หัวข้อ  “ เศรษฐกิจไทยในช่วงรัฐบาลรักษาการ
        นักเศรษฐศาสตร์ 75.8% เห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับชาวนาด้วยในกรณีที่จ่ายเงินจำนำข้าว
ที่ล่าช้า, 84.8% หนุนรัฐบาลชุดใหม่เดินหน้าโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธีการลงทุนอื่นแทน 2
ล้านล้าน, 84.9 % เริ่มเห็นพื้นฐานเศรษฐกิจที่เริ่มอ่อนแอจนถึงอ่อนแออย่างชัดเจน และ 56.0% เชื่อภายในสิ้นปี
ไทยถูกหั่นเครดิต
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เปิดเผยผลสำรวจความเห็น นักเศรษฐศาสตร์จากองค์กรชั้นนำ 31 แห่ง
จำนวน 66 คน เรื่อง “เศรษฐกิจไทยในช่วงรัฐบาลรักษาการ” โดยเก็บข้อมูลระหว่าง วันที่
18 – 25 มีนาคม ที่ผ่านมา พบว่า
 
                นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 57.6 มองว่าพื้นฐาน เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน
เริ่มอ่อนแอแล้ว รองลงมา ร้อยละ 27.3 เห็นว่าอยู่ในภาวะที่อ่อนแอแล้ว
มีเพียงร้อยละ
12.1 ที่เห็นว่าพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังแข็งแกร่งอยู่ เมื่อถามถึงอันดับความน่าเชื่อถือของ
ประเทศไทยว่าภายในปีนี้จะถูกบริษัทจัดอันดับ ความน่าเชื่อถือปรับลดเครดิตของประเทศไทย
หรือไม่ ร้อยละ 39.4 เชื่อว่าเครดิตประเทศจะอยู่ในระดับเดิม รองลงมาร้อยละ 31.8
เชื่อว่าเครดิตประเทศจะถูกปรับแนวโน้มจากมีเสถียรภาพ (Stable Outlook) เป็นระดับที่เป็นลบ
(Negative Outlook) และ ร้อยละ 24.2 เชื่อว่าเครดิตประเทศจะถูกปรับลดจากระดับปัจจุบัน
 
                ด้านการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 2.0 นั้น
นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 68.2 เชื่อว่าการลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว
คงจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจได้บ้าง
รองลงมาร้อยละ 25.8 คาดว่า
ไม่น่าจะช่วยได้ มีเพียงร้อยละ 3.0 เท่านั้นที่คาดว่าจะช่วยได้มาก
 
                ส่วนประเด็นรัฐบาลชุดใหม่ควรเดินหน้าโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธีการลงทุนอื่นหรือไม่ภายหลังที่
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านขัดต่อรัฐธรรมนูญ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 84.8
เห็นด้วยที่จะให้มีการเดินหน้าต่อด้วยวิธีการอื่น
มีเพียงร้อยละ 12.1 ที่ไม่เห็นด้วยและควรจะชะลอแผนการลงทุนออกไปก่อน
เมื่อถามต่อว่าเห็นด้วยหรือไม่หากจะมีการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณเพื่อนำมาใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
ร้อยละ 63.6 บอกว่าเห็นด้วย
ขณะที่ร้อยละ 27.3 บอกว่าไม่เห็นด้วย
 
               สุดท้ายเมื่อสอบถามความคิดเห็นในประเด็นที่ชาวนาไม่ได้รับเงินจำนำข้าวตามเวลาที่กำหนดนั้น รัฐบาลควรจ่าย
ดอกเบี้ยให้กับชาวนาด้วยหรือไม่ นักเศรษฐศาสตร์ร้อยละ 75.8 เห็นว่ารัฐบาลจำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับชาวนาด้วย
ขณะที่ร้อยละ 13.6 เห็นว่ารัฐบาลไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับชาวนา
 
 
                  โปรดพิจารณารายละเอียดของผลสำรวจดังต่อไปนี้
 
             1. ข้อคำถาม พื้นฐานเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันยังแข็งแกร่งอยู่หรือไม่

ร้อยละ
 
12.1
เห็นว่า ยังแข็งแกร่งอยู่
57.6
เห็นว่า เริ่มเห็นการอ่อนแอแล้ว
27.3
เห็นว่า อยู่ในภาวะที่อ่อนแอแล้ว
3.0
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 
 
            2. ข้อคำถาม บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือจะปรับลดเครดิตของประเทศไทยหรือไม่ภายในปีนี้

ร้อยละ
 
39.4
เชื่อว่า เครดิตประเทศจะอยู่ระดับเดิม
31.8
เชื่อว่า เครดิตประเทศจะถูกปรับแนวโน้มจากมีเสถียรภาพ(Stable Outlook) เป็น
         ระดับที่เป็นลบ (Negative Outlook)
24.2
เชื่อว่า เครดิตประเทศจะถูกปรับลดจากระดับปัจจุบัน
4.6
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 
 
             3. ข้อคำถาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 เหลือร้อยละ 2.0 จะช่วยสร้าง
                    ความเชื่อมั่นและกระตุ้นเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด


ร้อยละ
 
3.0

คาดว่า จะช่วยได้มาก

68.2

คาดว่า คงช่วยได้บ้าง

25.8

คาดว่า ไม่น่าจะช่วยได้

3.0
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 
 
             4. ข้อคำถาม รัฐบาลชุดใหม่ควรเดินหน้าโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธีการลงทุนอื่นหรือไม่
                    ภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ร่าง พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านขัดต่อรัฐธรรมนูญ

ร้อยละ
 
84.8

เห็นด้วยที่จะให้มีการเดินหน้าต่อด้วยวิธีการอื่น

12.1

ไม่เห็นด้วย ควรชะลอแผนการลงทุนออกไปก่อน

3.1
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 
 
             5. ข้อคำถาม เห็นด้วยหรือไม่หากรัฐบาลชุดใหม่จะมีการเพิ่มการขาดดุลงบประมาณเพื่อนำมาใช้
                    ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน


ร้อยละ
 
63.6

เห็นด้วย

27.3
ไม่เห็นด้วย
9.1
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 
 
             6. ข้อคำถาม การที่ชาวนาไม่ได้รับเงินจำนำข้าวตามเวลาที่กำหนดนั้น รัฐบาลควรจ่ายดอกเบี้ย
                    ให้กับชาวนาด้วยหรือไม่


ร้อยละ
 
75.8

รัฐบาลจำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับชาวนาด้วย

13.6
รัฐบาลไม่จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยให้กับชาวนา
10.6
ไม่แน่ใจ/ไม่ตอบ
 

** หมายเหตุ:  รายงานผลสำรวจความเห็นนักเศรษฐศาสตร์ฉบับนี้   เป็นการสำรวจความเห็นส่วนตัวของ
                     นักเศรษฐศาสตร์ซึ่งมิได้สื่อถึงแนวนโยบายขององค์กรที่นักเศรษฐศาสตร์สังกัดอยู่แต่อย่างใด

 
 
รายละเอียดในการสำรวจ
วัตถุประสงค์ในการสำรวจ:
                      เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงรัฐบาล
รักษาการ รวมถึงความเห็นต่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้วยวิธีการลงทุนอื่นภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติให้ร่าง พ.ร.บ.
กู้เงิน 2 ล้านล้านขัดต่อรัฐธรรมนูญ
 
กลุ่มตัวอย่าง:

                     เป็นนักเศรษฐศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาเศรษฐศาสตร์
(กรณีสำเร็จการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์เฉพาะปริญญาตรี หรือปริญญาโท หรือปริญญาเอก อย่างใดอย่างหนึ่ง จะต้อง
มีประสบการณ์ในการทำงานด้านวิเคราะห์/วิจัย/หรืองานที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถด้านเศรษฐศาสตร์อย่างน้อย 5 ปีจนถึงปัจจุบัน)
ที่ทำงานอยู่ในหน่วยงานด้านการวิเคราะห์ วิจัยเศรษฐกิจระดับชั้นนำของประเทศ จำนวน 31 แห่ง ได้แก่
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) บริษัททริสเรทติ้ง ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ธนาคารธนชาต ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารทหารไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ บริษัทหลักทรัพย์ภัทร บริษัทหลักทรัพย์เอเชียพลัส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย
บริษัทหลักทรัพย์พัฒนสิน คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยทักษิณ
สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร
สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                     การสำรวจนี้เป็นการวิจัยโดยการเลือกตัวอย่างประชากรโดยไม่อาศัยหลักความน่าจะเป็น (Non-probability
sampling) แต่ละหน่วยตัวอย่างที่จะได้รับการเลือก จึงเป็นการเลือกตัวอย่างประชากรแบบเจาะจง (Purposive sampling)
และดำเนินการรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามออนไลน์ไปยังนักเศรษฐศาสตร์ในหน่วยงานที่กำหนดภายในระยะเวลาที่กำหนด
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  18 – 25 มีนาคม 2557
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 28 มีนาคม 2557
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
ประเภทของหน่วยงานที่กลุ่มตัวอย่างทำงานอยู่:    
             หน่วยงานภาครัฐ
27
40.9
             หน่วยงานภาคเอกชน
27
40.9
             สถาบันการศึกษา
12
18.2
รวม
66
100.0
เพศ:    
             ชาย
41
62.1
             หญิง
25
37.9
รวม
66
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 25 ปี
1
1.5
             26 – 35 ปี
18
27.3
             36 – 45 ปี
22
33.3
             46 ปีขึ้นไป
25
37.9
รวม
66
100.0
การศึกษา:
 
 
             ปริญญาตรี
5
7.6
             ปริญญาโท
38
57.6
             ปริญญาเอก
23
34.8
รวม
66
100.0
ประสบการณ์ทำงาน:
 
 
             1 - 5 ปี
12
18.2
             6 - 10 ปี
19
28.8
             11 - 15 ปี
8
12.1
             16 - 20 ปี
7
10.6
             ตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
20
30.3
รวม
66
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)
Email: bangkokpoll@bu.ac.th      โทร. 0-2350-3500 ต่อ 1770-1776