเจริญ หายประชวร
และให้อยู่คู่คนไทยไปนานๆ
29.4
เคารพและเทิดทูนในหลวง
9.2
ภูมิใจที่มีในหลวงเป็นพ่อของแผ่นดิน
และภูมิใจที่ได้เกิดเป็นคนไทย
8.2
ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงเสียสละ
ทรงงานหนัก เพื่อคนไทยมาตลอด
7.4
 
 
             3. ของขวัญที่อยากทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
                 5 ธันวาคม 2556 มากที่สุด คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)


 
ร้อยละ
จะเป็นคนดี และ ทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม
51.4
จะทำบุญตักบาตร นั่งสมาธิ บริจาคโลหิต บริจาคสิ่งของ
ถวายเป็นพระราชกุศล
12.6
จะรักและสามัคคีกัน ทำให้พระองค์ทรงเกษมสำราญและ
สบายพระราชหฤทัย
9.8
จุดเทียนชัยถวายพระพร วางพานพุ่มดอกไม้ พวงมาลัย
7.3
ขอให้พระวรกายสมบูรณ์แข็งแรง
7.0
 
 
             4. พระราชจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่คนไทยจะน้อมนำมาใช้เป็นแบบอย่าง
                 ในการดำเนินชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรก


 
ร้อยละ
การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและพอเพียง
42.3
การมีความกตัญญู
14.3
การประหยัดอดออม
13.3
การเสียสละเพื่อส่วนรวม
13.1
การมีความเพียรพยายาม
5.8
 
 
             5. หลักการ / แนวคิดของในหลวงที่อยากให้รัฐบาลน้อมนำมาปรับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน
                 มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง)

 
ร้อยละ
ยึดหลักความพอเพียง
22.3
เสียสละเพื่อส่วนรวม เห็นประโยชน์ของประชาชนมาก่อน
22.2
รักและสามัคคี ยุติความขัดแย้ง
21.1
มีความซื่อสัตย์ ไม่โกง ไม่คอร์รัปชั่น
16.9
รู้จักการให้อภัย
6.0
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เนื่องในวโรกาสวันคล้ายวัน
พระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับความรู้สึกของคนไทย ที่มีต่อพ่อหลวง สิ่งที่ตั้งใจจะทำในวันที่
5 ธันวาคม รวมถึงของขวัญที่อยากทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และพระราชจริยวัตรที่คนไทยจะนำมา
เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต ตลอดจนแนวคิดที่อยากให้รัฐบาลนำไปใช้บริหารประเทศ ทั้งนี้เพื่อสะท้อนมุมมอง
ความคิดเห็นของประชาชนให้สังคมและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบ
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ด้วยวิธีสุ่มประชากรเป้าหมายที่จะสัมภาษณ์อย่างเป็นระบบ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,192 คน เป็นเพศชายร้อยละ 50.5
และเพศหญิงร้อยละ 49.5
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์แบบพบตัว (Face-to-face Interview) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม
ที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) ในส่วนของ และคำถามปลายเปิดให้
ผู้ตอบระบุคำตอบเองโดยอิสระ (Open Ended) และได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึก
ข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  29 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2556
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 4 ธันวาคม 2556
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:    
             ชาย
602
50.5
             หญิง
590
49.5
รวม
1,192
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
303
25.4
             26 – 35 ปี
304
25.5
             36 – 45 ปี
290
24.3
             46 ปีขึ้นไป
295
24.8
รวม
1,192
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
668
56.1
             ปริญญาตรี
433
36.3
             สูงกว่าปริญญาตรี
91
7.6
รวม
1,192
100.0
อาชีพ:
 
 
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
121
10.2
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
324
27.2
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
280
23.5
             เจ้าของกิจการ
52
4.4
             รับจ้างทั่วไป
201
16.9
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
69
5.8
             นักศึกษา
123
10.3
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
22
1.7
รวม
1,192
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776