หัวข้อ   “ การเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง
ประชาชน 80% ตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง แม้ความรุนแรงทางการเมืองมีผลต่อการไปเลือกตั้ง และ
95% บอกการหาเสียงเลือกตั้งครั้งนี้ไม่คึกคัก ส่วนใหญ่เห็นเพียงป้ายหาเสียง
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                  ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ได้สำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “การเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง” โดยเก็บข้อมูล
กับประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,018
คนพบว่า ประชาชนร้อยละ 49.3 ยังไม่เห็นการหาเสียงของผู้สมัคร เห็นเพียง
ป้ายหาเสียง
และร้อยละ 16.1 ยังไม่เห็นการหาเสียงในรูปแบบใดๆ เลย ขณะที่ร้อยละ 29.7
เห็นการหาเสียงของผู้สมัครแต่ไม่คึกคัก และมีเพียงร้อยละ 4.9 เท่านั้นที่เห็นการหาเสียงของ
ผู้สมัครและคึกคักมาก
 
                  เมื่อถามว่าสถานการณ์ความรุนแรงและขัดแย้งทางการเมือง มีผลต่อ
การไปเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.ที่จะถึงนี้หรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.6 เห็นว่ามีผลต่อ
การไปเลือกตั้ง
โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 34.3 บอกว่ามีผลทำให้ต้องรอดูสถานการณ์ความ
รุนแรงอีกทีก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่ และร้อยละ 18.3 ทำให้ไม่อยากไป
เลือกตั้ง ขณะที่ร้อยละ 47.4 เห็นว่าไม่มีผลต่อการไปเลือกตั้ง โดยในจำนวนนี้ร้อยละ
23.4 ให้เหตุผลว่าต้องไปเลือกตั้งให้ได้อยู่แล้ว และอีกร้อยละ 24.0 ให้เหตุผลว่าไปเลือกเพราะ
เป็นหน้าที่ แต่เมื่อถามต่อว่า “หากในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ยังคงมีการเลือกตั้ง
ท่านตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่” ร้อยละ 79.6 ตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์

ขณะที่ร้อยละ 9.9 ตั้งใจจะไม่ออกไปใช้สิทธิ์ และร้อยละ 10.5 ยังไม่แน่ใจ
 
                  ส่วนความเห็นต่อการจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ ประชาชน
ส่วนใหญ่ร้อยละ 51.5 เห็นว่าควรมีการเดินหน้าเลือกตั้งตามเดิม
ขณะที่ร้อยละ 28.1
เห็นว่าควรปฏิรูปก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง และร้อยละ 20.4 เห็นว่าควรเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน
 
                  สุดท้ายเมื่อถามว่า “จากข่าวสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มีผู้บาดเจ็บ
และเสียชีวิต ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากกองทัพตัดสินใจทำรัฐประหาร เพื่อยุติความขัดแย้งที่เป็นอยู่” ร้อยละ 56.0
ไม่เห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 21.6 เห็นด้วย และร้อยละ 22.4 ไม่แน่ใจ
 
 
                 ดังรายละเอียดในตารางต่อไปนี้
 
             1. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ปัจจุบันท่านเห็นการหาเสียงของพรรคต่างๆ หรือไม่อย่างไร”

 
ร้อยละ
เห็นการหาเสียงของผู้สมัครและคึกคักมาก
4.9
เห็นการหาเสียงของผู้สมัครแต่ไม่คึกคัก
29.7
ยังไม่เห็นการหาเสียงของผู้สมัคร เห็นเพียงป้ายหาเสียง
49.3
ยังไม่เห็นการหาเสียงในรูปแบบใดๆ เลย
16.1
 
 
             2. สถานการณ์ความรุนแรงและขัดแย้งทางการเมือง มีผลต่อการไปเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.
                 ที่จะถึงนี้หรือไม่

 
ร้อยละ
มีผลต่อการไปเลือกตั้ง
โดย
ทำให้ต้องรอดูสถานการณ์ความรุนแรงอีกที
ก่อนที่จะตัดสินใจว่าจะไปเลือกตั้งหรือไม่
ร้อยละ 34.3
 
ทำให้ไม่อยากไปเลือกตั้ง
ร้อยละ 18.3
52.6
ไม่มีผลต่อการไปเลือกตั้ง
โดย
ให้เหตุผลว่าต้องไปเลือกตั้งให้ได้อยู่แล้ว
ร้อยละ 23.4
 
ให้เหตุผลว่าไปเลือกเพราะเป็นหน้าที่
ร้อยละ 24.0
47.4
 
 
             3. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “หากในวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ยังคงมีการเลือกตั้ง ท่านตั้งใจ
                 จะออกไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งหรือไม่”

 
ร้อยละ
จะออกไปใช้สิทธิ์
79.6
จะไม่ออกไปใช้สิทธิ์
9.9
ยังไม่แน่ใจ
10.5
 
 
             4. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “ท่านคิดว่าวันที่ 2 ก.พ. ที่จะถึงนี้ควรมีการเลือกตั้งหรือไม่”

 
ร้อยละ
ควรมีการเลือกตั้ง
51.5
ควรปฏิรูปก่อนแล้วค่อยเลือกตั้ง
28.1
ควรเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก่อน
20.4
 
 
             5. ความเห็นต่อข้อคำถามที่ว่า “จากข่าวสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้มี
                 ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ท่านเห็นด้วยหรือไม่หากกองทัพตัดสินใจทำรัฐประหาร เพื่อยุติ
                 ความขัดแย้งที่เป็นอยู่”

 
ร้อยละ
เห็นด้วย
21.6
ไม่เห็นด้วย
56.0
ไม่แน่ใจ
22.4
 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                  เพื่อสะท้อนความเห็นของประชาชนต่อการไปเลือกตั้งท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
 
ระเบียบวิธีการสำรวจ:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ โดยการสุ่ม
ตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และใช้วิธีเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น
1,018 คน เป็นเพศชายร้อยละ 52.0 และเพศหญิงร้อยละ 48.0
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  4% ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ด้วยแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอน ประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ
(Check List Nominal) จากนั้นคณะนักวิจัยได้นำแบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูล
และประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 21 - 23 มกราคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 มกราคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
529
52.0
             หญิง
489
48.0
รวม
1,018
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
77
7.6
             26 – 35 ปี
201
19.7
             36 – 45 ปี
298
29.3
             46 ปีขึ้นไป
442
43.4
รวม
1,018
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
670
65.8
             ปริญญาตรี
275
27.0
             สูงกว่าปริญญาตรี
73
7.2
รวม
1,018
100.0
อาชีพ:
   
             ข้าราชการ / พนักงานรัฐวิสากิจ
106
10.4
             พนักงาน / ลูกจ้าง บริษัทเอกชน
250
24.6
             ค้าขาย / ประกอบอาชีพส่วนตัว
209
20.5
             เจ้าของกิจการ
43
4.2
             รับจ้างทั่วไป
127
12.5
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
128
12.6
             นักศึกษา
25
2.5
             อื่นๆ อาทิ อาชีพอิสระ ว่างงาน เป็นต้น
130
12.7
รวม
1,018
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776